ไขความลับของแสงไฟในทุกการใช้งาน

ไขความลับของแสงไฟในทุกการใช้งาน

ไขความลับของแสงไฟในทุกการใช้งาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หน้าตาของบ้านในฝันสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามสไตล์และความชอบ แต่คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการเลือกโทนสี เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ และของตกแต่งบ้าน จนลืมไปว่าการจัดวางระบบแสงสว่างที่เหมาะเจาะก็มีส่วนช่วยทำให้ทุกมุมของบ้านออกมาอย่างที่คิดไว้

แต่ได้ยินคำว่า ‘การออกแบบแสงไฟ’ ก็อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยากนะ ไม่เชื่อก็ลองดูเทคนิคที่เรารวบรวมมาให้ แล้วจะรู้ว่าทำได้ง่ายกว่าที่คิดและเห็นผลอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องบรรยากาศภายในบ้านและการใช้งาน ที่สำคัญ การเลือกหลอดไฟแบบที่เหมาะสมและจำนวนที่พอดีมีส่วนช่วยให้เราประหยัดด้วย เพราะทำให้เราไม่ต้องใช้หลอดไฟมากเกินไป ทั้งยังไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้ไฟเกินจำเป็นอีกด้วย


ขั้นแรกเริ่มจากการเลือกใช้ดวงไฟแต่ละประเภทก่อน เพราะหลอดไฟที่เหมาะสมจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ที่ต้องการให้แสงสว่างได้อย่างดี เกณฑ์ในการเลือกขึ้นอยู่ทั้งกับพื้นที่และความสูงของห้องด้วย
อย่างเช่นห้องทำงานสูง 2.5 เมตร พื้นที่ประมาณ 15 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอด LED 4-5 วัตต์ 10 หลอด แต่ถ้าเป็นหลอด 7-7.5 วัตต์ ใช้เพียง 6 หลอดก็เพียงพอ หรือใช้โคมซาลาเปา LED อาจเพิ่มโคมไฟแขวนเพดานหรือตั้งโต๊ะมาช่วยกระจายแสงสว่าง เพื่อให้อ่านหนังสือหรือทำงานได้สบายตายิ่งขึ้น แต่ต้องดูให้ไปกันได้กับไฟส่วนอื่นของห้องด้วย เพราะจุดประสงค์ในการเลือกไฟในห้องทำงานก็คือการใช้แสงไฟที่ช่วยเสริมให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นนั่นเอง


ห้องครัวเป็นห้องที่ถึงแม้ว่าเราอาจจะใช้เวลาในแต่ละวันน้อยกว่าห้องอื่นๆ แต่ใช่ว่าแสงสว่างที่เหมาะสมจะไม่จำเป็นสำหรับห้องนี้ จากหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบธรรมดา อาจเปลี่ยนเป็นหลอดที่อายุการใช้งานนานกว่าอย่างหลอด LED 7-7.5 วัตต์ สัก 8 หลอดสำหรับห้องขนาด 20 ตร.ม. และสูงประมาณ 2.5 เมตร แต่ถ้าห้องครัวบังเอิญอยู่ในมุมที่แสงน้อย สามารถทำให้สว่างขึ้นได้ด้วยการติดตั้ง Track Light หรือไฟหลืบที่เมื่อซ่อนไว้ใต้ตู้ลอยหรือเครื่องดูดควันแล้ว นอกจากจะทำให้ห้องครัวดูโมเดิร์นขึ้นอีกด้วย




ถัดจากห้องครัวก็มาถึงพื้นที่รับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแบบแยกมาเป็นอีกห้องต่างหาก หรือเชื่อมต่อมาจากห้องครัว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศให้เป็นอย่างใจ คือ หลอดไฟที่ปรับระดับความสว่างได้ เมื่อเข้าคู่กับโคมไฟห้อยหรือไฟแชนเดอเลียร์งามๆ พร้อมด้วยจานชามเข้าชุดแล้วล่ะก็ ทุกมื้อก็สามารถสร้างบรรยากาศดีๆ ได้ โดยไม่ต้องออกจากบ้านไปเพื่อดินเนอร์ตามร้านอาหาร

อีกลูกเล่นหนึ่งที่ช่วยทำให้การจัดไฟในห้องครัวน่าสนใจขึ้นก็คือ การเน้นแสงไฟตรงจุดที่เป็นโต๊ะอาหารแทนที่จะให้แสงไฟเท่ากันทั่วห้อง โดยใช้ได้ทั้งโคมซาลาเปาหรือโคมไฟตกแต่ง แต่มีข้อควรระวังเล็กๆ น้อยๆ แสงไฟเฉพาะจุดนั้นจะต้องครอบคลุมทุกที่นั่งของโต๊ะ ไม่ใช่สว่างแต่เฉพาะบนโต๊ะเท่านั้น


ห้องนั่งเล่นก็เป็นอีกห้องที่ก็เป็นอีกห้องที่ไฟหลืบสามารถสร้างลูกเล่นที่มีประโยชน์ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะไฟที่ซ่อนไว้เหนือตู้วางของ ไฟดาวน์ไลท์ในห้องนั่งเล่นที่มีเพดานสูง 2.5 เมตร พื้นที่ 20 ตร.ม. จะลงตัวกับหลอดไฟ LED 9-9.5 วัตต์ ประมาณ 4 หลอด ถ้าเป็นตู้ขนาดใหญ่บานกระจกแก้วขนาดใหญ่ การติดไฟเหนือตู้เพิ่มนั้นนอกจากจะช่วยไฮไลท์ข้าวของที่อยู่ในนั้นแล้ว ยังเป็นไฟแบ็กกราวน์ให้กับห้องด้วยอีกทาง ให้ความรู้สึกอบอุ่นไปอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าอยากได้อารมณ์ซอฟท์ๆ แนะนำไฟติดผนังแสงสีขาวหรือสีที่เข้ากับโทนการตกแต่งห้อง

ไฟที่เหมาะกับการตกแต่งห้องนั่งเล่นนั้นมีให้เลือกหลายชอยส์ ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ LED ดาวน์ไลท์, LED Strip Light-RGB, โคมซาลาเปา LED, โคมสปอตไลท์ LED หรือแม้แต่หลอดไฟ LED ธรรมดาตามที่ยกตัวอย่างไป

จากชั้นล่างขึ้นมาชั้นบน อย่ามองข้ามพื้นที่บันไดเชียวนะ เพราะเราสามารถสร้างจุดนำสายตาได้ด้วยการติดตั้งไฟ Strips Light ไว้ด้านใต้หรือด้านข้างของบันได ลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ เพียงเท่านี้นอกจากจะทำให้เห็นทางเดินได้ชัดขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้บ้านดูมีมิติยิ่งขึ้นและไม่จำเจ


มาถึงห้องนอนกันบ้าง การเลือกใช้แสงไฟที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยสร้างผ่อนคลาย ทำให้พักผ่อนได้เต็มที่ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นให้คำนึงถึงพื้นที่และขนาดของห้องเป็นอันดับแรก อย่างเช่นห้องนอนที่เพดานสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดราว 25 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอดไฟ LED 7-7.5 วัตต์จำนวน 4 หลอด ซึ่งทำให้ห้องสว่างกำลังดี ไม่จ้าเกินและไม่มืดไป

ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่แต่งตัวมักจะเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่ก็ต่อเชื่อมกับห้องนอน ซึ่งไฟที่สว่างกว่าจะเหมาะกับพื้นที่สวนนี้ ขณะที่บริเวณที่แสงจากหลอดไฟตกกระทบเตียงนอน จะเหมาะกับหลอดไฟแบบ Softone ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบนุ่มนวล เหมาะแก่การพักผ่อน ซึ่งไฟในห้องนอนทั้งหมดนี้ เราสามารถเลือกให้ลงตัวได้จากโคมซาลาเปา LED, หลอดไฟ LED และแบบ LED Strip-light RGB โดยแมตช์ประเภทของหลอดไฟให้เข้ากับแต่ละส่วนของห้อง


ถ้าไขความลับของการผสมผสานและจัดวางแสงไฟได้เหมาะสมอย่างแล้ว บ้านในฝันของเราก็จะเป็นบ้านที่ครบทั้งประโยชน์ใช้สอย บรรยากาศถูกใจในราคาที่เหมาะสม และมีสไตล์เข้ากับความชอบของเราด้วย

ภาพประกอบจาก Philips และ www.istockphoto.com



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook