ปวดคอเรื้อรัง ระวังโรค "หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท"

ปวดคอเรื้อรัง ระวังโรค "หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท"

ปวดคอเรื้อรัง ระวังโรค "หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เกิดได้ทั้งกระดูกสันหลังที่คอและเอว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรง แม้ในบางรายอาจจะไม่มีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความเจ็บปวดและทุกทรมานให้กับผู้ป่วย ซึ่งมักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังบริเวณคอและเอว เนื่องจากเป็นกระดูกไขสันหลังส่วนที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด 

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

สาเหตุสำคัญของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท คือ ความเสื่อมของกระดูกไขสันหลังและหมอนรองกระดูก ซึ่งจะพบในผู้สูงอายุเป็นหลัก แต่ในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีการใช้งานของกระดูกสันหลังบริเวณดังกล่าวมากเกินไป หรือท่าทางในการใช้งานไม่ถูกต้อง เช่นการก้มยกของหนัก การออกกำลังกายแบบหักโหม การสั่นหรือโยกศีรษะมากเกินไป หรือความผิดปกติของหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เป็นต้น ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจะพบว่ามีการกดที่บริเวณไขสันหลังร่วมด้วยได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงหรือรุนแรงถึงขั้นอัมพาตได้  

อาการของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โดยเฉพาะจากโรคกระดูกคอเสื่อม เมื่อเกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ บางครั้งจะมีอาการปวดร้าวไปที่บริเวณปลายนิ้วข้างใดข้างหนึ่ง หรือเป็นทั้งสองข้างได้ และหากมีอาการกดเบียดมากขึ้นหรือรุนแรง อาจจะมีการกดประสาทไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดชาหรืออ่อนแรงของทั้งแขนและขาร่วมด้วยได้ เมื่อมีอาการต้องสงสัย ประสาทศัลยแพทย์ก็จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเอกซเรย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุ เมื่อพบว่ามีการกดทับเส้นประสาทก็จะพิจารณาให้การรักษาไปตามสาเหตุและระดับความรุนแรง กรณีผู้ป่วยมีอาการไม่มากหรืออาการไม่รุนแรง อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาบรรเทาอาการ พักผ่อน ลดการเคลื่อนไหวและการทำกายภาพบำบัด แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ตรวจพบว่ามีการกัดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ก็จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด

ในปัจจุบันสถาบันประสาทวิทยา มีเทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้อง และการผ่าตัดแบบเปิดแผลขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง และสามารถฟื้นตัวกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันหรือทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคระบบประสาทไขสันหลังดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคดังกล่าว สามารถเข้ารับการตรวจรักษาที่สถาบันประสาทวิทยา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook