ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“อกหักมาเหรอ ดื่มน้ำใบบัวบกสิ” ประโยคนี้อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างตามบทละคร หรือในหมู่เพื่อนของเราเมื่อหลายปีก่อน แต่นอกจาก ใบบัวบก จะช่วยแก้ช้ำใจ เอ้ย ช้ำในแล้ว ใบบัวบกยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ไม่ต้องรอให้อกหักก่อนถึงจะกินได้ด้วย

บัวบก ภาษาอังกฤษ คือ Gotu Kola หรือ Centella asiatica เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมและมีการใช้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย บัวบกมีชื่อเสียงในเรื่องของสรรพคุณที่หลากหลาย เช่น การช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ การคิด และการทำงานของระบบประสาท แต่ยังมีสรรพคุณอื่นๆ และผลข้างเคียงที่ผู้ใช้ควรทราบเช่นกัน

ประเภทของใบบัวบก

  1. บัวบกหัว (Stephania Erecta Craib หรือ Menisapermaceae) เป็นพืชที่มักจะขึ้นบริเวณที่มีความชื้นสูง ลักษณะเด่นคือหัวอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ทางยามากที่สุด แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าบัวบกใบ เนื่องจากสรรพคุณในการบำรุงร่างกายน้อยกว่า

  2. บัวบกใบ (Centella Asiatica) เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงด้านสรรพคุณทางยามากที่สุด บัวบกใบเป็นพืชล้มลุกที่ขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น ลักษณะใบกลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบมีสีเขียวสด และมักถูกนำมาใช้ในการทำยา เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

ประโยชน์ของใบบัวบก

  1. ใบบัวบกแก้อาการช้ำใน ลดอาการอักเสบ
  2. ใบบัวบกเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลาเจน และอิลาสติกให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง
  3. บำรุง และรักษาดวงตา และสายตา เพราะใบบัวบกมีวิตามินเอสูง
  4. บำรุงประสาท และสมอง เพิ่มความสามารถในการจำ ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อม
  5. ลดความเครียด และคลายความกังวลได้
  6. แก้อาการปวด เวียนศีรษะ
  7. บรรเทาอาการเจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ
  8. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  9. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  10. บำรุงโลหิต รักษาภาวะโลหิตจาง

ผลข้างเคียงของบัวบก

  1. อาการแพ้ผิวหนัง: บางคนอาจมีการแพ้เมื่อใช้บัวบกทาที่ผิว ทำให้เกิดอาการผื่นแดงหรือคัน ควรทดลองใช้ในบริเวณเล็กๆ ก่อนใช้ทั่วร่างกาย
  2. ปัญหาเกี่ยวกับตับ: การรับประทานบัวบกในปริมาณมาก หรือใช้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งานหากมีปัญหาเกี่ยวกับตับ
  3. ปฏิกิริยาต่อยา: บัวบกอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวกับระบบประสาท หรือยาที่ส่งผลต่อตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
  4. การใช้ในหญิงตั้งครรภ์: ควรหลีกเลี่ยงการใช้บัวบกในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อแม่และทารก
  5. ผลกระทบทางระบบย่อยอาหาร: การรับประทานบัวบกในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรือการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร

วิธีทำน้ำใบบัวบก ดื่มเองที่บ้าน

  1. นำใบบัวบกทั้งต้นมาล้างน้ำให้สะอาด
  2. หั่นต้น และใบบัวบกเป็นท่อนๆ ราว 2-3 ท่อน
  3. นำใบบัวบกมาปั่นรวมกับน้ำเปล่า โดยใส่น้ำเปล่าลงไปให้ท่วมใบบัวบก
  4. กรองเอาแต่น้ำมาดื่ม อาจปรุงรสด้วยน้ำผึ้งได้เล็กน้อยเพื่อลดความขม

วิธีดื่มน้ำใบบัวบก ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ

ดื่มครั้งละ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร อาจดื่มน้ำกว่านี้ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook