“ไต้ฝุ่นฮากิบิส” กับวิธีรับมือแบบฉบับคนญี่ปุ่น ที่เราจำไว้ใช้ได้

“ไต้ฝุ่นฮากิบิส” กับวิธีรับมือแบบฉบับคนญี่ปุ่น ที่เราจำไว้ใช้ได้

“ไต้ฝุ่นฮากิบิส” กับวิธีรับมือแบบฉบับคนญี่ปุ่น ที่เราจำไว้ใช้ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แม้แต่คนไทยเองก็สนใจข่าวคราวของไต้ฝุ่นฮากิบิสแบบเกาะติดสถานการณ์ แม้ในบ้านเราจะไม่ต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นบ่อยครั้งเท่าประเทศญี่ปุ่น แต่ในเรื่องของการเตรียมตัวตั้งรับสถานการณ์ไต้ฝุ่นฮากิบิสอย่างเต็มกำลังของชาวญี่ปุ่นนั้นก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่น่านำมาเป็นต้นแบบสำหรับเราได้ในกรณีต้องเผชิญกับช่วงเวลาหรือเหตุการณ์วิกฤต

1.ตกลงกับคนในบ้าน

ก่อนอื่นให้พูดคุยกับคนในบ้านก่อนเลยว่าเมื่อเจอไต้ฝุ่นแล้วเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะติดต่อกันอย่างไร หรือจะพบกันบริเวณไหน

2.ขอแผนที่ภัยพิบัติล่วงหน้า

ที่ญี่ปุ่นจะมีการแจกแผนที่ภัยพิบัติให้กับประชาชน จากนั้นประชาชนจะศึกษาว่าใกล้ๆ กับบริเวณบ้านมีความเสี่ยงจากสิ่งต่างๆ เช่นมีแม่น้ำใกล้บ้านหรือเปล่าเพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม รวมไปถึงพื้นที่ลาดชัน ลาดต่ำต่างๆ

3.ศึกษาอาคาร และถนนหนทางใกล้เคียง

ที่แนะนำให้ทำเช่นนี้เพื่อที่จะแยกแยะได้ว่าจะมีหายนะจากการเกิดแผ่นดินไหว หรือน้ำท่วมฉับพลันหรือไม่ ดังนั้นให้สำรวจทิศทาง และความเร็วของการไหลของน้ำระหว่างเวลาปกติกับเวลาที่ผิดปกติ อีกทั้งยังต้องสำรวจฝาท่อระบายน้ำอีกด้วยว่าปิดสนิทหรือไม่ จดจำตำแหน่งต่างๆ ให้ดีเพราะหากเกิดน้ำท่วมคุณอาจมองไม่เห็นอะไรเลย

4.พูดคุยกับเพื่อนบ้านของคุณ

การทำความรู้จัก พูดคุยกับเพื่อนบ้านของคุณถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะความสัมพันธ์ที่ดีจะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นจะได้ช่วยเหลือได้ทันที โดยเฉพาะหากที่บ้านมีผู้สูงอายุ อาจจะต้องวานกันให้ช่วยดูแล

5.ตรวจสอบข้อมูลผ่านแอป Tenki.jp

อัปเดตสถานการณ์ไต้ฝุ่นเป็นประจำผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อคุณจะได้รับข้อมูลไต้ฝุ่นล่าสุด และยังเป็นแอปพลิเคชั่นที่ให้ข้อมูลค่อนข้างแม่นยำ มีการโพสต์คำเตือนเช่นฝนตกหนัก พายุ การเคลื่อนไหวของเมฆฝน และตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศเป็นประจำ

 6.ตรวจสอบรอบๆ บ้าน

ลองตรวจสอบรอบๆ บ้านของคุณดูว่ามีอะไรที่อาจถูกลมพัดปลิวไปได้บ้าง ต้องทำให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นควรอยู่ในบ้าน หรืออาจเสริมรั้ว สร้างเสาค้ำต้นไม้ในสวนป้องกันการโค่นล้ม

7.เช็กบานหน้าต่าง ประตูอีกครั้ง

เสริมความแข็งแรงให้กับประตูหรือหน้าต่าง เช็กรอยแตกของกระจก รอยร้าวบริเวณหน้าต่าง ประตู นอกจากนั้นอาจใช้เทปกาวเสริมความแข็งแรงให้กับกระจกบริเวณหน้าต่างหรือประตู โดยปิดเทปกาวเป็นแนวกากบาท ปิดผ้าม่านเมื่อช่วงเวลาพายุพัดผ่าน และในเวลานั้นอยู่ให้ห่างจากหน้าต่างมากที่สุด

8.เคลื่อนย้ายของไว้บนที่สูง

ย้ายข้าวของบริเวณชั้นล่างของบ้าน หรือพื้นที่ต่ำขึ้นไปไว้บนที่สูง หรือบ้านชั้นสองเพื่อไม่ให้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมไปถึงถอดปลั๊กออกจากเต้าเสียบต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งย้ายตำแหน่งเต้าเสียบให้อยู่ในที่ที่สูงกว่าเดิม

9.เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิต

สิ่งสำคัญให้เตรียมน้ำดื่มไว้ใช้ นอกจากนั้นให้รองน้ำไว้ในอ่างอาบน้ำ ทั้งยังควรเตรียมสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและต้องอพยพ

10.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คลอง แม่น้ำ ทะเล เนื่องจากไม่แน่ใจว่าคลื่นจะมาตอนไหน

11.อย่าทำงานกลางแจ้ง เพราะอาจเสี่ยงได้รับอันตรายจากลมล้มลงมาจนได้รับอันตราย

12.หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกเมื่อพายุไต้ฝุ่นใกล้เข้ามา

เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุจากฝนตกหนักและลมแรง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ที่ต้องอพยพด้วยรถยนต์เพราะที่ปัดน้ำฝนอาจไม่ทำงานเมื่อน้ำฝนมีปริมาณมากกว่า 20 มม./ชม. รวมถึงมีผลกับระบบเบรกด้วย

>> "ไต้ฝุ่นฮากิบิส" มา “บ้านเก่า” เราก็ห่วง คนญี่ปุ่นดูแลบ้านเก่าอย่างไรเมื่อต้องเจอไต้ฝุ่น

>> เผยภาพความเสียหาย "ฮากิบิส" ถล่มจังหวัดชิบะ ญี่ปุ่น ซ้ำมีรายงานแผ่นดินไหว

>> ด่วน! พิษไต้ฝุ่น "ฮากิบิส" ญี่ปุ่นเตือนภัยฝนตกรุนแรงที่สุด (ระดับ 5)

>> ทาสแมวหายห่วง รัฐบาลสั่งดูแล "เกาะแมว" ต้อนเหมียวหลบภัยพายุไต้ฝุ่นฮากิบิส

 

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook