"เนื้องอกกระดูก" กับสัญญาณอันตรายที่สามารถตรวจพบได้

"เนื้องอกกระดูก" กับสัญญาณอันตรายที่สามารถตรวจพบได้

"เนื้องอกกระดูก" กับสัญญาณอันตรายที่สามารถตรวจพบได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื้องอกกระดูก คืออะไร?

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื้องอกกระดูก คือ ภาวะที่เซลล์ของกระดูกมีการแบ่งตัว เจริญเติบโตผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กระดูกถูกทำลายไป หรือมีก้อนโตขึ้นอย่างผิดปกติ

 

เนื้องอกกระดูกมีกี่ชนิด

เนื้องอกชนิดธรรมดา (ไม่ร้าย) ที่เกิดภายในกระดูก แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 เนื้องอกมีขนาดเล็ก ไม่มีอาการปรากฏ ติดตามดูอาการก่อนได้

  • ระยะที่ 2 เนื้องอกเริ่มทำลายกระดูกบางส่วน มีอาการปวดตามตำแหน่ง

  • ระยะที่ 3 เนื้องอกทะลุกระดูกออกมาภายนอกกล้ามเนื้อและเป็นก้อนโตขึ้น ซึ่งจะทำให้ปวดรุนแรงขึ้น

ส่วนเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็งของกระดูกยังแบ่งได้เป็นสองชนิด

  • ชนิดแรก มีต้นกำเนิดโรคจากตำแหน่งอวัยวะอื่น แต่แพร่กระจายมายังกระดูก เช่น จากปอด ตับ หรือเต้านม เป็นต้น มักเป็นในผู้ป่วยในอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีประวัติเป็นโรคมะเร็งอื่นมาก่อน อาการที่พบได้แก่ ปวด หักง่ายแม้เป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย กระดูกผิดรูป หรือคลำเจอก้อนเป็นต้น

  • ชนิดที่สอง คือมะเร็งที่ตั้งต้นในกระดูกเอง พบบ่อยในกระดูกรอบๆเข่าหรือสะโพก มักมีอาการปวดและมีก้อนโตชัดเจน มักจะพบในผู้ป่วยช่วงอายุ 10-20 ปี

 

อาการทางอ้อม จากเนื้องอกกระดูก

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บางกรณีอาจพบอาการทางอ้อม เช่น

  • ระดับแคลเซียมในเลือดสูง

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ผอมแห้ง น้ำหนักลด

  • เป็นไข้

ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบในมะเร็งกระดูกที่แพร่กระจายจากอวัยวะอื่นหรือมะเร็งของไขกระดูก

 

การรักษาเนื้องอกกระดูก

การรักษาเนื้องอกกระดูกในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมาก ประกอบด้วย

  1. การผ่าตัด เพื่อนำก้อนเนื้องอกออก และทดแทนด้วยโลหะหรือกระดูกบริจาคเพื่อเสริมสร้างข้อต่อให้กลับมาใช้งานดังเดิมหรือใกล้เคียงเดิม หรือดามกระดูกเพื่อป้องกันการหักในผู้ป่วยบางราย

  2. เคมีบำบัด ให้เพื่อลดขนาดก้อนและทำลายเซลล์มะเร็ง

  3. รังสีรักษา ใช้ในผู้ป่วยที่มีการกระจายของโรคไปที่กระดูกหลายๆแห่ง เมื่อเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ และมาพบแพทย์ตามนัดหมายต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook