กฏหมายที่ควรรู้ ก่อนลงมือ Renovate

กฏหมายที่ควรรู้ ก่อนลงมือ Renovate

กฏหมายที่ควรรู้ ก่อนลงมือ Renovate
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บ้านหรือที่พักอาศัย ซึ่งผ่านการอยู่อาศัยมาแล้ว และหากเจ้าของบ้านต้องการต่อเติมเพิ่มเข้าไปอีก ใช่ว่าการก่อสร้างเพิ่มพื้นที่ทั้งในแนวราบหรือแนวตั้งจะสามารถทำได้ดั่งใจตัวเองเพียงอย่างเดียว เพราะอย่าลืมว่าเราอาศัยรวมกันอยู่ในสังคมที่มีบ้านเรือนแนบชิดใกล้กัน หรือบางหลังก็แทบจะใช้กำแพงร่วมกันอีกด้วย

ดังนั้น จึงมีการตั้งกฏหมายเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเดือดร้อนแก่ผู้คนรอบข้างในกรณีที่เจ้าบ้านต้องการต่อเติมบ้าน หากมือใหม่ที่กำลังตัดสินใจแปลงโฉมหรือที่เราเรียกกันว่า Renovate ทางที่ดีควรศึกษากฏหมายและบอกกล่าวกับเพื่อนบ้านให้เป็นที่รับทราบกันสักหน่อยก็จะดีไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ

 

เริ่มต้นอย่างไรเมื่อต้องการ Renovate
ตามหลักของกฏหมายการสร้างบ้าน (พ.ร.บ.) เรียกการต่อเติมนี่ว่า “การดัดแปลง” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่ม เปลี่ยนแปลง ลด ขยาย เปลี่ยนสัดส่วน น้ำหนัก หรือกระทำการอื่นใดให้บ้านเปลี่ยนไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัดแปลงทั้งสิ้น ดังนั้นตามการควบคุมและเพื่อไม่ให้ต้องมาแก้ไขในตอนหลัง สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ “ขออนุญาต” จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องได้รับอนุญาต โดยมีการยื่นแบบแปลนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ทางพนักงานได้รับทราบ พร้อมด้วยชื่อผู้รับเหมา วิศวกร และสถาปนิกอย่างครบถ้วน

กรณียกเว้นที่ไม่ต้องทำการขออนุญาต
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การรีโนเวทบ้านครั้งใหญ่หรือต่อเติมในสัดส่วนที่มาก จะต้องได้รับการขออนุญาต ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการต่อเติมแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องทำการขออนุญาตให้เสียเวลา ในความเป็นจริงมีบางส่วนที่ถูกยกเว้นไว้ นั่นก็คือการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ไม่เกินไปกว่า 5 ตารางเมตร ไม่ว่าจะในแนวราบหรือแนวสูง โดยจะต้องไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนคานและเสา

 

ส่วนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ในกรณีที่โครงสร้างไม่ได้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผ่านการอัดแรงดัน เหล่านี้ก็ถือว่าสามารถจัดการต่อเติมได้ นอกจากนี้การต่อเติมที่ไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ตัวบ้าน ยกตัวอย่างเช่น หน้าต่าง บานประตู แผ่นหลังคา ฝ้าเพดาน พื้นหรือผนังบ้านเหล่านี้สามารถทำได้ทันที แต่ต้องมีน้ำหนักไม่เพิ่มมากเกิน 10 เปอร์เซ็นของน้ำหนักเดิมด้วย จึงจะถือว่าไม่ผิดกฏหมายตาม พ.ร.บ.

ที่สำคัญเพื่อป้องกันปัญหาความบาดหมางและไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่บ้านข้างเคียง ควรมีการเข้าไปพูดคุย บอกกล่าวให้บ้านบริเวณใกล้เคียงได้รับทราบ และทำการตกลงกันให้เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน ส่วนใครที่เจอเพื่อนบ้าน Renovate แบบไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและสร้างความเดือดร้อนให้ ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาจัดการได้เช่นกันค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook