ไข้เลือดออก อีก 1 ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม...

ไข้เลือดออก อีก 1 ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม...

ไข้เลือดออก อีก 1 ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม...
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วยกันปกป้องและดูแลคนใกล้ตัวให้ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง

เครดิตภาพโดย Muhammad Mahdi Karim / www.micro2micro.net

เครดิตภาพโดย BaygonThai / https://www.facebook.com/BaygonThai?fref=ts

“โรคไข้เลือดออก” เป็นคำที่เราได้ยินบ่อย ทุกๆ ฤดูฝน ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกทุกปี โดยในปี พ.ศ.  2557 มีผู้ติดเชื้อสูงถึง 40,278ราย และเสียชีวิต 41 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตนี้สูงกว่า ผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนก หรือ H1N1 เสียด้วยซ้ำ

ดังนั้น ไบกอน จึงเล็งเห็นภัยอันตรายของโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาดและคร่าชีวิตคนไทยในทุกๆ ปี จึงออก CSR VDO “บอดี้การ์ดตัวน้อย” (My Little Body Guard) เพื่อรณรงค์กระตุ้นเตือนให้คนไทยหันมาให้ความสนใจและป้อกันโรคนี้กันมากขึ้น

เพราะภายนอกที่ดูแจ่มใสของคนในครอบครัวอาจทำให้เรามองข้ามสุขภาพของเขาไป การดูแลเอาใจใส่สุขภาพของคนในครอบครัวจึงไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องช่วยกันสอดส่อง คนละไม้คนละมือ เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออก การทำความเข้าใจกับโรคนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเรารู้วิธีป้องกัน เราก็จะสามารถปกป้องคุณและครอบครัวโรคไข้เลือดออกได้

บทความจากนี้ จะบอกเล่าถึงสิ่งที่คุณจำเป็นควรรู้ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และวิธีการป้องกัน        

สิ่งแรกที่ควรรู้...ไข้เลือดออกไม่มีวัคซีนป้องกัน...อาการก็ดูเหมือนไข้หวัดธรรมดา

          โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Denque Virus) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงรักษาตามอาการ โรคนี้พบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอากาศร้อนชื้น แพร่ระบาดโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไวรัสเดงกี่จะเพิ่มจำนวนในตัวของยุงลายหลังจากที่มันกัดผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่ออกไป เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดคนอื่นๆ

(My Little Bodyguard - https://www.youtube.com/watch?v=lXRLO1myhrA)

        ในเบื้องต้น ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วๆไป เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว แต่ผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกจะไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส หน้าแดง ในบางรายอาจมีผื่น หรือจ้ำเลือดตามตัว เลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นสีดำ ชีพจรเต้นเบา แต่เร็ว ตัวเย็น ซึ่งอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็วตามอุณหภูมิร่างกายที่ลดลง หากสังเกตว่าบุตรหลานหรือคนใกล้ตัวมีไข้สูงนานกว่า 3 วัน หรือมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก ห้าม รับประทานยาแอสไพริน หากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ให้รับประทานยาลดไข้ชนิดอื่น เช่นพาราเซตตามอล หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์

ภาวะโลกร้อนทำพิษ ยุงลายพิ่มจำนวนขึ้น และออกหากินทั้งวันทั้งคืน

          ไม่ใช่ยุงทุกชนิดจะออกหากินยามค่ำคืน ยุงลายเป็นหนึ่งในยุงหลายชนิดที่เริ่มออกหากินในเวลาเช้าถึงค่ำ ยุงลายชอบเลือดมนุษย์มากกว่าเลือดสัตว์ชนิดอื่น จึงมักวนเวียนอยู่ตามบ้านคน ในบริเวณที่ชื้นและมืด เช่น สถานที่เล่นซ่อนแอบของเด็กๆ ใต้โต๊ะ ใต้เตียง ในสวน  ผลจากภาวะโลกร้อนยังส่งผลในวงจรชีวิตของยุงลายเปลี่ยนไป ทั้งฟักตัวและลอกคราบเร็วกว่าเดิม  ทำให้ปี 2558 นี้ยุงลายมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 

 กำจัดลูกน้ำ และป้องกันแมลง เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม

โรคไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ และแม้เคยเป็นแล้วหนึ่งครั้ง ก็อาจเป็นซ้ำด้วบไข้เลือดออกสายพันธุ์อื่น เมื่อเป็นไข้เลือดออกควรบอกเพื่อนบ้านและคนรอบตัวให้ระวังการระบาดด้วยการกำจัดยุงหลายให้พ้นบริเวณบ้านด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้...

  • กำจัดภายชนะที่มีน้ำขัง ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของลูกน้ำยุงลาย หากเป็นอ่างปลา หรือภาชนะเก็บน้ำ ให้ใช้ทรายอะเบตเทใส่ในน้ำในสัดส่วนไม่เกิน 1 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร

(ภาพโดย Hans – Pixabay.com)

  • พ่นสเปรย์กำจัดแมลงตามมุมที่อับชื้นของบ้าน เลือกสเปรย์ที่ออกฤทธิ์นาน ไม่ต้องฉีดซ้ำบ่อย
  • ติดมุ้งลวด กางมุ้ง หรือใช้เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า ควรเสียบปลั๊กเครื่องไล่ยุงตอนก่อนนอน และถอดออกในตอนเช้า เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

  • ใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเมื่ออยู่กลางแจ้ง หลีกเลี่ยงชุดสีดำหรือน้ำเงินเข้ม เพราะเป็นสีที่ดึงดูดยุง
  • ใช้โลชั่นหรือสเปรย์ไล่ยุง การป้องกันแบบนี้ทำได้ทุกที่ เพียงให้พกติดกระเป๋าไว้ หากเป็นเด็กให้เลือกน้ำมันตะไคร้หอมที่ไม่มีอันตราย

แค่เราเข้าใจ และตระหนักในความสำคัญของปัญหา เราก็เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับโรคไข้เลือดออก และสร้างอนาคตที่ปลอดไข้เลือดออกให้กับประเทศไทยได้

ขอบคุณข้อมูลจาก:

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

http://www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/Dengue/2557/สถานการณ์%20DHF%2052_57.pdf 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/102/โรคไข้เลือดออก

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook