พลิกวิกฤต เกษตรกรอุทัยฯหยุดทำนา หันปลูกพืชสวนครัว ผลผลิตไว รายได้ 6 พันต่อสัปดาห์

พลิกวิกฤต เกษตรกรอุทัยฯหยุดทำนา หันปลูกพืชสวนครัว ผลผลิตไว รายได้ 6 พันต่อสัปดาห์

พลิกวิกฤต เกษตรกรอุทัยฯหยุดทำนา หันปลูกพืชสวนครัว ผลผลิตไว รายได้ 6 พันต่อสัปดาห์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะปัญหาภัยแล้ง ที่คุกคามทุกพื้นที่ และยังคงรุนแรงยาวนานกว่าทุกปี ส่งผลให้เกษตรกรผู้ทำนาปลูกข้าวต้องหยุดการทำนาลงกันแบบระยะยาว เนื่องจากแหล่งกักเก็บน้ำทั้งในพื้นที่สาธารณและส่วนบุคคลต่างๆถูกนำไปใช้ช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ทำนากันเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ส่งผลให้ทุกพื้นที่ขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถทำการเกษตรใดๆได้นอกจากพืชฤดูแล้งหรือพืชที่ทนแล้งใช้น้ำน้อยมากที่สุด เพื่อให้ยังคงมีอาชีพเพื่อสร้างรายได้ในการยังชีพเลี้ยงครอบครัวไปได้แทนการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว พืชไม้เลื้อย และพืชอายุสั้นที่สามารถให้ผลผลิตได้ไวทันต่อการออกจำหน่ายสู่ตลาด

โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว ที่สามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้ง ได้ดีทั้งยังลงทุนน้อยให้ผลผลิตไวมีรายได้หมุนเวียนชัดเจน และยังสามารถบรรเทาค่าใช้จ่ายในครอบครัว จากการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการปลูกกินเหลือขายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

นายวัชรพันธุ์ สุวรรณกร อายุ 39 ปี เกษตรกร หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง จ.อุทัยธานี เล่าว่า เดิมที่บริเวณละแวกนี้ทุกพื้นที่จะทำนากันทั้งหมด โดยจะใช้น้ำจากเขื่อนวังร่มเกล้า แต่ตอนนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนวังร่มเกล้านั้นเหลือน้อยมากไม่เพียงพอที่จะทำนากันได้ จึงทำให้ชาวนาส่วนใหญ่ว่างงาน จึงออกหารับจ้างทำงานก่อสร้าง หรือไม่ก็ทดลองทำการปลูกพืชชนิดอื่นแทน

ซึ่งตนเองก็ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำนามาปลูกพืชผักสวนครัว หรือพืชที่ใช้น้ำน้อยที่สุดและลงทุนน้อยกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ซึ่งใช้พื้นที่ไม่มากดูแลง่ายและให้ผลผลิตไว โดยการใช้พื้นที่นาเพียง 2 ไร่ ลงทุนเพียง 3,000 – 4,000 บาท ในการปลูกบวบ คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ต้นหอม ผักชี แตงกวา ถั่วฝักยาว แตงโม ฟักทอง และผักบุ้งจีน ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือน และใช้น้ำน้อยเพียงร้อยละ 40 ของการปลูกข้าว สามารถสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งสามารถปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย และยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อของบริโภคในครัวเรือนไปได้มากเนื่องจากปลูกเองและมีรายได้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งตอนนี้ก็มีชาวบ้านให้ความสนใจและหันมาปลูกพืชผักสวนครัวเหมือนตนเองกันหลายราย และทำการออกจำหน่ายสู่ตลาดโดยการรวมกลุ่มกันและนำไปขาย ซึ่งตนเองจะเป็นตัวแทนในการรับวัตถุดิบของคนในหมู่บ้านที่ปลูกพืชผักสวนครัวไปขายที่ตลาดเกษตร โดย 1 อาทิตย์ จะขาย 2 วัน คือวันอังคารกับวันศุกร์ จะมีรายได้อยู่ที่ประมาน 6,000 บาท ต่อ 1 สัปดาห์ ถือเป็นการสร้างรายได้ที่เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดีอีกหนึ่งช่องทาง ไม่ต้องออกหารับจ้างไกลบ้านในช่วงหน้าแล้งนี้ นายวัชรพันธุ์ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook