รู้หรือไม่ เบลเยียมรอดได้ แม้ใช้เวลา 541 วันจัดตั้งรัฐบาล

รู้หรือไม่ เบลเยียมรอดได้ แม้ใช้เวลา 541 วันจัดตั้งรัฐบาล

รู้หรือไม่ เบลเยียมรอดได้ แม้ใช้เวลา 541 วันจัดตั้งรัฐบาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Highlight

  • ประเทศเบลเยียมครองตำแหน่ง “ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุดในโลก” โดยใช้เวลานานถึง 541 วัน หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.​ 2553
  • แม้การจัดตั้งรัฐบาลกลางของเบลเยียมจะใช้เวลานาน แต่การปกครองแบบกระจายอำนาจของเบลเยียม ที่มีรัฐบาลแคว้นและประชาคมก็ทำให้ประเทศยังดำเนินไปได้ 
  • เรียกได้ว่าในช่วงที่ต้องรอจัดตั้งรัฐบาลกว่า 18 เดือนนั้น ระบบรัฐบาลท้องถิ่นกลับกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสามารถฝ่าฟันช่วงวิกฤตการเมืองไปได้
  • ในขณะที่ประชาชนฝั่งหนึ่งชี้ว่าประเทศรอไม่ได้ และจำเป็นต้องมีการรีบจัดตั้งรัฐบาล ทว่า พรรคก้าวไกลจำเป็นต้องเสียสละไปเป็นพรรคฝ่ายค้าน ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งก็แสดงความจำนงค์ที่จะ “รอ” จนกว่า ส.ว. จะหมดอำนาจการทำงาน ซึ่งจะใช้เวลาอีก 9 เดือน แล้วคุณล่ะ รอได้หรือไม่ ร่วมโหวตด้านล่างได้เลย!

นับตั้งแต่ “วันเลือกตั้ง” วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มาจนถึงวันนี้ ก็กินเวลามากกว่า 2 เดือนแล้ว แต่ประเทศไทยก็ยังไม่มีรัฐบาลกับเขาเสียที ในขณะที่ปัญหาบ้านเมืองเรื่องเศรษฐกิจและสังคมก็มีเพิ่มมากขึ้น ประชาชนก็รอคอยให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไขและจัดการ ทว่าสถานการณ์การเมืองทุกวันนี้กลับยุ่งเหยิงวุ่นวาย จนหลายคนถอดใจเลิกตามการเมือง เพราะมันเกินจะรับไหว

แม้จะรู้สึกว่าการจัดตั้งรัฐบาลช่างเนิ่นนานเสียเหลือเกิน แต่ประเทศไทยก็หายังไม่ใช่ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุดในโลก Sanook จึงขอพาทุกคนไปส่องประเทศอื่น ๆ ในโลก ว่าที่ไหนใช้เวลาเท่าไร จึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลมาแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ 

เบลเยียมใช้เวลา 541 วันจัดตั้งรัฐบาล

ประเทศเบลเยียมครองตำแหน่ง “ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุดในโลก” โดยใช้เวลานานถึง 541 วัน หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.​ 2553 สาเหตุที่เบลเยียมใช้เวลานานกว่า 18 เดือนเพื่อจัดตั้งรัฐบาล เป็นเพราะความแตกต่างทางนโยบายของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง และถึงแม้จะมีพรรคการเมืองกว่า 11 พรรคที่สามารถคว้าเก้าอี้ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีพรรคการเมืองใดที่สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้มากกว่า 20% ของที่นั่งในสภา 

AFP

หลังจากมีการเจรจาจากหลายฝ่าย ก็ได้ข้อสรุปในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 พร้อมกับข้อตกลงการปฏิรูปสถาบัน (Agreement for Institutional Reform) ได้เผยแพร่ให้สื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบ และต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม ก็ได้แต่งตั้งให้นายเอลีโย ดี รูโป เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ​ พร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากผ่านการเลือกตั้งแล้ว 541 วัน และกลายเป็นประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุดในโลก รับรองโดย กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด 

รอได้เพราะกระจายอำนาจ

ประเทศเบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง และเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ขณะที่อำนาจนิติบัญญัตินั้นอยู่กับรัฐสภา ซึ่งแบ่งเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีเขตการปกครอง ที่เรียกว่า “ประชาคม”​ ซึ่งแบ่งตามภาษาและแคว้นที่แบ่งตามเขตแดน ทั้งนี้ เบลเยียมมีภาษาราชการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ และภาษาเยอรมัน 

AFP

แม้การจัดตั้งรัฐบาลกลางของเบลเยียมจะใช้เวลานาน แต่การปกครองแบบกระจายอำนาจของเบลเยียม ที่มีรัฐบาลแคว้นและประชาคมก็ทำให้ประเทศยังดำเนินไปได้ ซึ่งรัฐบาลในหน่วยการปกครองระดับแคว้นและประชาคม มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคต่าง ๆ วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การจัดการผังเมือง ไปจนถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจ แม้งบประมาณจะได้จากส่วนของรัฐบาลกลาง แต่สภาแคว้นก็สามารถเรียกเก็บภาษีบางอย่างได้ และมีรายได้จากการให้กู้ยืม และยังมีอำนาจในการทำสนธิสัญญาในด้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของตัวเอง ซึ่งในช่วงที่ต้องรอจัดตั้งรัฐบาลกว่า 18 เดือนนั้น ระบบรัฐบาลท้องถิ่นก็กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสามารถฝ่าฟันช่วงวิกฤตการเมืองไปได้ 

ประเทศอื่นก็ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนาน

นอกจากเบลเยียมแล้ว ก็ยังมีประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศทั่วโลก ที่ใช้เวลานานในการจัดตั้งรัฐบาล ตัวอย่างเช่นประเทศกัมพูชา ที่ใช้เวลา 354 วัน ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2547 หรือในปี พ.ศ. 2553 ประเทศอิรักก็ไม่มีรัฐบาลกลางนานกว่า 289 วันนับตั้งแต่วันเลือกตั้งใหญ่ของประเทศ 

AFP

การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2558 ของประเทศสเปน ก็ทำให้ประเทศต้องใช้เวลากว่า 315 วันในการจัดตั้งรัฐบาล เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ใช้เวลา 225 วันกว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลกลางได้สำเร็จ หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2560 หรือแม้แต่ประเทศเยอรมนี ที่เกือบจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2560 และสุดท้ายก็กินเวลานานกว่า 136 วัน กว่าที่อังเกลา แมร์เคิล ผู้นำจากพรรค CDU จะสามารถเจรจากับพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้สำเร็จ

AFP

สำหรับประเทศไทยในขณะนี้ ก็ยังไม่มีคำตอบสำหรับการจัดตั้งรัฐบาล แม้จะล่วงเลยมากว่า 2 เดือนแล้ว ในขณะที่ประชาชนฝั่งหนึ่งชี้ว่าประเทศรอไม่ได้ และจำเป็นต้องมีการรีบจัดตั้งรัฐบาล ทว่า พรรคก้าวไกลจำเป็นต้องเสียสละไปเป็นพรรคฝ่ายค้าน ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งก็แสดงความจำนงค์ที่จะ “รอ” จนกว่า ส.ว. จะหมดอำนาจการทำงาน ซึ่งจะใช้เวลาอีก 9 เดือน  

แล้วคุณล่ะ คุณรอได้หรือไม่ ร่วมโหวตได้เลย!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook