อัมเตอร์ดัมส่งจม.ถึงนายกจวกปกปิดความจริง

อัมเตอร์ดัมส่งจม.ถึงนายกจวกปกปิดความจริง

อัมเตอร์ดัมส่งจม.ถึงนายกจวกปกปิดความจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อัมสเตอร์ดัม ส่งจดหมายเปิดถึง นายกฯ กล่าวหา ล้มเหลวในการสืบหามือสังหารผู้ประท้วงเสื้อแดง และพยายามปกปิดความเป็นจริง

จดหมายเปิดผนึก ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 จาก นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความระหว่างประเทศ ที่ได้รับการว่างจ้าง โดย อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อการปกป้องประเทศ ให้แก่ สมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ที่รู้จักกันในนามของ "เสื้อแดง" ส่งถึง นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวหาว่า รัฐบาลไทย ประสบความล้มเหลวในการตรวจสอบการสังหารของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง กว่า80 ชีวิต ในเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยเนื้อความในจดหมายระบุว่า "นี่เป็นครั้งที่สามแล้ว ที่เราได้เขียนจดหมายไปยังหน่วยงานรัฐบาลของไทย ที่จะทำให้พวกเขา ตระหนักถึงภาระหน้าที่ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และหน้าที่ในการตรวจสอบภายใต้กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ในความเป็นจริง เราไม่ได้รับการตอบสนองใดจากการสื่อสารของเรา และไม่มีการจัดเตรียมตามการร้องขอเพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของเรา เช่น การเข้าถึงพยานหลักฐานกับจำเลย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทย 1) ไม่สมัครใจต่อการสืบสวนที่เป็นอิสระกับการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ และ 2) พวกเขามีส่วนร่วมในการปกปิดข้อเท็จจริง

"การปฏิเสธของคุณ (นายกฯอภิสิทธิ์) ให้เลิกพระราชกำหนด และ เรียกคืนอำนาจการสอบสวนให้ตำรวจ เป็นข้อบ่งชี้อย่างชัดเจน ต่อการปกปิดพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งมีจำนวนมาก และหลักฐานวิดีโอ ยังแสดงให้เห็นว่า สมาชิกของกองทัพไทย มีส่วนรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตของพลเรือน กว่า 80 ราย นอกจากนี้ จากการที่ ศอฉ. ได้รับการโอนอำนาจการไต่สวนให้แก่ DSI เมื่อวันที่ 20 เมษายน ทำให้การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งกำลังมีความคืบหน้าหยุดชะงักลงทันที และ DSI ซึ่งเป็นเจ้าของรายงานการการชันสูตรศพ สำหรับพลเรือนที่เสียชีวิตทั้งหมด แต่กลับไม่มีอื่น หรือ ทนายความของผู้ถูกกล่าวหา หรือ ญาติของผู้เหตุ ได้รับการเข้าร่วมทีมงานการชันสูตร และยังไม่ได้รับการให้เข้ามามีส่วนสำหรับวิดีโอ หรือ วิดีโอวงจรปิด ของการชุมนุมประท้วง หรือ การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง"

นอกจากนี้ เนื้อความในจดหมาย ยังมีการอ้างความผิดตามข้อกฎหมายสากลต่อนายกฯ โดยระบุว่า "ตามระเบียบข้อบังคับของศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่กำหนดให้ดำเนินการทางอาญากับผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือน ที่ล้มเหลวในการดำเนินการสอบสวนดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เพื่อการตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมาย ถ้าพวกเขาเหล่านั้นรู้ และตั้งใจที่จะเพิกเฉยต่อ
ข้อมูล ซึ่งบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มผู้ก่ออาชญากรรมดังกล่าวเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ความรับผิดชอบในการควบคุม ซึ่งหลักปฏิบัตินี้ยังเป็นเรื่องของกฎหมาย และจารีตประเพณีที่ใช้กับประเทศไทยอีกด้วย"

พร้อมกับ ทิ้งท้ายให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย ดำเนินการตามคำเรียกร้อง พร้อมทั้ง ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดและเป็นอิสระในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เกิด ขึ้น

ทั้งนี้ จดหหมายฉบับดังกล่าว ยังถูกส่งให้ นางนาวี พิลเลย์ กรรมการข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผ่านทางอีเมล์อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook