ทำความรู้จักกับค่าเหยียบแผ่นดิน มีประเทศไหนทำกันบ้าง?

ทำความรู้จักกับค่าเหยียบแผ่นดิน มีประเทศไหนทำกันบ้าง?

ทำความรู้จักกับค่าเหยียบแผ่นดิน มีประเทศไหนทำกันบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดเผยว่า ในวันที่ 1 เมษายน 2565 จะเป็นวันดีเดย์เริ่มเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคนละ 300 บาท 

โดยเงินในส่วนนี้จะถูกนำไปใส่ในกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ 2562 ฉบับปรับปรุง และจะนำเงินในส่วนนี้มาใช้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและทำประกันให้กับนักท่องเที่ยว

ซึ่งมีการแจกแจงการใช้เงินค่าเหยียบแผ่นดินจำนวน 300 บาท ต่อคนไว้ดังนี้

1.เก็บ 50 บาท เพื่อนำไปซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว

2.ส่วนที่เหลือ 250 บาทนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่นการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น

สำหรับรูปแบบการเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินนั้น ทาง ททท. ได้ประสานกับทางสายการบินต่างๆ ให้จัดเก็บเงินส่วนนี้รวมกับค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการเรียบร้อยทุกสายการบินในช่วงเดือนมีนาคม 2565 นี้

คาดว่าการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนี้จะมีรายได้ในส่วนนี้เข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งคำว่าค่าเหยียบแผ่นดินนี้ อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าใดนักสำหรับประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วค่าเหยียบแผ่นดินนั้นถูกเรียกเก็บในหลายๆ ประเทศ แต่จะมาในรูปแบบที่รวมกับค่าตั๋วเครื่องบิน หรือค่าห้องพักไปแล้ว ส่วนจะมีประเทศไหนที่มีการเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินกันบ้างลองไปดูกันครับ

1.สหรัฐอเมริกา

หลายๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา มีการเก็บภาษีการเข้าพัก ทั้งในโรงแรมขนาดเล็กและโรงแรมขนาดใหญ่ โดยมีอัตราการเรียกเก็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอัตราเรียกเก็บที่สูงที่สุดถึง 17% เลยทีเดียว

2.ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นมีการเรียกเก็บภาษีซาโยนาระ โดยจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1,000 เยน (300 บาท) ที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเมื่อเดินทางออกนอกประเทศ 

3.เยอรมันนี

เยอรมันนีมีการเรียกเก็บภาษีวัฒนธรรมและภาษีเตียง ในเมืองใหญ่ต่างๆ โดยจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 5% จากบิลของโรงแรม

4.สวิตเซอร์แลนด์

ภาษีที่ถูกเรียกเก็บของนักท่องเที่ยวจะแตกต่างกันออกไปตามโลเคชันของที่พัก ยิ่งที่พักเล็กก็จะยิ่งถูกเก็บในราคาถูกลง โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 2.50 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 90 บาท)

5.สเปน

สถานที่บางแห่งในสเปนนักท่องเที่ยวจะถูกเรียกเก็บภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวประมาณ 4 ยูโร (150 บาท) ต่อคน ต่อวัน 

6.กรีซ

การเก็บภาษีนักท่องเที่ยวในกรีซจะอิงตามจำนวนดาวของโรงแรมที่นักท่องเที่ยวเข้าพักและจำนวนห้องที่เช่า มีตั้งแต่ 0.5 ยูโร - 4 ยูโร (ประมาณ 19 - 125 บาท) ต่อห้อง

7.มาเลเซีย

มาเลเซียเรียกเก็บค่าภาษีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ริงกิตมาเลเซียต่อคน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 81 บาท

8.อินโดนีเซีย

อีกหนึ่งประเทศที่มีการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว โดยในเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว 10 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 330 บาท)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook