อาการผีอำคืออะไรในทางวิทยาศาสตร์

อาการผีอำคืออะไรในทางวิทยาศาสตร์

อาการผีอำคืออะไรในทางวิทยาศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการผีอำ อาการที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าเราไม่สามารถขยับตัวได้ ตามความเชื่อกล่าวกันว่าเกิดจากวิญญาณ ผี พลังงานบางอย่างมากดทับตัวเราไว้ แล้วในทางวิทยาศาสตร์มีคำอธิบายว่าอย่างไรไปดูกันเลย

ผีอำ (Sleep Paralysis)

มารู้จักอาการนี้ให้มากขึ้นอีกสักนิด เริ่มจากนิยามจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความว่า

“ผีอำ คืออาการที่ปรากฏเมื่อเวลานอนเคลิ้มไปว่ามีคนปลุกปล้ำหรือยึดคร่าให้มีอาการเหนื่อยหอบจนตื่นขึ้น”

มีคนสงสัยว่าอาการผีอำมีเฉพาะประเทศไทยรึเปล่า คำตอบคือ ไม่ ทั่วโลกมีอาการนี้เช่นกันโดยฝั่งยุโรปก็อาจจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผี ปีศาจ

ดูน่ากลัวใช่ไหม แต่ความเป็นจริงอาการนี้อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ โดยในทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า Sleep Paralysis อธิบายถึง ภาวะที่ร่างกายรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ มักเกิดช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น แบ่งได้สองแบบคือ

  1. ช่วงใกล้หลับ (Predormital Sleep Paralysis)
  2. ช่วงใกล้ตื่น (Postdormital Sleep Paralysis)

ส่วนใหญ่มักเกิดช่วงใกล้ตื่นนอน ระยะเวลาที่เกิดก็ประมาณ 5-10 นาที อาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากคนที่อดนอน นอนผิดเวลา นอนน้อย นอนท่าหงาย นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตได้ เช่น อาการเครียด การใช้ยาบางชนิด

ป้องกันผีอำอย่างไรดี?

  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • นอนตรงเวลา
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หากมีอาการเหนื่อยให้รีบเข้านอน
  • ผ่อนคลายตนเองก่อนเข้านอน เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ
  • เปลี่ยนท่านอนให้นอนตะแคงหรือนอนคว่ำแทนการนอนหงาย
  • ออกกำลังเป็นประจำแต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน
  • จัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและใช้ที่ปิดตา หรือผ้าม่านทึบเพื่อป้องกันแสงสว่างจากภายนอกรบกวนเวลานอน

สรุปแล้วอาการผีอำเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ สาเหตุหลักๆ มาจากเรื่องปัญหาการนอน วิธีแก้ก็พักผ่อนให้เพียงพอเท่านั้น หากมากเข้าก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ iNN

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook