ป.ป.ช.ลุยล้างทุจริตท้องถิ่น มีมติฟันอดีตนายกเล็กเทศบาลสุราษฎร์-อดีตนายก อบจ.มหาสารคาม หนึ่ง สอง

ป.ป.ช.ลุยล้างทุจริตท้องถิ่น มีมติฟันอดีตนายกเล็กเทศบาลสุราษฎร์-อดีตนายก อบจ.มหาสารคาม หนึ่ง สอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ป.ป.ช.เร่งลุยปราบทุจริตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชี้มูลความผิดผู้บริหารพร้อมกันทีเดียว 2 แห่ง ฟันนายกเทศมนตรีสุราษฎร์ธานีกับพวกทุจริตซื้อที่ทิ้งขยะ 50 ล้านบาท -อดีตนายก อบจ.มหาสารคามจ่ายเงินสะสมไม่ชอบนับสิบล้าน สำนักงานคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้เผยแพร่ข่าวการลงมติชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ของอดีตนายกเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานีกับพวก ทุจริตในการจัดซื้อ ที่ดินเพื่อเป็ นที่กำจัดขยะมูลค่าเกือบ 50 ล้านบาทและ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด.(อบจ.)มหาสารคาม กับพวก ร่วมอนุมัติจ่ายเงินสะสมของ อบจ.มหาสารคามนับสิบล้านบาทโดยไม่ชอบ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีรายละเอียดดังนี้ เรื่องกล่าวหา นายยงยุทธ วงศ์เจริญ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี กับพวก ทุจริตในการจัดซือ้ ที่ดินเพื่อเป็ นที่กำจัดขยะ มูลฝอยของเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีนายประสาทพงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายยงยุทธ วงศ์เจริญ กับพวก ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี พนักงานเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าของที่ดินและนายหน้า ได้ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินการจัดซือ้ ที่ดินสำหรับกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2542 โดยวิธีพิเศษโดยก่อนที่จะดำเนินการจัดซือ้ ที่ดินดังกล่าว นายยงยุทธ วงศ์เจริญ กับพวก ได้ดำเนินการรวบรวมและจัดซือ้ ที่ดินไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมเสนอขายให้กับเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี จำนวน 4 แปลง รวมเนือ้ ที่75 ไร่ 1 งาน 28.8 ตารางวา ไว้แล้ว

ต่อมานายยงยุทธ วงศ์เจริญ ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย โดยมีนายมาโนช เผือกสุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ฯ ได้จัดทำหลักเกณฑ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเสนอให้ นายยงยุทธ วงศ์เจริญ พิจารณาอนุมัติ โดยมีการเอื้อประโยชน์ให้กับที่ดินที่กลุ่มผู้ถูกกล่าวหาได้จัดซื้อ ไว้ก่อนแล้ว เช่น กำหนดให้ที่ดินที่จัดซื้อ ต้องอยู่ในเขตเทศบาลบริเวณรอบนอก หรือมีบางส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาล ซึ่งอยู่ติดกันรวมผืนเดียวกัน โดยอยู่ห่างไกลจากชุมชนพอสมควร (เนื่องจากที่ดินที่กลุ่มผู้ถูกกล่าวหาได้จัดซื้อไว้ก่อนแล้ว อยู่นอกเขตเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีจำนวน 3 แปลง), การกำหนดให้เจ้าของที่ดินรายอื่นที่อยู่ติดกันต้องมอบอำนาจให้เจ้าของที่ดินรายหนึ่งรายใด เป็นผู้ยื่นเสนอราคาที่ดินทั้งหมด พร้อมทั้ง มอบอำนาจให้ตกลงตัดสินใจทำการแทนเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดกันได้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ข้อ 50 (6) เนื่องจากเป็นการตัดสิทธิเจ้าของที่ดินที่ประสงค์จะยื่นเสนอราคาด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเสนอราคาแทน ้เพราะกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาได้มีการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้เสนอราคาขายที่ดินทัง้ 4 แปลงดังกล่าวไว้แล้ว

เมื่อสภาเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ได้อนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 50 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อที่ดินกำจัดขยะมูลฝอยตามที่กลุ่มผู้ถูกกล่าวหาเสนอ นายยงยุทธ วงศ์เจริญ ในฐานะนายกเทศมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตัง้ คณะกรรมการจัดซื้อ โดยวิธีพิเศษ และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุซึ่งเป็นพนักงานของเทศบาลฯ ในตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อร่วมกันและแบ่งแยกการทำงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละคนในการดำเนินการจัดซือ้ ที่ดิน จำนวน 4 แปลงดังกล่าว ในราคา 49,990,000 บาท โดยมีพฤติการณ์ในการจัดซือ้ และตรวจรับที่ไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ดังนี้

1. กลุ่มคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ในฐานะคณะกรรมการที่ปรึกษาฯร่วมกับกลุ่มผู้ขายที่ดินและนายหน้า ทำการซื้อ ที่ดินทัง้ 4 แปลงไว้ก่อน แล้วจึงกำหนดให้เทศบาลเมือง

สุราษฎร์ธานีจัดซือ้ ที่ดินดังกล่าวตามระเบียบฯ

2. กลุ่มคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี และพนักงานเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีในฐานะคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ทำการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ตรงตามลักษณะของที่ดินที่ได้จัดซือ้ ไว้ก่อน และเอือ้ ประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตน

3. เจ้าหน้าที่พัสดุไม่จัดทำรายละเอียดของที่ดิน และไม่มีราคาประเมินที่ดินของทางราชการ และราคาซือ้ ขายที่ดินใกล้เคียงบริเวณที่จะซือ้ ครั้งหลังสุดมาเปรียบเทียบราคา ในรายงานการขอซื้อที่ดิน ตามระเบียบฯ ข้อ 21 (2) และ (4) และการซือ้ ที่ดินไม่ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรงตามระเบียบฯข้อ 21 วรรคท้าย

4. คณะกรรมการ จัดซือ้ ที่ดินโดยวิธีพิเศษ มิได้เชิญเจ้าของที่ดินมาเสนอราคาโดยตรงตามข้อ 50 (6) และที่ดินที่จัดซือ้ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยที่ดินมีสภาพเป็นบ่อลูกรังลึกประมาณ 20 เมตร เต็มพืน้ ที่จำนวน 2 แปลง ที่ดินอีกจำนวน 2 แปลง เป็นสวนยางพารา และมีเสาไฟฟ้ าแรงสูงตั้ง อยู่ในที่ดิน จำนวน 1 แปลง ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อ เพื่อใช้กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบที่ดินจำนวน 3 แปลง อยู่นอกเขตเทศบาล และไม่มีทางเข้าออก โดยมี นายพิสิทธิ์ วงศ์วิวัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมมือในการแจ้งราคาประเมินที่ดินให้สูงกว่าความเป็นจริงอันเป็นเท็จ อีกทัง้ เป็นผู้จดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินที่เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีได้จัดซือ้ดังกล่าวด้วย

5. คณะกรรมการตรวจรับ ทำการตรวจรับที่ดินไม่ถูกต้อง เนื่องจากสภาพที่ดินจำนวน2 แปลง เป็นบ่อลึกเต็มพืน้ ที่ จึงไม่มีสภาพเป็นที่ดินตามสัญญาจะซือ้ จะขาย และที่ดินอีกจำนวน 2 แปลงเป็นสวนยางพาราและมีเสาไฟฟ้ าแรงสูงตั้งอยู่ในที่ดินจำนวน 1 แปลง ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้เป็นที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบตามวัตถุประสงค์ที่จัดซื้อ และไม่มีทางเข้าออกที่เป็นทางสาธารณะ

การกระทำของ นายยงยุทธ วงศ์เจริญ เ กับพวก ในการจัดซือ้ ที่ดินเพื่อใช้เป็นที่กำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว ทำให้เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีต้องซือ้ ที่ดินในราคาแพงเกินความเป็นจริง และเป็นที่ดินที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อ เป็นเหตุให้เทศบาลได้รับความเสียหายเป็นเงิน 38,191,162.63 บาท

คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้

1. การกระทำของ นายยงยุทธ วงศ์เจริญ มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลฯ และเป็นประธานที่ปรึกษาการจัดซือ้ ที่ดินฯ มีมูลความผิด ฐานเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 18 ทวิ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157

2. การกระทำของ นายโกศล โอทอง และนายมาโนช เผือกสุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลฯรวมทั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาการจัดซือ้ ที่ดินฯ และประธานกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ตามลำดับ มีมูลความผิด ฐานเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 18 ทวิ และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

3. การกระทำของ คณะกรรมการจัดซือ้ ที่ดินสำหรับกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีพิเศษ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 151 และมาตรา 157

4. การกระทำของ คณะกรรมการตรวจรับที่ดิน มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

5. การกระทำของ นายพิสิทธิ์ วงศ์วิวัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

6. การกระทำของผู้ร่วมกระทำความผิดอื่นซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยเจ้าของที่ดินและนายหน้าเสนอขายที่ดิน มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ให้ส่งรายงาน และเอกสาร พร้อมทัง้ ความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และ/หรือไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้ถูกกล่าวหา กับพวก แล้วแต่กรณีต่อไป .เรื่องกล่าวหา นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายก อบจ. มหาสารคาม กับพวก ร่วมอนุมัติจ่ายเงินสะสมของ อบจ.มหาสารคามโดยไม่ชอบด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยมีนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. การจ่ายขาดเงินสะสมของอบจ.มหาสารคาม ครั้งที่ 1เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ได้เสนอขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมต่อสภา อบจ. มหาสารคาม เป็นจำนวนเงิน 9,890,000 บาท อ้างว่า เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ใช้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ของ อบจ.โดยตรง หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน โดยยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินของ อบจ. พ.ศ. 2540ข้อ 86 (3) และไม่ต้องนำเรื่องขอจ่ายขาดเงินสะสมขอความเห็นชอบต่อสภาอบจ.อีกซึ่งสภาอบจ.มหาสารคาม ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจ่ายขาดเงินสะสมดังกล่าวโดยขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ

แต่อบจ.มหาสารคาม ไม่ได้นำเรื่องเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ตามที่สภาอบจ.มหาสารคามมีญัตติเห็นชอบกลับชะลอเรื่องไว้เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน เนื่องจากนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ทราบว่า กำลังจะมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 เป็นระเบียบใหม่จะออกมายกเลิกระเบียบฉบับปี 2540โดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบปี 2540

การที่อบจ.มหาสารคาม ไม่ได้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติตามญัตติ จึงถือว่าญัตติที่เสนอไว้โดยมีเงื่อนไขนี้ ม่เกิดผลเป็นมติของสภา อบจ.มหาสารคามให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ แต่ปรากฏว่า ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2541 ก่อนที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับ (ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 มีผลใช้บังคับในวันที่ 15 กรกฎาคม 2541) นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ได้สั่งการให้ นางธิดาแก้ว จีระออน หัวหน้าส่วนการคลัง ตรวจสอบยอดเงินสะสมคงเหลือที่มีอยู่ที่คลังจังหวัดมหาสารคาม โดยมีเจตนาที่จะนำเงินสะสมเหล่านี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการต่าง ๆ ของ อบจ.มหาสารคาม ซึ่งนางธิดาแก้ว จีระออน ได้รายงานยอดเงินสะสมว่า อบจ.หาสารคาม ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2541 คงเหลือยอดเงินสะสมที่สามารถจ่ายขาดได้5,789,000 บาท ทั้งที่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินสะสมคงเหลือพอจ่ายได้เพียง 1,334,269.79 บาทเท่านัน้

ต่อมาวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 นางธิดาแก้ว จีระออน หัวหน้าส่วนการคลังได้บันทึกเสนอขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 5,789,000 บาท พร้อมบัญชีโครงการที่ขอจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 24 โครงการ ซึ่งนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ เห็นชอบและอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมตามเสนอในวันเดียวกันนัน้ เอง หลังจากนัน้ อบจ.มหาสารคาม ได้ดำเนินการตามโครงการที่ขออนุมัติ จำนวน 23 โครงการ และเบิกจ่ายเงินสะสมเป็นค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างจนหมดสิน้ แล้ว

2. การจ่ายขาดเงินสะสมของอบจ.มหาสารคาม ครั้งที่ 2เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2541 นางธิดาแก้ว จีระออน ได้จัดทำบันทึกขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมแล้วนำมาให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ลงนามเสนอขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมของอบจ.มหาสารคาม จำนวน 1,200,000 บาท เพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าจ้างปรับปรุงซ่อมแซมถนน รวม 3 สาย ในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอยางสีสุราช ซึ่งในวันเดียวกันนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ได้ลงนามอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ตามเสนอทั้งที่ข้อเท็จจริง อบจ.มหาสารคาม ได้เบิกจ่ายเงินสะสมเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามโครงการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 5,789,000 บาท ไปจนหมดสิ้นแล้ว อบจ.มหาสารคามจึงไม่สามารถที่จะนำเงินสะสมออกมาใช้ได้อีกต่อไป

3. ทุจริตการจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมถนนในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอยางสีสุราช รวม 3 สาย

ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อ นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ นายกอบจ.ได้อนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2541 แล้ว นางธิดาแก้ว จีระออ น ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา โดยจัดทำประกาศสอบราคาจัดเตรียมเอกสารการเสนอราคาของห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง ซึ่งมีสามีของนางธิดาแก้ว จีระออนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และของห้างหุ้นส่วนจำกัดอีก 2 ห้าง แล้วนำเอกสารการดำเนินการไปให้นายสุบันหรือธนพล ชัยประเสริฐ และนางอำนวย วงศ์อนันต์ กรรมการเปิดซองสอบราคา ลงนามในเอกสารที่ตนเองได้จัดเตรียมไว้ เพื่อให้เห็นว่ามีการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง เป็นผู้ชนะการสอบราคา ในวงเงิน 1,200,000 บาท

ต่อมาวันที่ 27 ตุลาคม 2541 นางธิดาแก้ว จีระออน ได้เสนอเบิกจ่ายเงินค่าปรับปรุงถนนในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอยางสีสุราช รวม 3 สาย เป็นเงิน 1,200,000 บาทให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง ทัง้ ที่โครงการปรับปรุงถนนฯ รวม 3 สายดังกล่าว ยังดำเนินการไม่เสร็จ และคณะกรรมการตรวจการจ้างยังไม่ได้ทำการตรวจรับงานดังกล่าว

เมื่อได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายได้แล้ว นางธิดาแก้ว จีระออน ได้สั่งให้ลูกจ้างประจำส่วนการคลัง นำเช็คเขียนเสนอผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย เพื่อเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างแต่เนื่องจากปลัดอบจ.มหาสารคาม ได้สั่งให้ชะลอการจ่ายเช็คไว้ก่อนและให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทำการตรวจสอบงานตามโครงการดังกล่าวซึ่งปรากฏว่า ผู้รับจ้างดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามสัญญา มีการดำเนินการไปได้เพียง 10% เท่านั้นจึงยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินตามเช็คแต่อย่างใด แต่ภายหลังผู้รับจ้างได้ปรับปรุงถนนเสร็จเรียบร้อยและคณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2542

แต่อบจ.มหาสารคาม ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างได้ เนื่องจากกรมการปกครอง ได้มีหนังสือตอบข้อหารือเกี่ยวกับการจ่ายขาดเงินสะสมของอบจ.มหาสารคาม จำนวน 9,890,000 บาทว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ เนื่องจากยังไม่ได้ขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัดยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ องค์การฯ จึงไม่อาจจัดซือ้ จัดจ้าง หรือเบิกจ่ายเงินสะสมในกรณีดังกล่าวได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง จึงยื่นฟ้องอบจ.มหาสารคามเรียกค่าเสียหาย เป็นเงิน 1,666,000 บาท ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษา ให้ อบจ.มหาสารคามชำระเงินจำนวน 1,666,000 บาท พร้อมดอกเบีย้ ให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง โดย อบจ.มหาสารคาม ไม่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาตามความเห็นของพนักงานอัยการผู้ว่าคดีซึ่งส่วนการคลัง อบจ.มหาสารคาม ได้คำนวณเงินตามคำพิพากษาแล้ว เป็นเงิน 2,050,565 บาท แต่เนื่องจากอบจ.ไม่ได้งบประมาณส่วนนี้ไว้ในปี 2544 จึงอาศัยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของอ งค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 ยืมเงินสะสมที่เก็บไว้เอง ซึ่งสภาอบจ.มหาสารคาม ได้อนุมัติให้ยืมเงินสะสมจ่ายเป็นค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ.พรรัฐก่อสร้าง คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของ นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ นางธิดาแก้ว จีระออน และ นายสุบัน หรือธนพล ชัยประเสริฐ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ร่วมกันเบียดบังทรัพย์นัน้ เป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นัน้ เสีย และฐานเป็นเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83

นอกจากนี้ ้การกระทำของ นางธิดาแก้ว จีระออน และ นายสุบัน หรือธนพล ชัยประเสริฐ ยังมีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการด้วย ส่วน นางอำนวย วงศ์อนันต์ ได้กระทำไปเพราะถูกบังคับ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่มิได้ร่วมทุจริต จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงเพียงประการเดียว

ให้ส่งรายงาน และเอกสาร พร้อมทัง้ ความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และ/หรือไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทัง้ สี่ แล้วแต่กรณีต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook