บิ๊กตู่ ลั่น รบ.นี้จะเพิ่มความยาวระบบรางจาก 4,000 เป็น 7,000 กม.ใน 5 ปี

บิ๊กตู่ ลั่น รบ.นี้จะเพิ่มความยาวระบบรางจาก 4,000 เป็น 7,000 กม.ใน 5 ปี

บิ๊กตู่ ลั่น รบ.นี้จะเพิ่มความยาวระบบรางจาก 4,000 เป็น 7,000 กม.ใน 5 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 มีนาคม ที่เวทีหลัก ลานชั้น 2 สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ มักกะสัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” ระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมการประชุม

นายกฯกล่าวว่า วันนี้รัฐบาลพยายามวางระบบและสร้างการคมนาคมทุกอย่างให้เชื่อมโยงกัน จึงอยากจะบอกว่าให้เราทำอะไรอย่างเชื่อมโยงไม่ใช่มองแค่ตัวเองหรืองานของตัวเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงอย่างอื่นเพราะจะเป็นสิ่งที่อันตรายต่อประเทศ จากการที่ตนมีประสบการณ์เดินทางไปและพบปะกับผู้นำประเทศที่พัฒนาแล้วตนเห็นถึงความก้าวหน้าในเรื่องความคิดและยุทธศาสตร์ 3 ส่วนด้วยกัน

1.เพื่อประชาชน 2.พรรคการเมืองและคะแนนนิยมในการบริหารประเทศตามหลักการ และ 3.เพื่อยุทธศาสตร์ชาติตนจึงอยากให้ทุกคนคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามอย่างมารวมกันให้ได้ นั่นเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดไว้ในการบริหารราชการแผ่นดินต่อ ไม่เช่นนั้นสิ่งต่างๆ ก็จะกลับมาเหมือนเดิมเราจะไม่เห็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและก้าวหน้า โดยวันนี้กี่ปีมาแล้วที่ระบบรางทั้งหมดมีกว่า 4,000 กิโลเมตร แต่กำลังจะเพิ่มเป็น 7,000 กิโลเมตรในปี 2565 รัฐบาลนี้คิดแบบนี้และยาวกว่านี้

นายกฯกล่าวว่า สิ่งที่เราพัฒนาร่วมกันในเรื่องระบบขนส่งทางรางให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น โดยรัฐบาลมีนโยบายด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ สาธารณูปโภคพื้นฐาน การขนส่งคมนาคมของประเทศให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างแท้จริง ทั้งนี้การลงทุนด้านคมนาคมทั้งหมดต้องคำนึงถึงคนโดยรอบด้วยว่าจะได้อะไรจากตรงนี้ โดยการพัฒนาอะไรก็ตามไม่ใช่เพียงรัฐลงทุนอย่างเดียว แล้วก็เป็นหนี้สาธารณะจึงต้องมีการลงทุนร่วม ในระหว่างที่เราพัฒนาเบื้องต้นนั้นก็ไม่มีกำไร ใครจะมาขึ้นรถไฟได้หากไม่ใช่คนกรุงเทพฯ หรือคนที่มีรายได้สูง

ทั้งนี้เราต้องมองว่าคนในประเทศมีกี่ระดับ แต่ไม่ใช่แบบชนชั้นอย่างที่คนบางคนสร้างวาทกรรมไว้ เมื่อประชาชนมีรายได้ที่แตกต่างเราจะทำอย่างไรให้คนเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ นั่นเป็นสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งการสร้างรถไฟ ไม่ใช่สร้างแล้วจบ ขาดทุนหรือไม่ก็ไม่รู้จะแก้อย่างไรก็ไม่รู้ แต่จะขึ้นราคาอย่างเดียวก็ไม่ได้ต้องคำนวณว่าสองข้างทางจะได้อะไร ซึ่งปัญหาการเวนคืนตนถามว่าในประเทศประชาธิปไตยทำไมถึงทำได้ เพราะประชาชนเขาเรียนรู้ รวมถึงข้าราชการและรัฐบาลมีธรรมาภิบาลและคุณธรรมเพื่อชาติ เราเองเป็นส่วนหนึ่งในโลกใบนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook