4 นิสัยนักช้อป ที่คุณควรเลิกทำก่อนที่คุณจะอายุ 30

4 นิสัยนักช้อป ที่คุณควรเลิกทำก่อนที่คุณจะอายุ 30

4 นิสัยนักช้อป ที่คุณควรเลิกทำก่อนที่คุณจะอายุ 30
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อคุณอายุ 30 ปี คนจะคาดหวังว่าให้คุณมีพฤติกรรมการช็อปปิ้งอย่างชาญฉลาด ไม่เพียงแค่ต้องฉลาดในการใช้จ่ายเงินของคุณเท่านั้น แต่คุณยังต้องมีความรับผิดชอบทางการเงินอีกด้วย นอกจากนี้คุณยังต้องมุ่งเน้นไปที่การออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ และการซื้อบ้านอีก ซึ่งถ้าหากคุณอยากทำได้ตามทั้งหมดที่กล่าวมา วันนี้ MoneyGuru.co.th จะพาคุณไปดูพฤติกรรมการช้อปปิ้งที่ไม่ดี ก่อนที่คุณจะอายุ 30 ปีกันค่ะ แล้วคุณจะพบว่ามันง่ายมากที่คุณจะประหยัดเงิน และบรรลุเป้าหมายทางการเงินในครึ่งหลังของชีวิตคุณ

ซื้อสิ่งที่คุณต้องการ
ในฐานะที่คุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว มันก็ถึงเวลาแล้วที่คุณจะตระหนักว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณต้องซื้อ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณต้องซื้อสิ่งที่คุณต้องการจริง ๆ ไม่ใช่ทุกอย่างที่คุณอยากได้นะคะ ตัวอย่างเช่น คุณต้องการร้านขายอาหารไทย แต่คุณไม่จำเป็นต้องมีถาดซูชิหรือขวดกดน้ำเย็น คุณควรตัดค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ออกไป ซึ่งไอ้ค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้แหละที่จะเปลี่ยนการเงินของคุณค่ะ

ใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตทุกครั้ง
บัตรเครดิตจะมีประโยชน์อย่างมาก หากคุณใช้มันให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากคุณจ่ายสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตทุกครั้ง คุณก็มีแนวโน้มที่จะหมดตัวเพราะเป็นหนี้บัตรเครดิต และทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นการใช้บัตรเครดิตอย่างฉลาดจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินและบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้นค่ะ

วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด (ฉบับย่อ)
สำหรับวิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดนั้น ก็คือการเขียนรายการทั้งหมดที่คุณจะซื้อ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสาธารณูปโภค น้ำมัน และค่ารับประทานอาหารนอกบ้าน คุณก็ควรกำหนดงบประมาณสำหรับแต่ละรายการ จากนั้นทุกครั้งที่คุณรูดบัตร คุณก็ควรที่จะหักค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแต่ละรายการทั้งหมดของคุณค่ะ

ไม่ใส่ใจกับงบประมาณ
เรากำลังทราบมาว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกำลังเร่งผลักดันแนวคิดเรื่องการจัดทำงบประมาณให้กับคนอื่น ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ ในการควบคุมเงินของตัวเอง ความจริงก็คือ การจัดทำงบประมาณจะยากกว่าการฟังผู้เชี่ยวชาญ แต่คุณก็ต้องพยายามทำนะคะ ด้วยการสร้างงบประมาณที่คุณจะต้องใช้ต่อเดือน ตัวอย่างเช่น การจัดทำงบประมาณว่าจะใช้จ่าย 1-2 หมื่นต่อเดือนเท่านั้น จะไม่มากไปกว่านี้ เป็นต้น

ทำตามอารมณ์
รู้สึกเศร้าก็ไปซื้อของ! อารมณ์ดีก็ไปซื้อของ! ตื่นเต้นกับการได้งานใหม่ก็ไปซื้อของ! ไม่มีอะไรทำในวันเสาร์ก็ไปช้อปปิ้ง! หากคุณกำลังเป็นเช่นนี้อยู่ก็จงหยุดนิสัยเหล่านี้เสียค่ะ เพราะการช็อปปิ้งเมื่อคุณเครียด เบื่อ ตื่นเต้น หรือหดหู่ มันเป็นวิธีที่ง่ายที่จะทำให้คุณเสียเงินไป และยังทำให้คุณซื้อของที่คุณไม่ต้องการและไม่จำเป็นอีกด้วยค่ะ

และหากคุณอยากรับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ การเงิน สินเชื่อ บัตรเครดิต และประกันรถยนต์ ก็สามารถกด Subscribe เพื่อรับสาระความรู้แบบนี้จาก MoneyGuru.co.th ได้เลยค่ะ เราจะส่งตรงถึงอีเมลของคุณทุก ๆ สัปดาห์

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook