สายเที่ยวไม่ควรพลาด พาชมความงดงามเส้นทางสายประวัติศาสตร์พันปี

สายเที่ยวไม่ควรพลาด พาชมความงดงามเส้นทางสายประวัติศาสตร์พันปี

สายเที่ยวไม่ควรพลาด พาชมความงดงามเส้นทางสายประวัติศาสตร์พันปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากพูดถึงการท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ หรือ การท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ประเทศจีนคงเป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่นักเดินทางอยากไปสัมผัสสักครั้ง เพราะด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทำให้มีเรื่องราวให้ได้ศึกษากันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สำหรับการเดินทางครั้งนี้ Sanook! Travel ไปตามรอยประวัติศาสตร์พันปีที่ มณฑลเหอหนาน โดยเดินทาง ด้วยสายการบินไทยสมายล์ ซึ่งมีไฟล์บินตรงจากกรุงเทพ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติเจิ้งโจว ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองของมณฑลเหอหนาน แถมยังมีไฟล์บินดึก (ซึ่งจะถึงเช้าพอดี) ทำใหเ้รามีเวลาเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกเยอะ

เมื่อเครื่องบินลงจอด เราเริ่มต้นทริปทันทีที่เมืองไคฟง เมืองเก่าแก่ที่เคยเป็นเมืองหลวงในหลายรัชกาล ที่แห่งนี้มีโบราณวัตถุ โบราณสถานให้ได้ศึกษามากมาย อาทิ ศาลเจ้าเปาบุ้นจิ้น ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 เป็นสถานที่ในการพิพากษาคดีของเปาบุ้นจิ้นขุนนางที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ภายในจำลองศาลที่ว่าความสมัยนั้น รวมถึงมีเครื่องประหารหัวมังกร หัวพยัคฆ์ หัวสุนัข ซึ่งท่านเปาได้ใช้ลงโทษเหล่าราชวงศ์ขุนนางและราษฎรที่ได้กระทำผิด

เครื่องประหารทั้ง 3 หัวที่เราเคยเห็นในทีวี คือเรื่องจริงนะครับ ส่วนจั่นเจาไม่มีอยู่จริงเป็นตัวละครสมมุติขึ้นเพื่ออรรถรสในการรับชมเท่านั้น

ภายในศาลไคฟง สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี

ภาพวาดท่านเปา น่าเกรงขามมากครับ

จุดต่อไปที่จะพามาชมคือ ศาลามังกรหลงถิง ที่แห่งนี้อดีตเป็นสวนดอกไม้ของพระราชวงศ์ซ่ง ต่อมาในสมัยพระเจ้าคังซีแห่งราชวงศ์ชิงปี ค.ศ. 1692 ได้สร้างเก๋ง(ศาลา)จีนบนดอย เมื่อวันเกิดของฮ่องเต้ พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของเมืองไคฟงจะพากันมาจัดพิธีที่นี่ ในเก๋งวางแท่นหินแกะสลักมังกร เล่ากันว่าเป็นที่นั่งของเจ้าควางอิ่นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ซ่ง เก๋งสร้างโดยการออกแบบของพระราชวังปักกิ่ง หลังคาสองชั้นตกแต่งอย่างสวยงาม

ประตูทางเข้าออกแบบอย่างสวยงามด้วยศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของจีน

แท่นหินที่ถูกแกะสลักเป็นลวดลายมังกรอยู่ด้านบนสุดในเก๋งมังกร

ภาพมุมสูงมองจากศาลามังกรหลงถิง

หลังจากชมความความยิ่งใหญ่และงดงามของเก๋งมังกร บริเวณไม่ไกลนักมีสถานที่สำคัญอีกแห่งคือ ศาลเจ้าขุนศึกตระกูลหยาง ซึ่งที่แห่งนี้บรรจุเรื่องราวของตระกูลนักรบให้ได้ศึกษามากมาย

บริเวณประตูทางเข้า ศาลเจ้าขุนศึกตระกูลหยาง

รูปปั้นหยางเย่ กับ หยางฟู่เหยิน ภายในศาลเจ้าขุนศึกตระกูลหยาง

หุ่นขี้ผึ้งนักรบตระกูลหยาง

ข้ามเมืองไปที่ เติงฟง เมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ กันบ้าง เมืองเติงฟง เป็นที่ตั้งของสถานที่ที่ขึ้นชื่อ ในด้านศิลปะมวยจีน หรือที่ทุกคนคุ้นหูกันในชื่อ วัดเส้าหลิน วัดพุทธนิกายมหายานในประเทศจีน มีชื่อเสียงอย่างมากเนื่องจากปรากฏในนิยายกาลังภายในจีนหลายเรื่อง วัดเส้าหลินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน ก่อตั้งโดยภิกษุชาวอินเดียนามว่า “พระโพธิธรรม” ซึ่งเป็นผู้นาพุทธศาสนานิกายเซนเข้ามา พร้อมการฝึกฝนศิลปะการป้องกันตัวที่รู้จักกันดีในนาม “กังฟู” ภายในในวัดมีวิหารสหัสพุทธ สถานที่ประดิษฐานประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต รวม 1,000 องค์

สัญญลักษณ์ด้านหน้า แสดงว่าเรามาถูกที่แล้ว

บรรยากาศภายในวันวัดเส้าหลิน สงบ ร่วมรื่น อากาศดีมากๆ ครับ

รูที่เห็นคือการฝึกโดยใช้นิ้วของศิษย์วัดเส้าหลินครับ

เดินเท้ามาสักครู่จะเจอกับ ป่าเจดีย์ หรือ ถ่าหลิน สถานที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสของวัดเส้าหลิน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีการแสดงกังฟูจากเด็กนักเรียนอีกด้วย

 

จุดนี้ไม่ควรถ่ายภาพเซลฟี่ เพราะภายในบรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสเอาไว้ ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมครับ

นักเรียนจากวัดเส้นหลินกำลังโชว์ความสามารถ เก่งกันทุกคนจนต้องปรบมือให้เลยครับ

สำหรับ ถ้ำผาหลงเหมิน เป็น 1 ใน 3 แหล่งปฏิมากรรมโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยเว่ยเหนือ ค.ศ. 494 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง บูรณะ และต่อเติมยาวนานถึง 400 ปี จนถึงยุคราชวงค์ถังและซ่ง มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันยังคงหลงเหลือถ้าผาแกะสลักอยู่ จำนวน 2,100 กว่าคูหา โพรงแท่นบูชา 2,345 ช่องศิลาจารึกสลักอักษรจีนและหมายเหตุบันทึกต่างๆ อีก 3,600 กว่าหลัก รวมถึงเจดีย์พุทธ 50 กว่าแห่ง พระพุทธรูปสลักมากกว่า 100,000 องค์ องค์ใหญ่สูงสุด 17 เมตร องค์เล็กสุดเพียงแค่ 2 ซ.ม. ถ้าผาหลงเหมินขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2543

พระพุทธรูปสลักที่ใหญ่ที่สุด อีกหนึ่งจุดไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด

สังเกตดีๆ จะเห็นมีพระพุทธรูปต่างๆ ถูกสลักอยู่ในช่อง แต่มีบางส่วนถูกทำลายไป

สวยงามและยิ่งใหญ่จริงๆ ครับ มีโอกาสอยากให้ได้เห็นด้วยตาตัวเอง

ศาลเจ้ากวนอู ศาลเทพเจ้ากวนอูที่นี่ คือ 1 ใน 3 ศาลเจ้ากวนอู ที่คนจีนเคารพศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้ เนื่องจากเป็นที่ฝังศีรษะของกวนอู ภายในศาลเจ้าประกอบไปด้วยตำหนักสามตำหนัก ตำหนักหลักของศาลเจ้ากวนอูตั้งอยู่ภายใน ระยะทางผ่านจากประตูใหญ่เข้าไป ประมาณ 50 เมตร มีสิงโตหินจานวน 104 ตัวเรียงรายสองข้างทาง ที่บริเวณตาหนักใหญ่ มีรูปปั้นกวนอูขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้คนที่เคารพนับถือสักการบูชา ตำหนักที่สอง หันหน้าไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลัวหยาง ตามเรื่องของสามก๊ก กวนอูแพ้สงครามจึงถูกจับตัดหัว เพื่อยุให้โจโฉและเล่าปี่เกลียดแค้นกัน ซุนกวนได้นำศีรษะของกวนอูส่งไปให้โจโฉ โจโฉซึ่งชื่นชอบในตัวกวนอู ได้นำศีรษะของกวนอูไปฝังอย่างสมเกียรติ

กวนอูเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์

สิงโตหินถูกวางเรียงราย ก่อนเข้าถึงภายในศาลเจ้ากวนอู 

ประตูด้านหลังยังคงสวยงาม

สถานที่สุดท้าย อุทยานหยุนไถซาน อุทยานที่สวยงามที่สุดของมณฑลเหอหนาน มีความงดงามระดับ 5A (ความงามของธรรมชาติสูงสุด) อุทยานธรรมชาติแห่งนี้ถูกสร้างอย่างงดงาม ภายในมีน้ำตก สามารถมองเห็นเมฆและหมอกลอยบนยอดเขาตลอดปี โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสีจะเต็มไปด้วยสีสันของใบไม้หลากสีสวยงามเต็มพื้นที่อุทยาน นอกจากนี้ตลอดเส้นทางยังผ่านจุดที่เป็นแอ่งน้ำ น้ำตก และ สะพานข้ามลำธาร ซึ่งต้องบอกว่าสวยงามเหมือนภาพในฝัน

เสียงจิ้งหรีดร้องระงมมาก บ่งบอกได้ว่าธรรมชาติยังที่นี่สมบูรณ์มากๆ (อยากเก็บเสียงมาให้ฟังจังครับ)

การเดินทางเที่ยวชมที่นี่จะเป็นลักษณะคล้ายการเดินวนไปออกอีกทางครับ ซึ่งเราจะได้ชมความงามของธรรมชาติตลอดเส้นทางเดิน ผมลองวัดระยะทางรวมทั้งหมดราว 4 กิโลเมตรได้ครับ

เมื่อเดินมาสุดทางจะพบกับ น้ำตกด้านบน ที่ไหลลดหลั่นลงมา

สิ้นสุดการเดินทางแล้วครับ

หากใครอยากท่องเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์จีน มณฑลเหอหนาน เป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเมืองแห่งนี้บันทึกเรื่องราวในอดีตไว้มากมาย รอเวลาที่นักเดินทางอย่างคุณก้าวเท้ามาสัมผัสเรื่องราวในอดีต ที่สำคัญการเดินทางในปัจจุบันยังสะดวกสบาย เนื่องจากมีสายการบินไทยสมายล์ เปิดเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-เจิ้งโจว และเที่ยวบิน เจิ้งโจว-กรุงเทพฯ จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวได้ง่ายขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูล

อัลบั้มภาพ 51 ภาพ

อัลบั้มภาพ 51 ภาพ ของ สายเที่ยวไม่ควรพลาด พาชมความงดงามเส้นทางสายประวัติศาสตร์พันปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook