หญิงสุขภาพดี ช็อกจู่ๆ เจอมะเร็งตับ หมอชี้ต้นเหตุขนลุก "สิ่งที่ทาขนมปัง" หลายคนชอบกิน!

หญิงสุขภาพดี ช็อกจู่ๆ เจอมะเร็งตับ หมอชี้ต้นเหตุขนลุก "สิ่งที่ทาขนมปัง" หลายคนชอบกิน!

หญิงสุขภาพดี ช็อกจู่ๆ เจอมะเร็งตับ หมอชี้ต้นเหตุขนลุก "สิ่งที่ทาขนมปัง" หลายคนชอบกิน!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกเคสช็อก หญิงสุขภาพดี จู่ๆ เป็นมะเร็งตับ รู้ต้นเหตุขนลุก "สเปรด" ทาขนมปัง ที่กินแทบทุกเช้า

ดร.หลิว ป๋อเหริน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและโภชนาการจากไต้หวัน เปิดเผยกรณีของหญิงรายหนึ่งซึ่งสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีประวัติติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี แต่กลับตรวจพบมะเร็งตับระยะลุกลามที่มีการแพร่กระจายไปยังปอด หลังจากเข้ารับการตรวจเพราะมีอาการแน่นท้อง

เมื่อตรวจสอบประวัติ พบว่าผู้ป่วยรายนี้รับประทาน "ขนมปังทาเนยถั่ว" เป็นประจำทุกเช้า ต่อเนื่องมานานกว่า 20 ปี ซึ่งแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากเนยถั่วที่ทำจากถั่วลิสง มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่ซ่อนอยู่ในอาหารขึ้นรา

อะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งระดับที่ 1 ตามการจัดอันดับขององค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเชื้อราที่ผลิตสารชนิดนี้ ได้แก่ เชื้อราแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus flavus) ซึ่งเติบโตได้ดีในอาหารที่มีแป้งสูง เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด และธัญพืชอื่นๆ เมื่อถูกเก็บไว้ในที่ร้อนชื้นหรืออับอากาศ

หลายคนเชื่อว่าการล้างหรือตัดส่วนที่ขึ้นราของอาหารออก แล้วนำไปปรุงด้วยความร้อนจะสามารถกำจัดพิษได้ แต่ในความเป็นจริง สารอะฟลาท็อกซินมีความทนทานสูง และไม่สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อนทั่วไป แม้ที่อุณหภูมิเดือดถึง 100 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่านั้นก็ตาม หากจะลดปริมาณได้จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงถึง 1500–2000 องศา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในครัวเรือนทั่วไป

เนยถั่วคุณภาพต่ำ เสี่ยงมะเร็งโดยไม่รู้ตัว หากถั่วลิสงหรือวัตถุดิบที่ใช้ทำเนยถั่ว หากมีเชื้อราหรือเสื่อมสภาพ จะมีความเสี่ยงปนเปื้อนสารพิษชนิดนี้ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่า กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสามารถลดระดับอะฟลาท็อกซินได้ถึง 89%

ดังนั้น การเลือกซื้อเนยถั่วจึงควรพิจารณาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ตรวจสอบวันหมดอายุ และสภาพของผลิตภัณฑ์ หากพบว่าเนยถั่วมีลักษณะแห้งแข็ง กลิ่นเปรี้ยว หรือสีเปลี่ยนจากเดิม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค

ทั้งนี้ นอกจากถั่วลิสงและข้าวโพดแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซิน ได้แก่

  • เมล็ดพืชที่มีรสขม: เช่น เมล็ดทานตะวัน หากกินแล้วรู้สึกขม ควรบ้วนทิ้งทันที เพราะรสขมอาจมาจากสารพิษที่เชื้อราสร้างขึ้น

  • เห็ดหูหนูแช่น้ำนาน: หากเก็บไว้นานโดยไม่มีการควบคุมความชื้น อาจเกิดเชื้อราและสร้างสารพิษได้ สังเกตได้จากจุดสีเหลือง ดำ หรือเขียว และกลิ่นแปลก

  • ข้าวหรือผลไม้ขึ้นรา: ข้าวสารที่เก็บไม่ดีอาจเกิดรา และหากหุงกินโดยไม่แยกเมล็ดที่เสียออก อาจเป็นอันตราย เพราะสารพิษไม่ถูกทำลายด้วยการต้มปกติ

ข้อแนะนำในการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากอะฟลาท็อกซิน ควรเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หลีกเลี่ยงการเก็บอาหารในที่อับชื้น หมั่นตรวจสอบสภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปปรุงอาหาร และทิ้งอาหารที่มีลักษณะผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย เพราะเพียงแค่เศษเล็กน้อยของเชื้อราก็อาจสร้างอันตรายใหญ่หลวงต่อสุขภาพได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล