"ไรเดอร์" ตัดพ้อ เป็นแรงงานที่ถูกเอาเปรียบ เกิดอุบัติเหตุขาดรายได้ ไร้นายจ้างเหลียวแล

"ไรเดอร์" ตัดพ้อ เป็นแรงงานที่ถูกเอาเปรียบ เกิดอุบัติเหตุขาดรายได้ ไร้นายจ้างเหลียวแล

"ไรเดอร์" ตัดพ้อ เป็นแรงงานที่ถูกเอาเปรียบ เกิดอุบัติเหตุขาดรายได้ ไร้นายจ้างเหลียวแล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปชป.จัดเสวนาหาทางออก แก้ปัญหาไรเดอร์ แรงงานที่ถูกเอาเปรียบ “รัชฎาภรณ์”ชี้ค่าแรง-สวัสดิการมีรูปแบบที่หลากหลาย ซับซ้อน ขณะ “สุภัทรา” ชี้ ปัญหาไรเดอร์ ไม่ใช่เรื่องเล็ก ขณะ ตัวแทนไรเดอร์ โวยถ้าเกิดอุบัติเหตุ ก็ไม่มีรายได้

พรรคประชาธิปัตย์จัดเสวนาในหัวข้อ โครงการหาทางออก แก้ปัญหา“ไรเดอร์” แรงงานที่ถูกเอาเปรียบ โดยมี นางสาวรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท นางสาวรัชดา ธนาดิเรก เป็นผู้ดำเนินการเสวนา นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้รวบรวมความเห็นฝ่ายนายจ้าง นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย นางสาวอภันตรี เจริญศักดิ์ รองประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และ นางสาวประภาพร ผลอินทร์ ผู้ประสานงานกลุ่มไรเดอร์ฝั่งธน

นางสาวรัชฎาภรณ์ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนแห่งวันกรรมกรสากลหรือวันแรงงานแห่งชาติ สถานการณ์ด้านแรงงาน การจ้างงาน การทำงานของแรงงานในสังคมไทย (ยังมีปัญหาในการปฏิบัติตามพรบ. แรงงานสัมพันธ์ พรบ, คุ้มครองแรงงาน ทั้งค่าแรงจากการทำงาน การดูแลสวัสดิการทั้งระบบ มีรูปแบบที่หลากหลาย ซับซ้อน ตามสภาพสังคมที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป พรรคประชาธิปัตย์

ซึ่งเคยเป็นพรรครัฐบาลดูแลบริหารกระทรวงแรงงานหลายสมัย พบปัญหาในการดูแลแรงงาน ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย แม้แรงงานได้รวมตัวกัน ตั้งเป็นสหภาพแรงงาน ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ พรบ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดสิทธิประโยชน์ ระบบการทำงาน คุ้มครองการทำงาน กระบวนการทำงาน สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ

และมอบให้กระทรวงแรงงานบริหารดูแล ให้แรงงานทุกรูปแบบทั้งในระบบในสถานประกอบการให้ได้รับความเป็นธรรม ความปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี และให้แรงงานทุกระดับ ทุกประเภท มีสิทธิรวมกลุ่มกัน ตั้งเป็นสหภาพแรงงาน ดูแลสิทธิประโยชน์ ของแรงงาน ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ

หลังจากสถานการณ์โควิดการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปมาก การอยู่บ้านไม่ออกไปนอกเคหะสถานโดยไม่จำเป็น จึงได้มีกลุ่มคนที่มีอาชีพบริการส่งอาหารส่งของตามผู้บริโภคสั่ง ซึ่งเรียกว่าไรเดอร์ เริ่มแรกเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ละคนทำเป็นอาชีพรับจ้างส่งอาหาร ส่งของตามที่ร้านมอบหมาย (จ้าง ให้ไปส่งตามสถานที่ (ไม่มีนายจ้างที่แน่นอน) ต่างคนต่างทำ นานเข้าของต้องส่งมากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น

คนทำงานก็มากขึ้น การแข่งขันแก่งแย่งมากขึ้นทำให้ร้านค้า เริ่มจัดระบบเพื่อให้ตนมีกำไรมากขึ้น ไรเดอร์จึงถูกเอาเปรียบได้

ปัจจุบันไรเดอร์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ ของสมาชิกโดยมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งช่วยเหลือให้คำแนะนำ

นางสาวรัชฎาภรณ์ กล่าวต่อว่า เพื่อประโยชน์ของแรงงานไรเดอร์พรรคประชาธิปัตย์จึงเห็นความสำคัญ มองเห็นว่าปริมาณสมาชิกจะมากขึ้น สมาชิกต้องจัดตั้งและรวมตัวกันร่วมใจกันรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องไรเดอร์ ทั้งหญิง ทั้งชายไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ และไมให้เอาเปรียบกันเอง ดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องต่อไป พรรคประชาธิปัตย์จึงได้จัดการเสวนานี้ขึ้นเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆเพื่อศึกษา

ขณะเดียวกัน ด้านตัวแทนไรเดอร์ เผยว่า อาชีพไรเดอร์เป็นอาชีพอิสระอาชีพหนึ่ง เป็นอาชีพที่ถ้าเราขยัน เราจะต้องตื่นเช้ากว่าคนอื่น ถ้าเราอยากได้เงินก่อนเขา ถ้าเกิดว่าเราตื่นสายก็ค่อนข้างที่จะได้เงินช้าและน้อย

ตัวแทนไรเดอร์ ยังกล่าวต่อว่า อาชีพไรเดอร์เป็นแรงงานที่ไม่ได้สวัสดิการ ออฟฟิศอยู่บนท้องถนนเช้าออกมาส่งอาหารตอนเย็นก็ไม่รู้จะได้กลับบ้านหรือไม่ ค่าของชีพที่สูงไม่สมดุลกับรายได้ที่น้อยลง ตนจึงอยากมีสวัสดิการอย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากไรเดอร์ต้องวิ่งงาน 24 ชั่วโมง บางคนก็วิ่งเป็นเวลา แต่ด้วยหน้าที่ของงานแล้ว ส่งผลให้เรามีความเครียดกับค่ารอบที่ต่ำลง แล้วก็ยังส่งผลต่อเรื่องสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ

ตัวแทนไรเดอร์ ระบุว่า อย่างเรื่องอุบัติเหตุ เราไม่รู้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ จากการเร่งรีบหรือเกิดอุบัติเหตุอะไรก็แล้วแต่ ด้วยกดดันจากลูกค้า ร้านค้าที่ทำอาหารช้า หรืองานพ่วง(งานซ้อน) บ้าง จึงทำให้ต้องรีบในการขับขี่ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้ ส่วนเรื่องค่าชดเชยเราก็อยากมีค่าชดเชยเหมือนบริษัทเอกชนทั่วไป เราเป็นแรงงานอิสระอยู่แล้ว เป็นฟรีแลนซ์แต่อยากให้มีหน่วยงานกองทุนทดแทนเงินชดเชยรายได้เข้ามาช่วยเหลือ

“เพราะถ้าอย่างถ้าเกิดอุบัติเหตุ ก็ไม่มีรายได้ เพราะรายได้ ได้วันต่อวัน ค่อนข้างลำบาก และเรื่องของไรเดอร์ผู้หญิงก็ค่อนข้างที่จะลำบาก อาจจะเสี่ยงต่อการโดนคุกคามได้”

นางสาวสุภัทรา กล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์ของไรเดอร์ เราได้รับตัวเลขจากกระทรวงแรงงาน ณ วันนี้คนที่ประกอบอาชีพเป็นไรเดอร์ไม่ใช่หลักแสนแต่เป็น 1,920,000 คน เพราะฉะนั้นตนมองว่าขนาดของปัญหาไม่เล็กเลย และแนวโน้มก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีก และที่สำคัญตรงกับที่ผู้แทนไรเดอร์กล่าวข้างต้น อาจจะมีผู้หญิงเข้าสู่อาชีพนี้เพิ่มขึ้น

“ความเป็นผู้หญิงก็จะมีความเปราะบาง บางอย่าง เช่นผู้หญิงเอาลูกซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ไปส่งของ ฝนก็ตกแดดก็ออกก็ความเป็นอันตรายที่จะประสบอุบัติเหตุกับเด็กด้วยหรือบางครั้งที่ต้องไปส่งของตอนกลางคืนลูกค้าก็มีหลายประเภทผู้ชายอาจจะเมาก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมากในหลายหลายเรื่อง”นางสาวสุภัทรา กล่าว และกล่าวต่อว่า เราน่าจะต้องเห็นประเด็นนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน

ตัวแทนไรเดอร์ กล่าวว่า อยากขอประกันอุบัติเหตุที่ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถรักษาได้เลย ไม่ต้องสำรองจ่ายหรือต้องรอเบิก เพราะเราก็ไม่รู้ว่านายจ้างของเราเป็นใครส่วนตัวแทนไรเดอร์อีกคน ระบุว่า อยากให้ทางร้านทำอาหารเสร็จแล้วค่อยกดเรียกไรเดอร์ไปรับอาหารเพราะบางแพลตฟอร์มไม่ได้ค่ารออาหารที่เป็นชั่วโมง ซึ่งตนมองว่ามันเปลืองเวลาที่ตนต้องไปนั่งรอเป็นชั่วโมง และไม่ได้เงินเพิ่มขึ้น และเราอยากให้มีประกันรถ ซึ่งอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ตนคิดว่าต้องมีประกันไว้น่าจะดีกว่า เพราะวิ่งงานวันละ 500-1000 บาท ถ้าสมมุติเกิดอุบัติเหตุมา ก็อาจจะเสียเป็นหมื่น ตนมองว่าไม่คุ้ม ถ้าเกิดมีประกันรถอุบัติเหตุก็น่าจะดีกว่า

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook