ทำความรู้จักกับโรคผิวหนังอักเสบ
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/0/233/health-3.jpgทำความรู้จักกับโรคผิวหนังอักเสบ

    ทำความรู้จักกับโรคผิวหนังอักเสบ

    2015-04-17T15:25:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนเคยเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ เพราะสภาพแวดล้อม ในปัจจุบัน ทำให้เราต้องสัมผัสกับมลพิษและสารเคมี ผิวหนังจึงถือเป็นเกราะป้องกัน ด่านแรกของมนุษย์ ซึ่งจะสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราก่อนเสมอ จึงไม่แปลกที่จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง กลายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ

    ‘นพ.คงศักดิ์ สุนทราภา’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางผิวหนังจาก Skeyndor Clinic สาขาไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ ให้ข้อมูลว่า โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) เป็นคำเรียกรวมโรคที่มีอาการอักเสบใน ชั้นผิวหนัง อาการแสดงมีได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือสาเหตุภายนอกร่างกายและสาเหตุภายในร่างกาย

    สาเหตุภายนอกร่างกาย หรือพูดง่ายๆ คือ การเกิดผื่นจากการสัมผัสสารหรือวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของในชีวิตประจำวัน สารเคมี พืช สัตว์หรือแมลงบางชนิด การเกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส แบ่งได้เป็น 2 กลไก คือ

    1.สารที่สัมผัสก่อความระคายเคืองต่อผิวหนัง จากคุณสมบัติของสารนั้นเอง (Irritant contact dermatitis) เช่น สารที่มีฤทธิ์เป็น กรดหรือด่าง สารที่ใช้ในการชำระล้าง ความระคายเคืองจากสารเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดผื่นได้ไม่เลือกบุคคล ผื่นจะเกิดเมื่อผิวหนังไม่สามารถทนต่อความระคายเคืองจากสารเหล่านั้นได้แล้ว ตัวอย่างเช่น แม่บ้านที่ต้องสัมผัสสารระคายเคืองอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน มักจะมีผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณที่สัมผัสสารบ่อยๆ เช่นมือหรือเท้า เป็นต้น

    2.สารที่สัมผัสก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ก่อให้เกิดการอักเสบในผิวหนัง (Allergic contact dermatitis) ในกรณีนี้ สารตัวหนึ่งจะก่อให้เกิดผื่นเฉพาะในบางคนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบขึ้น หากสวมเครื่องประดับที่มีโลหะผสมนิกเกิล แต่ในขณะที่คนส่วนใหญ่สามารถสวมใส่ได้

    สาเหตุภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) โรคผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis) เป็นต้น ปัจจัยทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บป่วย ความเครียด อาจมีผลให้เกิดการเห่อขึ้นของผื่นผิวหนังอักเสบในโรคกลุ่มนี้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงสามารถมีผื่นเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรังได้ปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะสาร ก่อความระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น สบู่ ผงซักฟอก ก็สามารถกระตุ้นการเห่อของผื่น หรือทำให้ผื่นแย่ลงได้

    ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีอาการเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง ควรจะปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำ การวินิจฉัยโรคและหาสาเหตุ เพื่อการรักษาและ การป้องกันที่เหมาะสมต่อไป