มนุษย์เงินเดือนอยู่รอดอย่างไร หลังผ่านเทศกาลสงกรานต์

มนุษย์เงินเดือนอยู่รอดอย่างไร หลังผ่านเทศกาลสงกรานต์

มนุษย์เงินเดือนอยู่รอดอย่างไร หลังผ่านเทศกาลสงกรานต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นธรรมดา ในช่วงเทศกาลซึ่งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายย่อมไม่พลาดโอกาส โดยเฉพาะช่วงเทศกาล สงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลของครอบครัวอย่างแท้จริง คนต่างจังหวัดถือโอกาสเดินทางกลับบ้านเกิดไปหาครอบครัวไปรวมญาติ กลับไปหาเพื่อนเก่า ร่วมเฉลิมฉลองกับเทศกาลแห่งสายน้ำกันอย่างคึกคักในทุกปี

หรือแม้กระทั่งมีบางส่วนก็ถือโอกาส เดินทางไปท่องเที่ยวในเทศกาลแห่งสายน้ำนี้กันอย่างคึกคัก โดยปีนี้ ปี 2560 กระทรวงท่องเที่ยวคาดว่าจะมีการเดินทางในช่วงเทศกาลนี้ถึง 35 ล้านคนทีเดียว

mm1

แน่นอนว่า การเดินทางกลับไปหาครอบครัว หรือไปท่อเที่ยวก็ตาม ย่อมมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากเป็นพิเศษทั้งค่าเดินทาง ทั้งซื้อของฝากญาติ ซื้อของกลับมาฝากเพื่อน ซื้อหาอาหารเครื่องดื่มเพื่อเฉลิมฉลองฯ เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลที่ทำให้เงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหลายหมื่นล้านในทุกๆปี

การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลนี้เอง สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้ว...หากไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายดีๆ หลังจากกลับมาจากเทศกาลแล้ว บางคนอาจมีปัญหาทางการเงินขึ้นมาได้ แล้วจะทำอย่างไรดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องนี้เกิดขึ้น...?

แท้ที่จริงแล้ว การบริหารเงินของมนุษย์เงินเดือน ถือเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก ไม่เพียงเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น ในทุกๆเดือน หากเราสามารถวางแผนการเงิน วางแผนการใช้จ่ายและมีวินัยแล้ว รับรองว่า ไม่ว่าจะช่วงไหนๆ ก็สามารถรับมือได้อย่างสบาย ซึ่งหลักสำคัญในการบริหารเงิน ที่นักบริหารการเงินหลายๆคน ได้วางแนวทางไว้ คงหนีไม่พ้นหลักสำคัญในเรื่องเหล่านี้คือ

mm4

แบ่งค่าใช้จ่าย เงินออมให้ชัดเจน

มีคำแนะนำว่า มนุษย์เงินเดือน เมื่อเงินเดือนออก ให้แบ่งเงินเดือนออกให้ชัดเจนอย่างน้อย 3 ส่วนคือ


1 ค่าใช้จ่ายประจำ โดยเราต้องกันเงินเพื่อเป็นรายจ่ายประจำไม่ว่า จะเป็น ค่าที่พัก กรณีต้องเช่าห้อง หรือ ผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดฯ อะไรก็แล้วแต่ให้ชัด กันเงินส่วนนี้ออกมาแล้วชำระให้ตรงตามกำหนดเพื่อรักษาวินัยเรื่องการใช้จ่ายสำคัญให้ได้  จะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง  รวมทั้งหากเป็นไปได้ ควรคำนวณค่าใช่จ่ายรายวัน ทั้งค่าเดินทางและ ค่ากินในแต่ละวันแล้วกันเงินส่วนนี้ไว้ให้ชัดเจนและกันเงินส่วนนี้รวมเป็นรายจ่ายประจำไว้เลย

2 เงินออมระยะยาว เราควรตั้งเป้าเงินออมส่วนนี้ไว้ให้ชัดเจน ว่าในทุกเดือนจะต้องกันเงินไว้เป็นเงินออมระยะยาว ซึ่งเงินส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนที่มากเกินไปในแต่ละเดือน แต่หลักสำคัญ คือ ต้องกันไว้ทุกเดือน เช่น เดือนละ 2,000 บาท ซึ่งอย่างน้อย 1 ปี เราจะมีเงินเก็บไว้ 24,000 บาท เงินส่วนนี้เมื่อครบปี จะนำไปลงทุนต่อ หรือจะนำไปซื้อของที่จำเป็นที่อยากได้ ก็แล้วแต่เราจัดลำดับความสำคัญต่อไป

3 เงินเผื่อฉุกเฉิน เงินส่วนนี้ เราต้องกันสำรองไว้ โดยต้องคำนึงว่า ชีวิตเราอาจมีเรื่องจำเป็นได้ตลอดเวลา อย่างเช่นเจ็บป่วยกะทันหัน เป็นต้น โดยเงินส่วนนี้ หากไม่ได้ใช้ในแต่ละเดือน เราจะนำไปสมทบเป็นเงินออม หรือ จะให้รางวัลกับชีวิต ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ บ้างก็ไม่เป็นไร และหากจะกันไว้เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายในช่วงเทศกาลได้ ยิ่งดีเข้าไปใหญ่

รับรองว่าหาก เราสามารถบริหารเงิน ในสัดส่วนดังที่ยกมารับรอง ว่า ปัญหาการเงินไม่เกิดกับเราแน่ๆ แต่ ข้อเท็จจริง บางคนอาจไม่ได้เตรียมการไว้ หรือ มีความจำเป็นของชีวิตไม่สามารถทำได้ตามแนวทางข้างต้น และในช่วงเทศกาลก็มีความจำเป็นต้องใช้จ่าย ดังนั้นเมื่อหมดเทศกาลจะทำอย่างไรให้ตัวเองอยู่รอดจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ในเรื่องนี้ มนุษย์เงินเดือนต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า....หลังเทศกาลเรายังมีชีวิตต่อไป เรายังต้องกินต้องใช้จ่ายจนกว่าเงินเดือนจะออกตามวันเวลาที่กำหนด ดังนั้น อย่างน้อยๆ ต้องกันเงินสำหรับค่าใช้จ่ายรายวันให้ตลอดรอดฝั่งไว้ให้ได้ ก้อนหนึ่ง

mm3

 

mm2

แต่หาก การไปเที่ยวแล้วเพลินเกินไป เห็นอะไรก็อยากได้ อยากซื้อ ก็แนะนำว่า อย่างน้อย ควรซื้อของที่เป็นอาหารของแห้ง ที่สมารถเก็บไว้กินได้นานๆไว้บ้าง หรือ จะขนอาหารเสบียงจากบ้านตุนมาก็จะเป็นการดี เพื่อจะได้ลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของเราลงไปเมื่อกลับมาจากเทศกาล

หรือ หากใครสามารถซื้อเก็บอาหารแห้ง อาหารสำเร็จไว้โดยคาดว่าเพียงพอสำหรับ การใช้ชีวิตจนถึงสิ้นเดือน จนถึงวันเงินเดือนออก ก่อนจะไปเทศกาลจะนับว่าดียิ่ง เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลมากในการไปเที่ยว หรือเผลอใช้จ่ายจนหมดกระเป๋าเสียก่อน

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทาง ซึ่งหากใครสามารถบริหารเงิน และเก็บเงิน วางแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละเดือนไว้ตั้งแต่ต้น รับรองว่ากี่เทศกาลๆ ก็เอาอยู่ครับ..!!

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook