โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอย่างไร และวิธีรักษา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอย่างไร และวิธีรักษา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอย่างไร และวิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ไม่จัดว่าเป็นโรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขา อ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด โดยเซลล์เหล่านี้ มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อมมัน จะค่อยๆ ตายไปในที่สุด ในทางการแพทย์เรียกชื่อ โรคนี้ว่า โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor Neuron Disease; MND) หรือโรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ ไม่มากนัก

อาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โดยในประชากร 100,000 คน จะพบคนป่วยโรคนี้เพียง 4-6 คนเท่านั้น ขณะที่ในประชากร 100,000 คน จะมีโอกาสพบผู้ป่วยรายใหม่เพียง 1.5-2.5 คนต่อปี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้ อยู่ระหว่าง 60-65 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 1.5 เท่า โดยจากประวัติผู้ป่วย โรคเอแอลเอส ร้อยละ 90 ยังไม่พบข้อมูลที่แน่ชัด ว่าโรคนี้เกี่ยวข้องทางพันธุกรรม แต่ที่ผ่านมามักพบ นักกีฬาที่ต้องมีการปะทะป่วยเป็นโรคนี้กันมาก เช่น นักเบสบอล นักฟุตบอล หรือแม้กระทั่งนักมวย

  • ผู้ป่วยเอแอลเอสจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเริ่มอ่อนแรงตามมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใด ข้างหนึ่งก่อน เช่น เดินแล้วล้มบ่อย สะดุดบ่อย ยกแขนไม่ขึ้น กำมือถือของไม่ได้ หยิบจับของเล็กๆ ได้ลำบาก ลุกนั่งลำบาก ใส่รองเท้าแตะแล้ว หลุดง่าย จากนั้นอาการจะเริ่มหนักขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อลีบหรือ กล้ามเนื้อเต้นร่วมด้วย หากเป็นนานเข้าจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก สำลักง่าย พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ แขนขาลีบ แต่จะไม่มี อาการชา ยังสามารถกลอกตาไปมาได้ กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้ตามปกติ และมีสติสัมปชัญญะดี

  • มีหลายรายไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของตัวเอง และปล่อยอาการต่าง ๆ ไว้นาน เพราะคิดว่าเป็นโรคอื่น กว่าจะมาพบแพทย์ก็มีอาการหนักแล้วคือกล้ามเนื้อ อ่อนแรงที่ระบบหายใจ เช่น กระบังลมอ่อนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบ หรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก เพราะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก สุดท้ายจะไม่สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ ไม่สามารถกลืนอาหารและน้ำได้ด้วย ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้อง และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หากอาการหนักมากๆ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด เพราะระบบหายใจ ล้มเหลว เกิดการติดเชื้อในปอดเพราะสำลักน้ำและอาหาร

วิธีการรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอแอลเอส ให้หายขาด โดยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเอแอลเอส โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2 ปี มีประมาณร้อยละ 50 ที่จะมีชีวิต อยู่ได้ราวๆ 5 ปี และมีแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น ที่อาจมีชีวิตอยู่ได้ 8-10 ปี แต่ก็ยังมียาชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับโดยองค์การอาหารและยา แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ไรลูโซล (Riluzole) ให้สามารถใช้กับผู้ป่วยโรคนี้ได้ เพราะยาจะไปออก ฤทธิ์ต่อต้านสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิด หนึ่งที่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของเซลล์

ยาตัวนี้จึงจะไปช่วยลดการทำลายเซลล์ประสาท ในไขสันหลังและสมองได้ แต่ก็ไม่สามารถช่วยทำ ให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงดีขึ้น ทำได้เพียงช่วยยืดอายุของผู้ป่วยออกไปได้อีกราวๆ 3-6 เดือน สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเครียดง่าย เพราะรู้ดีว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงประคับประคองอาการ อีกทั้งยังได้รับความทุกข์ทรมานจากโรค ทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้สมองจะยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับและเข้าใจกับโรคนี้ เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีความสุข ได้มากที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook