เปิดตัวจักรยานสร้างจากเครื่องพิมพ์สามมิติคันเเรกของโลก

เปิดตัวจักรยานสร้างจากเครื่องพิมพ์สามมิติคันเเรกของโลก

เปิดตัวจักรยานสร้างจากเครื่องพิมพ์สามมิติคันเเรกของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จิม มิลเลอร์ (Jim Miller) ผ่านงานมาหลายตำแหน่ง รวมทั้งช่วยบริษัทอัลฟาเบท (Alphabet) บริษัทเเม่ของกูเกิ้ล (Google) สร้างศูนย์ข้อมูลเเละช่วยปรับปรุงความรวดเร็วในการส่งวัสดุภัณฑ์ของแอมะซอน (Amazon)

มาตอนนี้ จิม มิลเลอร์ กำลังทำในสิ่งที่บรรดาผู้บริหารบริษัทในซิลิคอน วัลเล่ย์ อยากทำหลังผ่านงานในบริษัทใหญ่ๆ มาเเล้ว นั่นก็คือการหาเวลาไปปั่นจักรยาน

แต่รถจักรยานคันใหม่นี้ต่างจากรถจักรยานทั่วไป บริษัทอารีฟโว (Arevo) บริษัทสตาร์ทอัพที่มิลเลอร์ขึ้นดำรงตำเเหน่งเป็นซีอีโอเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ผลิตรถจักรยานเส้นใยคาร์บอนคันเเรกของโลก ที่ใช้โครงจักรยานพิมพ์ด้วยเครื่ิองพิมพ์สามมิติ และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนของสำนักงานข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐฯ หรือซีไอเอ (Central Intelligence Agency)

บริษัท Arevo กำลังใช้รถจักรยานคันนี้ในการสาธิตโปรแกรมซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ เเละเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติที่ทางบริษัทหวังว่าจะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของจักรยาน เครื่องบิน ยานอวกาศ เเละงานอื่นๆ ที่นักออกแบบต้องการความเเข็งแแกร่ง เเละน้ำหนักที่เบาของชิ้นส่วนที่่ทำจากเส้นใยคาร์บอนที่เรียกว่า วัสดุคอมโพสิท เเต่ประสบปัญหาที่ราคาสูง เเละกระบวนการผลิตต้องใช้เเรงงานคนเกือบทั้งหมดโดยวิธีดั้งเดิม

จักรยานเส้นใยคาร์บอนมีราคาแพง เพราะต้องใช้เเรงงานคนจัดเรียงเส้นใยคาร์บอนเเต่ละเส้นด้วยมือ และใช้เรซินเป็นตัวยึดปิดผลึกเส้นใยแต่ละเส้นให้ติดกันลงไปรอบๆ แม่เเบบ หลังจากนั้นจะนำไปอบในตู้อบเพื่อให้เรซินละลายเเละยึดเส้นใยคาร์บอนติดกัน

เทคโนโลยีของ Arevo ใช้หัวพิมพ์แบบ "deposition head" ที่ติดลงบนเเขนยนต์เพื่อพิมพ์โครงจักรยานสามมิติ หัวพิมพ์จะเป็นตัวจัดวางเส้นใยคาร์บอนเเละหลอมละลายวัสดุพลาสติกชนิดที่เรียกว่า thermoplastic เพื่อเป็นตัวยึดเส้นใยให้ติดกัน โดยรวบรัดสองขั้นตอนนี้ได้ในคราวเดียวกัน และกระบวนการผลิตนี้แทบไม่ต้องใช้เเรงงานคนเลย

วิธีนี้ช่วยให้ Arevo ผลิตโครงรถจักรยานได้ในราคา 300 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในซิลิคอนวัลเล่ย์ ที่ค่าครองชีพแสนแพง

มิลเลอร์ กล่าวว่า ราคาค่าลงทุนผลิตโครงจักรยานนี้ เท่าๆ กับค่าลงทุนผลิตโครงจักรยานในเอเชีย และนั่นทำให้ทางบริษัทจะสามารถย้ายฐานการผลิตวัสดุคอมโพสิทกลับมายังสหรัฐฯ ได้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook