ประชุมพิจารณาค่าโดยสารรถสาธารณะทุกประเภท 21 มี.ค.นี้

ประชุมพิจารณาค่าโดยสารรถสาธารณะทุกประเภท 21 มี.ค.นี้

ประชุมพิจารณาค่าโดยสารรถสาธารณะทุกประเภท 21 มี.ค.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงคมนาคม เตรียมประชุมพิจารณาค่าโดยสาร รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท วันที่ 21 มีนาคมนี้

หลังจากที่ราคาพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการประกอบธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น

นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เปิดเผยว่า วันที่ 21 มี.ค.นี้

คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จะมีการประชุมพิจารณาเรื่องค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ที่กระทรวงคมนาคม ตามที่ผู้ประกอบการร้องขอ

หลังจากที่ราคาพลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการประกอบธุรกิจได้มีการปรับราคาขึ้น โดยในปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ราคาลิตรละ 32.33 บาท ส่วนราคาก๊าซเอ็นจีวี อยู่ที่กิโลกรัมละ 9 บาท

ด้าน นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน กล่าวว่า จะขอปรับขึ้นค่าโดยสารระยะละไม่ต่ำกว่า 2 บาท หากราคาก๊าซเอ็นจีวีปรับเพิ่มเป็นลิตรละ 10 บาท จาก 8.50 บาท

เนื่องจากทำให้ค่าเชื้อเพลิงเพิ่มรถธรรมดา หรือ รถร้อน เพิ่มขึ้นวันละ 250 บาท รถปรับอากาศเพิ่มขึ้นวันละ 350 บาท

ขณะที่นายฉัตรชัย ภู่อารีย์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางหมวด 4 เอกชนกรุงเทพมหานคร (รถสองแถวในซอย) เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือขอปรับราคาค่ารถโดยสารสองแถวทุกประเภทไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

ที่ผ่านมา โดยเสนอขอปรับค่าโดยสารรถสองแถว 3 ประเภท คือ รถสองแถว ขนาด 4 ล้อ และ 6 ล้อ ขอปรับจากอัตราเดิม 5.50 บาท เป็น 8 บาท , รถสองแถวขนาดใหญ่ (บัส) ปรับอากาศ ขอปรับจากอัตราเดิม 10 บาทตลอดสาย เป็น อัตรา 13-21 บาท คิดตามระยะทาง และรถสองแถวขนาดใหญ่ (บัส) ไม่ปรับอากาศ ขอปรับจากอัตราเดิม 8 บาท เป็น 10 บาท

เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้ปรับราคามาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลขณะนั้นอยู่ที่ลิตรละ 20 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 32.33 บาท ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานสูงขึ้นมาก ซึ่งหากการประชุมในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ไม่อนุมัติให้ปรับราคา ทางชมรมฯ จะนำรถสองแถว 1,000 คันไปปิดกระทรวงคมนาคมในวันที่ 22 มี.ค. เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเดือดร้อนจริง

ส่วนนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางการปรับขึ้นค่าแท็กซี่มิเตอร์ของกระทรวงคมนาคม คือ ให้คงค่าอัตรามิเตอร์แรก 35 บาท และให้ขึ้นค่าโดยสารตามระยะทางอีก 50 สตางค์ โดยไม่ควรปรับราคาเกินร้อยละ 5-7 ตามราคาก๊าซเอ็นจีวี ที่ปรับเพิ่มขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook