รู้จักโรค พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) โรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจสุกร

รู้จักโรค พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) โรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจสุกร

รู้จักโรค พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) โรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจสุกร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จักโรคไวรัสที่ระบาดในหมูล่าสุด ต้นเหตุของการประกาศเขตโรคระบาดในหมู่บ้านโคกข้าวเหนียว และหมู่บ้านหนองคล้า ต.หนองหว้า อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา

 
โรค พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) คืออะไร?

น.สพ.ตระการศักดิ์ แพไธสง ระบุว่า โรคพีอาร์อาร์เอส หรือ Porcine reproductive and respiratory syndrome เป็นกลุ่มอาการของโรค ในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร ทําให้แม่สุกรแท้ง ลูกตายแรกคลอดสูง อัตราการผสมติดต่ำ ลูกสุกรแคระแกร็น โตช้า ติดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนได้ง่าย จึงเป็นโรคที่สร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

 
สาเหตุของโรคพี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส PRRS virus ในตระกูล Arteriviridae เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส แบ่งได้เป็นสองสายพันธุ์คือ 

สายพันธุ์ยุโรป และสายพันธุ์อเมริกา ในประเทศไทยพบการติดเชื้อทั้งสองสายพันธุ์ 

 
อาการของโรคพี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) ในสุกร

เชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายของสุกรป่วยทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ และน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถติดต่อหรือแพร่ไปยังสุกรตัวอื่นๆ ได้โดยการกินหรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่าน อากาศที่หายใจหรือผ่านทางวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ การจัดการฟาร์ม และสุขภาพของสุกรในฝูง 

กลุ่มสุกรแม่พันธุ์ มักจะมีอาการมีไข้เบื่ออาหาร ทําให้เกิดอาการแท้งโดยเฉพาะในระยะท้ายของการตั้ง ท้องหรือลูกตายแรกคลอดสูง อัตราการผสมติดต่ำ

กลุ่มสุกรพ่อพันธุ์ จะทําให้คุณภาพน้ำเชื้อลดลง อัตราการผสมติดต่ำ

กลุ่มสุกรดูดนม สุกรอนุบาล และสุกรขุน มักจะก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ แคระแกร็น โต ช้า และทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย 

ความรุนแรงของโรคจะลดลงเมื่อสุกรอายุมากขึ้น สุกรที่มีอายุมากกว่า 1 เดือนจะแสดงอาการไม่เด่นชัดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน

 
การรักษาโรคพี อาร์ อาร์ เอส (PRRS) ในสุกร

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษา การให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน การให้ยาลดการอักเสบและลดไข้ในแม่สุกรจะช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกําหนด

 
การป้องกัน และควบคุมโรคพี อาร์ อาร์ เอส (PRRS)

การป้องกันและควบคุมโรคพีอาร์อาร์เอส จะต้องนําหลายๆ มาตรการมาใช้ร่วมกัน ได้แก่

  1. มีการจัดการฟาร์มและสุขาภิบาลที่ดี โดยเน้นการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ได้แก่องค์ประกอบของฟาร์ม การจัดการระบบขนส่ง การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี

  2. สุกรสาวทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส ก่อนนําเข้าร่วมฝูงต้องมีระยะ พักในโรงเรือนแยกต่างหากเพื่อเตรียมพร้อมและปรับสภาพอย่างน้อย 2 เดือน

  3. ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส ทั้งชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตายสําหรับใช้ในการควบคุมโรค แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนยังให้ผลไม่แน่นอน ดังนั้นจึงควรเน้นเรื่องการจัดการฟาร์มเป็นหลักในการควบคุม ป้องกันและลดการสูญเสีย เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook