ใครได้เงินรางวัลปีนี้ อย่าลืมจ่ายภาษีให้ถูกต้อง

ใครได้เงินรางวัลปีนี้ อย่าลืมจ่ายภาษีให้ถูกต้อง

ใครได้เงินรางวัลปีนี้ อย่าลืมจ่ายภาษีให้ถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใกล้สิ้นปีเข้าไปเต็มที  นอกจากการวางแผนเที่ยวในช่วงสิ้นปีแล้ว มนุษย์เงินเดือน และผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเตรียมตัววางแผนสำหรับการจ่ายภาษี ในช่วงต้นปีหน้าให้ดีด้วย 

ในส่วนของการลงทุนเพื่อนำมาใช้หักค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษีไม่ว่า LTF RMF หรือประกันชีวิตมีการแนะนำออกมาค่อนข้างเยอะในช่วงนี้ แต่ มีรายได้อีกอย่างหนึ่งที่คนมักจะผิดพลาดไม่นำมาจ่ายภาษีจนบางครั้งถูกกรมสรรพากรเรียกปรับ จนเป็นข่าวโด่งดังมาหลายครั้งหลายคราว นั้นก็คือ เงินรางวัล
 
ทั้งนี้ผู้ที่ได้รางวัลจากการชิงโชคต่างๆคิดว่า เมื่อตอนรับรางวัลมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว พอถึงสิ้นปีภาษีไม่ได้นำรายได้มาคำนวณเพื่อเสียภาษีอีก เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง  วันนี้เรามาทบทวนกันในเรื่อง ภาษีเงินรางวัล เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดถูกเสียค่าปรับเงินเพิ่ม กันอีก

 สำหรับประเด็นที่มักจะเข้าใจกันคลาดเคลื่อนก็คือ “เมื่อถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตอนรับเงิน/ของรางวัล กันแล้วที่ 5% ก็เป็นอันหมดสิ้นภาระทางภาษีแล้ว” โดยแท้จริงแล้ว ภาระภาษีจะหมดไปได้ก็ต่อเมื่อสิ้นปีภาษีแล้วผู้ได้รับเงิน/ของรางวัล ได้ดำเนินการยื่นแบบคำนวณและนำส่งภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.90) ซึ่งมีกำหนดเวลาให้ยื่นได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สมมุติ มีผู้ได้รับเงินรางวัลจากการชิงโชค จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถือเป็น เงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40(8)
แต่ทั้งนี้ในการเสียภาษีสามารถ หัก รายจ่ายตามจริงและสมควร(หากมี) และเงินดังกล่าวนำมาหัก ลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ ได้ 30,000 บาท ทำให้มียอดสุทธิที่ต้องเสียภาษี  9,970,000 โดยต้องนำไปคำนวณตามอัตราตามที่กรมสรรพากรกำหนด


โดยส่วนที่เกิน 4 ล้านบาท หรือ 4,000,001-9,970,000 บาทเสียภาษี 35 %
ส่วนที่ต่ำกว่า 4 ล้านบาทลงมา สามารถหักค่ายกเว้นจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน จากนั้นนำมาคำนวณภาษีตามขั้นบันใด คือ  


จำนวน 150,001-300,000 บาท เสียภาษีอัตรา 5 %
จำนวน 300,001-500,000บาทเสียภาษีอัตรา 10 %
จำนวน 500,001-750,000บาท เสียภาษีอัตรา 15 %
จำนวน 750,001-1,000,000บาท เสียภาษีในอัตรา 20 %
จำนวน 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษีอัตรา 25 %
จำนวน 2,000,001-4,000,000 บาทเสียภาษี 30 %


จะเห็นได้ว่า เงินรางวัล เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและดำเนินการให้ถูกต้อง ดังนั้น ในช่วงปีที่ผ่านมาใครได้โชคได้รางวัลต้องนำมาคำนวณภาษีให้ถูกต้องด้วยเพื่อจะได้ไม่ถูกกรมสรรพากรปรับ ซึ่งอาจต้องเสียเงินเพิ่มให้เจ็บใจด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook