คุณคิดว่าเราตัดสินใจลงทุนด้วยเหตุผลหรืออารมณ์?

คุณคิดว่าเราตัดสินใจลงทุนด้วยเหตุผลหรืออารมณ์?

คุณคิดว่าเราตัดสินใจลงทุนด้วยเหตุผลหรืออารมณ์?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับในตอนนี้นิอยากจะเล่าถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดการเงิน โดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งเรื่องความอคติ (Bias) ในการลงทุนต่างๆ ซึ่งหากคุณเข้าใจที่มาของ Bias เหล่านี้ จะทำให้คุณเห็นประโยชน์ของการลงทุนอย่างเป็นระบบ เช่น การทำ Dollar Cost Averaging (DCA)หรือก็คือ การลงทุนด้วยเงินที่เท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ซึ่งการลงทุนอย่างเป็นระบบจะช่วยขจัดอารมณ์ในการลงทุนได้ ก่อนที่เราจะไปพูดคุยกันว่าเรามีอารมณ์อะไรบ้างในการลงทุน นิอยากขออธิบายถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับทฤษฎีของแนวคิดทางการเงินกันก่อนนะคะ

600x600px_150517

 

แนวคิดทางการเงินนั้นแบ่งออกเป็น 2 แนวคิดด้วยกันคือ

1. แนวคิดทางการเงินแบบดั้งเดิม หรือ Traditional Finance จะเริ่มจากการตั้งสมมติฐานที่ว่าตลาดการเงินนั้นเป็นตลาดที่มีประสิทธภาพ และนักลงทุนในตลาดนั้นตัดสินใจลงทุนแบบมีเหตุผล เป็นไปตามหลักการ ไม่มีอคติและมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยง แนวคิดนี้จะนำไปสู่ตลาดที่ราคาหุ้นสามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้อย่างถูกต้อง และไม่มีกลยุทธ์การซื้อขายประเภทไหนที่จะสามารถทำกำไรจากตลาดประเภทนี้ได้

แต่หากมองตลาดในความเป็นจริง นักลงทุนจำนวนมากลงทุนท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาด รวมไปถึงการลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้นอย่างรุนแรงที่เราเรียกว่า ตลาดฟองสบู่ ลักษณะตลาดแบบนี้เองที่สามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมในการลงทุนของนักลงทุนแบบไม่มีเหตุผลหรือไม่เป็นไปตามหลักการดังที่แนวคิดทางการเงินแบบดั้งเดิมได้กล่าวเอาไว้

2. แนวคิดทางการเงินเชิงพฤติกรรม หรือ Behavioral Finance จากการศึกษาของนักจิตวิทยาพบว่า การตัดสินใจของมนุษย์นั้นจัดอยู่ในประเภทไม่มีเหตุผลอย่างเป็นระบบ มนุษย์มีแนวโน้มที่จะแสดงออกถึงการตัดสินใจแบบไม่มีเหตุผลในบางสถานการณ์ เมื่อนำผลการศึกษาชิ้นนี้มาเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางการเงิน จึงมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า แนวคิดทางการเงินเชิงพฤติกรรม หรือ Behavioral Finance นั่นเอง

แนวคิดทางการเงินเชิงพฤติกรรมได้แสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วนักลงทุนแสดงออกถึงอคติทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในตนเองที่มากเกินไป และการมองสถานการณ์แบบสั้นๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้ผลลัพธ์จากการลงทุนที่ได้บิดเบือนไปจากความต้องการที่แท้จริงของนักลงทุน

อคติหรือ Bias ที่เกิดขึ้นในการลงทุน และอาจจะทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนมีอะไรบ้าง ติดตามต่อตอนหน้านะคะ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวางแผนการเงิน สามารถส่ง email มาได้ที่ nipapuntalk@hotmail.com แล้วพบกันในตอนต่อไปค่ะ


ผู้เขียน โค้ชนิ นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® เจ้าของผลงาน pocket book ‘เปลี่ยนชีวิตสู่ความมั่งคั่งด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘มีเงินล้านด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘อยากรวยต้องรู้จักวางแผนการเงิน’ และ ‘รวยทะลุเป้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook