สรุปข่าวรอบปี : วิกฤตเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐถึงดูไบ

สรุปข่าวรอบปี : วิกฤตเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐถึงดูไบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ตลอดปี 2552 ประเด็นสำคัญที่ชาวโลกให้ความสนใจประเด็นหนึ่งก็คือประเด็นด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2551 เกี่ยวกับกรณีเลห์แมนบราเธอร์ส ซึ่งกลายเป็นโดมิโน่ตัวสำคัญสำหรับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเรียกว่าเป็น ดีเปรสชั่นทางเศรษฐกิจก็ว่าได้ ในครั้งนั้นได้มีการนำวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ไปเปรียบเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศไทยในปี 2540 มาแล้ว หลังจากที่จุดต่ำสุดทางเศรษฐกิจกำลังผ่านพ้นไป มีนักวิเคราะห์และนักวิชาการหลายคนออกมาแสดงความเห็นในเชิงบวกว่าอาการป่วยทางเศรษฐกิจของโลกกำลังดีขึ้น แต่ในท่ามกลางความหวังนั้นกลับเกิดวิกฤตที่ผุดออกมาทำลายความหวังหลาย ๆ คนไปเมื่อ Dubai World บริษัทของทางการดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ถูกมองว่ามีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างสุดขีดออกมาประกาศเลื่อนการชำระหนี้ ส่อเค้าความวุ่นวายทางเศรษฐกิจภายในอย่างน่าตกใจ ความหวังที่ส่องแสงมา วิกฤตเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลกขณะนี้ เปรียบเสมือนภาวะของพายุที่ถาโถมลงมาอย่างหนักหน่วง ทิ้งร่องรอยและบดบังแสงสว่างไว้จนลางเลือน แม้มีหลายคนพยายามแหวกเมฆมองหาความหวังว่าเศรษฐกิจกำลังจะสดใสในไม่ช้า ไม่ว่าจะฝั่งนักวิชาการ หรือนักวิเคราะห์ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมุมต่าง ๆ ของโลกนี้กลับอยู่ในบรรยากาศที่เรียกได้ว่าขมุกขมัว จะสว่างก็ไม่ใช่ จะมืดมนก็ไม่เชิง หลังจากที่บริษัท เลห์แมนบราเธอร์ส เตรียมเสนอยื่นเรื่องต่อศาลนิวยอร์คเพื่อขอการพิทักษ์ทรัพย์อันเนื่องมาจากภาวะล้มละลาย ในวันที่ 15 กันยายน 2551 โลกทั้งโลกก็กลับเข้าสู่ภาวะตะลึงงัน กลายเป็นโดมิโนตัวสำคัญที่พาเศรษฐกิจสหรัฐล้มลุกคลุกคลานกันไปทั้งกระดาน ลุกลามไปถึงนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์หลายต่อหลายคนออกมาแสดงความเห็นถึงความคลี่คลายของวิกฤต แต่แล้วในวันที่ 25 พฤศจิกายน 52 Dubai World ก็ออกมาประกาศข่าวร้ายฉุดดัชนีในตลาดหุ้นทั่วโลกด้วยความหวั่นวิตก เนื่องจากที่ผ่านมาดูไบกลายเป็นแหล่งโกยเงินของนักลงทุนที่ไม่ว่าทำอะไรก็เป็นกำไรไปเสียมดด้วยความเจริญอย่างสุดขีดในด้านอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นเมื่อ Dubai World ประกาศเลื่อนการชำระหนี้จึงไม่แปลกที่จะรสร้างความหวั่นวิตกเกรงจะซ้ำรอยเลห์แมนบราเธอร์ส ที่เกิดวิกฤตจากสาเหตุคล้าย ๆ กัน ทว่าเหตุการณ์ในกรณีของดูไบนี้ ดูจะเบาบางกว่ากรณีของสหรัฐตรงที่ ยังมีอาบูดาบี เพื่อนร่วมชาติที่คอยสนับสนุและให้การช่วยเหลือประคับประคองดูไบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ไม่ใช่เพียงเพื่อการแสดงน้ำใจของเพื่อนร่วมชาติ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลามจนยากจะแก้ไข คาดการณ์สถานการณ์ปีต่อไป ดูไบ-สหรัฐ นอกจากดูไบและสหรัฐที่น่าจับตามองในด้านเศรษฐกิจแล้ว ประเทศแถบละตินอเมริกาก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่ใช่น้อย โดยมีแนวโน้มว่าการที่ 9 ประเทศในแถบละตินอเมริกาและยุโรปทางตอนใต้ได้ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในช่วง 2-3 เดือนมานี้ จะเป็นสัญญาณถึงความปั่นป่วนด้านเศรษฐกิจของโลกในปี 2553 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าหากว่าความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงนั้น ส่งผลลบต่อเนื่องจนเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเป็นกรณีที่คล้ายคลึงกับกรณีของดูไบ แต่เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าอาบูดาบีให้ความช่วยเหลือดูไบอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันการลุกลามของวิกฤตที่จะกระทบถึงทั้งตอนเองและภูมิภาค หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจโลกที่ยังถือว่าอ่อนแอ จึงสร้างความโล่งอกให้กับนักลงทุนโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากอาบูดาบี แต่หากดูไบยังคงใช้เม็ดเงินสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นไม่นานก็อาจกลับเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตกได้อีกครั้ง การดำเนินนโยบายทางการเงินของดูไบจึงยังคงต้องถูกจับตาอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามดูไบยังขาดความแน่นอนในโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ขัดแย้งกันเองในเรื่องที่ Dubai World เป็นบริษัทของรัฐบาล และอาบูดาบีก็เป็นผู้ลงทุนหนึ่งที่เข้าไปลงทุนตาม Dubai World ในตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงละครฉากหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงว่าจะเป็นไปในทิศทางใ ในขณะเดียวกันการแก้ปัญหาหนี้สินของ Dubai World ยังไม่มีความชัดเจน แม้จะมีการตั้งคณะผู้พิพากษาเข้ามาดูแลหน่วยงาน ดูไบ อินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ เซ็นเตอร์ เพื่อจัดการหนี้สิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และคลายกังวลให้เจ้าหนี้แล้วก็ตาม ส่วนกรณีของสหรัฐที่วิกฤตก่อตัวมาตั้งแต่วิกฤตซับไพร์มจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ยังไม่ได้มีความคลี่คลายไปมากนัก ซ้ำยังกลายเป็นปัญหาการเงินที่สะสมตัวอยู่ในย่อมจะส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนต่อการเงินโลกอีกระลอกอย่างแน่นอน เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความอ่อนแออยู่ แม้ว่าทั้งธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะยืนยันที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนแต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจจะเป็นวิธีการที่ไม่ได้ผล ในขณะเดียวกักองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยรายงานล่าสุดคาดว่า เศรษฐกิจโลกพ้นภาวะถดถอยและจะขยายตัว 3.1% ในปี 2010 ซึ่งการขยายตัวที่แข็งแกร่งของเอเชีย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นในปีหน้า โดยในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมนั้น สหรัฐจะขยายตัวแซงหน้าเศรษฐกิจชาติยุโรป เนื่องจากระบบการเงินและตลาดแรงงานในสหรัฐส่งสัญญาณฟื้น นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐ หลายต่อหลายประเทศต่างตระหนักที่จะรัดเข็มขัดภายในประเทศมากขึ้น สวนทางกับดูไบที่ยังคงพัฒนาประเทศด้วยเม็ดเงินมหาศาลจนท้ายที่สุดเกิดปัญหาจนต้องประกาศเลื่อนการชำระหนี้ออกไป สะท้อนแนวให้เห็นถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่เรียกว่า "เกินพอดี หากแต่ละประเทศ แต่ละชาติต่างรู้จักกับความพอเพียง น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ด้วยความเข้าใขอย่างถ่องแท้ โลกใบนี้อาจจะประสบปัญหาน้อยลง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอน กรณัฏฐ์ ขวัญคง เรียบเรียง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook