ตกงานมันง่าย งานใหม่ก็หายาก ต้อง “เพิ่มความมั่นคง” ในการทำงาน

ตกงานมันง่าย งานใหม่ก็หายาก ต้อง “เพิ่มความมั่นคง” ในการทำงาน

ตกงานมันง่าย งานใหม่ก็หายาก ต้อง “เพิ่มความมั่นคง” ในการทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้สถานภาพในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายถือว่าสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เพราะเมื่อเศรษฐกิจหยุดชะงัก บริษัท องค์กรต่าง ๆ ก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย 

บริษัทที่สายป่านยาวก็อาจไม่มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็อาจต้องปรับลดพนักงาน หรือลดเงินเดือนเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น หากใครไม่อยากเป็นหนึ่งในพนักงานที่ถูกเชิญออกแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับหน้าที่การงานของตัวเอง ซึ่ง Tonkit360 มีข้อแนะนำดี ๆ มาฝากกัน ดังนี้

1. เรียนรู้สไตล์การสื่อสารของหัวหน้า 
เมื่อต้องทำงานร่วมกัน ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยเช่นกันว่าหัวหน้าหรือเจ้านายของเราชอบสไตล์การสื่อสารแบบใด เช่น ต้องการให้มีการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ชอบดูรายงานผ่านอีเมล หรือชอบพูดคุยแบบตัวต่อตัวมากกว่า เพื่อจะได้ปรับตัวเองให้เข้ากับการทำงานในสไตล์ที่หัวหน้าต้องการ 

2. รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานหรือโปรเจกต์ใด ๆ สามารถทำได้สำเร็จตามกำหนดเวลา รวมถึงงบประมาณไม่บานปลาย และไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาจนเกินแก้ ซึ่งหากงานชิ้นใดมีอุปสรรค ก็ควรแจ้งให้เจ้านายทราบเพื่อขอคำปรึกษาแต่เนิ่น ๆ 

3. ทำผลงานให้โดดเด่น 
นอกจากการรักษาผลงานให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้ว หากสามารถทำงานได้มากกว่าที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน และสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพได้ด้วย ก็จะยิ่งช่วยสร้างความโดดเด่น และทำให้องค์กรเห็นถึงความสามารถของเรา 

4. ชำนาญการเฉพาะด้าน 
ทุกคนย่อมมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน ให้ลองดูว่าเราเชี่ยวชาญหรือเก่งด้านไหนเป็นพิเศษ เพื่อจะได้นำทักษะส่วนนั้นมาใช้พัฒนางานของตนเอง รวมถึงร่วมงานหรือโปรเจกต์ใดที่สามารถใช้ทักษะที่เราชำนาญการให้เป็นประโยชน์ได้ 

5. เข้าใจเป้าหมายของบริษัท 
จงทำให้ตัวเองเป็นหนึ่งในทีมงานที่ขาดไม่ได้ เพราะหากมีปัญหาใด ๆ แล้วเราสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึันได้ หรือนำเสนอไอเดียดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทก็จะทำให้หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานได้เห็นศักยภาพในตัวเรา

6. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเพื่อนร่วมงาน
ไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาขอความช่วยเหลือจากเราโดยตรง แต่ถ้าเพื่อนร่วมงานกำลังประสบปัญหา หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ควรยื่นมือเข้าไปช่วยด้วยความเต็มใจ และไม่หวังผลตอบแทน แต่ให้ช่วยด้วยความรู้สึกที่อยากช่วยจริง ๆ  

7. พัฒนาทักษะของตัวเองทุกปี 
หากอยากเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ ก็ต้องทำตัวเองให้เหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงทุกปี ด้วยการวางแผนพัฒนาทักษะของตัวเองเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้น โดยอาจปรึกษากับเจ้านายเพื่อขอการสนับสนุนจากพวกเขาอีกทางหนึ่งก็ได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook