หนี้!! บริหารจัดการอย่างไรให้เป็นระบบ

หนี้!! บริหารจัดการอย่างไรให้เป็นระบบ

หนี้!! บริหารจัดการอย่างไรให้เป็นระบบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำผิดพลาดในชีวิตครั้งใหญ่ด้วยการเป็นหนี้บัตรเครดิต อาจเป็นสาเหตุในการเป็นหนี้ระยะยาวเรื้อรังได้  สาเหตุหลักของ “หนี้สินท่วมตัว”

คือ ซื้อของที่อยากได้เพื่อตอบสนองความอยาก อยากได้อะไรก็ซื้อ โดยคิดว่าจะจ่ายไหว ท้ายที่สุดก็มีหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อเงินสดจำนวนมากมาย หลายคนเมื่อมีปัญหาก็คิดถึงการกู้หนี้เพิ่มโดยการใช้สินเชื่อเงินสด

ที่คิดว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่จริงๆ แล้วนั่นคือการเริ่มต้นของการเป็นหนี้ระยะยาวเรื้อรังเป็นหนี้พอกหางหมู กู้หนี้ใหม่โปะหนี้เก่า จากหนี้ที่มีหลักหมื่นกลายเป็นหนี้หลักแสน แล้วจะทำอย่างไร เพื่อให้สามารถปลดหนี้ทั้งหลายทั้งปวงได้

แนวทางในการปลดหนี้ มีดังนี้

1. รวบรวมหนี้ที่มีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิตที่มีทุกใบ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้บัตรกดเงินสด หนี้บ้าน หนี้รถ รวมถึงหนี้ที่กู้ยืมจากคนรอบข้าง หรือคนใกล้ตัว ว่ามียอดเท่าไหร่ และดูระยะเวลาในการชำระหนี้ว่าเป็นหนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินระยะยาว

2. รวบรวมทรัพย์สินที่มีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เงินสด เงินฝาก เงินลงทุนในกองทุน สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่สามารถแปรสภาพเป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ได้ รวมถึงบ้านและรถยนต์ที่ปลอดภาระหนี้  

3. แยกหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ผ่อนระยะสั้น และหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนระยะยาว โดยชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าก่อนแล้วค่อยเรียงลำดับไล่ลงมายังหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น จ่ายหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าก่อนหนี้บัตรเครดิต

4.เจรจาประนอมหนี้ คุยกับเจ้าหนี้แต่ละราย เพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยจ่าย ขอขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ รวมถึงขอปรับลดเงินผ่อนชำระต่องวด

5.รวมหนี้ หาเจ้าหนี้ที่รับโอนหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุด และควรเป็นเจ้าหนี้ในระบบ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในระบบโดยทั่วไปจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบ รวมถึงวิธีการทวงถามหนี้จะเป็นไปตามระเบียบของสถาบันการเงินนั้นๆ

6.หยุดการก่อหนี้เพิ่มไม่ว่าจะเป็นหนี้ใดๆ และตั้งใจชำระหนี้อย่างมีวินัย หาหนทางเพิ่มรายได้จากงานประจำเพื่อให้มีรายได้ชำระหนี้ได้มากขึ้น


หลังจากปลดภาระหนี้แล้ว ควรวางแผนการเงินแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพื่อไม่ต้องกลับไปเป็นหนี้แบบในอดีต โดย

  • เริ่มทำบัญชีบันทึก “รายรับ รายจ่าย” ในแต่ละเดือนเพื่อดูว่าเงินหายไปไหน
  • ประหยัด และ เปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายเป็น “มีเงินสดแล้วค่อยซื้อ”
  • จ่ายในสิ่งที่ “จำเป็น” และ ลดในสิ่งที่เรียกว่า “อยากได้”
  • ใช้ชีวิตอยู่อย่างคนจน จะไม่จน

 

ขอบคุณข้อมูล : K-expert

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook