ลาออกจากงานประจำ มาเปิดร้านกาแฟดีไหม!

ลาออกจากงานประจำ มาเปิดร้านกาแฟดีไหม!

ลาออกจากงานประจำ มาเปิดร้านกาแฟดีไหม!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความฝันของมนุษยเงินเดือนหลายคนคงหนีไม่พ้นที่อยากมีธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ สักธุรกิจ และหนึ่งในธุรกิจในฝันก็คือ "ร้านกาแฟ" ซึ่ง Sanook! Money หาข้อมูลในการเปิดร้านกาแฟมาฝากค่ะ โดยเป็นข้อมูลจาก www.aircraftcoffee.com 

1. ก่อนที่จะคิดการใหญ่ว่าจะมีกำไรแค่ไหน เราควรที่จะต้องวางคอนเซ็ปส์หรือรูปแบบร้านกาแฟในฝันของเราว่าอยากจะเปิดร้านกาแฟในรูปแบบใด กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร สถานที่ใดบ้างที่เราอยากจะไปเปิด ร้านกาแฟ และต้องเดินทางสะดวก

ตัวอย่าง 1
- อยากเปิด ร้านกาแฟ แบบเคาน์เตอร์เล็กๆ แต่ไม่โนเนม ดูดีมีสไตล์
- เช่าพื้นที่หน้าร้าน
- หน้า ม.เอแบค, ม.ราม
- กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา คนทำงาน
- เดินทางได้สะดวกเพราะ บ้านอยู่แถวบางกะปิ

ตัวอย่างที่ 2
- อยากเปิดเป็น ร้านกาแฟ แบบมีพื้นที่นั่ง ขายวาฟเฟิลควบคู่ด้วย บรรยากาศคลาสิค ไม่หรูแต่ดูดี
- เปิดในห้าง ย่าน ฝั่งธนฯ
- กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และคนทำงาน
- เดินทางสะดวก เพราะบ้านอยู่ฝั่งธน

2. ออกสำรวจหาสถานที่จริงในการเปิดร้านกาแฟ (วิธีการและหลักการเลือกทำเลที่ดี และเหมาะสมจะเขียนเป็นบทความเสริมให้ในคราวต่อไป)

3. เมื่อได้ทำเลที่ต้องการเปิด ร้านกาแฟ แล้ว ให้สอบถามเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ค่าเช่าเดือนละเท่าไร
- ค่าน้ำ ค่าไฟ คิดอย่างไร ยูนิตละเท่าไร
- เก็บเงินมัดจำหรือไม่ ถ้าเก็บกี่เดือน เงื่อนไขการได้รับเงินมัดจำคืนเป็นอย่างไร (ควรขอหลักฐานการวางเงินมัดจำด้วย หากได้ชำระไปแล้ว)
- เมื่อจะยกเลิกการขาย จะต้องแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ กี่เดือน มีเงื่อนไขอย่างไร
- การตกแต่งสถานที่ มีเงื่อนไขอย่างไร

4. ศึกษาหาข้อมูล บริษัทฯ ผู้จำหน่าย สินค้า วัตถุดิบ และอุปกรณ์ในการเปิด ร้านกาแฟ ต่างๆ อาทิเช่น
- เครื่องชงกาแฟ
- เครื่องบดกาแฟ
- เครื่องปั่นน้ำผลไม้
- เคาน์เตอร์ กาแฟ
- เมล็ดกาแฟ ชา โกโก้ น้ำผลไม้

5. ออกแบบร้าน และเริ่มก่อสร้าง ร้านกาแฟ ตามรูปแบบที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก ที่สำคัญต้องกำหนดวันเปิดร้านให้ชัดเจน และทำตารางเพื่อเรียงลำดับหัวข้อต่างๆที่ต้องทำ เพื่อเป็นการวางแผนที่ดี
- ถ้าเป็นเคาน์เตอร์กาแฟ ธรรมดา ค่าเคาน์เตอร์ไม่ควรเกิน 50,000 บาท
- ถ้าเป็น ร้านกาแฟ งบประมาณในการก่อสร้าง ไม่ควรเกิน 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด

6. สำรวจงบประมาณที่มี และตัดสินใจเลือก รูปแบบ ร้านกาแฟ และ สินค้า วัตถุดิบ อุปกรณ์ในการเปิด ร้านกาแฟ ทั้งหมด โดยทำเป็นบัญชีรายจ่าย ลองเขียนรายการต่างๆ ที่ต้องซื้อลงมาเป็นข้อๆ แล้วใส่ราคาที่เราสำรวจมาได้ลงไป ก็จะได้งบประมาณการลงทุนคร่าวๆ ทั้งหมด ถ้าเกิน ก็พิจารณาดูว่า สินค้ารายการใดไม่จำเป็นอาจจะลดคุณสมบัติลง หรือตัดทอนออกไป

7. ประกาศรับสมัครพนักงาน บาริสต้า หากเจ้าของขายเองก็ไม่ต้อง (หลักการเลือก และรับสมัคร รวมถึง ผลตอบแทนที่เหมาะสมของบาริสต้า จะเขียนบทความเล่าให้ฟังอีกทีค่ะ)

8. เข้าสู่ขั้นตอนการฝึกอบรม ควรมาทั้งเจ้าของร้าน และพนักงานบาริสต้า (พนักงานชงกาแฟ) เพราะในการเปิดร้านกาแฟ จะมีสูตรกาแฟมากมาย และรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ เช่น วิธีการใช้เครื่องชงกาแฟ วิธีการดูแลรักษาเครื่องชงกาแฟ เป็นต้น

9. เตรียมตัวเปิด ร้านกาแฟ โดยการฝึกซ้อม ซักซ้อม สูตร และคำพูดในการกล่าวต้อนรับลูกค้า เช่น
"บิลเลี่ยนคอฟฟี่ สวัสดีค่ะ รับกาแฟร้อน หรือเย็นดีค่ะ"

10. จัดเรียงสินค้า และตรวจความเรียบร้อยภายใน ร้านกาแฟ เพื่อเตรียมตัวเปิดร้าน

เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่สับสน หรือหลงลืม หรือวุ่นวาย ในการเปิดร้านกาแฟอีกต่อไป โชคดีนะค่ะ แล้วพบกับบทความเกี่ยวกับกาแฟ ได้ต่อไปค่ะ หากใครมีคำแนะนำดีๆ เพิ่มเติมประเด็นใด แสดงความคิดเห็นได้ในฟอร์มติดต่อกลับค่ะ หรือเว็ปบอร์ดก็ได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.aircraftcoffee.com/

ขอบคุณภาพจาก http://www.homedec.in.th/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook