ธุรกิจเหมืองเพชรวิบากกรรมใหม่ของทักษิณ

ธุรกิจเหมืองเพชรวิบากกรรมใหม่ของทักษิณ

ธุรกิจเหมืองเพชรวิบากกรรมใหม่ของทักษิณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่กลายเป็นนักโทษหนีคุกเที่ยวเร่ร่อนพเนจรไปตามประเทศด้อย พัฒนาและประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทั้งในทวีปแอฟริกาและยุโรปตะวันออก ได้ทวิตไว้ในทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า

"บุญบาปเหมือนสึนามิครับ มาเร็วไปเร็ว ผมได้ใช้วิบากกรรมชาติที่แล้วหมดแล้วครับ สึนามิกำลังจะกลับทะเลเพื่อทะเลจะกลับมาสวยงามกว่าเดิม"

แต่หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่าถ้าหากนักโทษหน้าเหลี่ยมหนีคุกได้ใช้วิบาก กรรมชาติที่แล้วหมดแล้วจริง เจ้าตัวจะรู้บ้างไหมหนอว่า กำลังสร้างวิบากกรรมในชาตินี้ขึ้นมาใหม่ผ่านการทำธุรกิจเหมืองเพชรที่เต็มไป ด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเข่นฆ่าสังหาร แทบไม่ผิดเพี้ยนจากคราวที่อดีตเจ้ามูลเมืองกลับชาติมาเกิดเป็นนักโทษหน้า เหลี่ยมได้ก่อกรรมทำเข็ญคราวสั่งกวาดล้างยาบ้าครั้งใหญ่แม้แต่น้อย

เมื่อต้นเดือนที่แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณคุยฟุ้งเป็นคุ้งเป็นแควว่าได้ใช้เงินเล็กๆ น้อยๆ ลงทุนทำเหมืองที่ทวีปแอฟริกา โดยหนึ่งในประเทศที่ยอมเปิดเผยว่าไปร่วมลงทุนทำเหมืองเพชรด้วยก็คือ สวาซิแลนด์ ขณะที่นายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษากฎหมายครอบครัวชินวัตร เสริมว่า แท้ที่จริง พ.ต.ท.ทักษิณได้ลงนามทำสัญญาร่วมทุนทำสัมปทานเหมืองเพชร กับ 3 ประเทศในทวีปนี้ แต่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อของ 2 ประเทศที่เหลือว่าเป็นประเทศใดบ้าง

ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ยากต่อการตรวจสอบว่าเป็นประเทศใดบ้าง ในเมื่อมีเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปนี้ที่มีธุรกิจผลิตเพชรที่ยังไม่เจียระไน และมีแค่ 2-3 ประเทศที่ พ.ต.ท ทักษิณลงทุนบินไปดูลู่ทางก่อนหน้านี้

ประเทศในแอฟริกาที่สามารถผลิตเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนหรือเพชรดิบได้ ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา นามิเบีย แองโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐคองโก กานา แทนซาเนีย ไอเวอรีโคสต์ ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน กินี และเลโซโท

ถ้าดูตามรายชื่อนี้ สวาซิแลนด์ไม่มีชื่อติดอันดับประเทศที่ผลิตเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนเป็นล่ำ เป็นสันมากพอที่จะมีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ ส่วนอีก 2 ประเทศที่นักโทษหนีคุกไม่ยอมเปิดเผยว่าเป็นประเทศใดบ้างนั้น ถ้าสืบสาวกันแล้วหากเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในการทำเหมืองเพชรและเป็นประเทศ ที่นักโทษชายพ.ต.ท.ทักษิณเคยไปสำรวจลู่ทางการลงทุนมาก่อนหน้านี้ ก็น่าจะเป็นแอฟริกาใต้และไลบีเรีย

หากหนึ่งในนั้นเป็นไลบีเรียจริง ก็มีคำตอบชัดเจนว่าเหตุใดนักโทษหน้าเหลี่ยมจึงไม่กล้าเปิดเผยชื่ออย่างเป็น ทางการเหมือนกับสวาซิแลนด์ เหตุผลก็คือไลบีเรียเป็นหนึ่งในประเทศที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ลงมติให้ขึ้นบัญชีดำห้ามนานาประเทศนำเข้าเพชรดิบที่ผลิตจากประเทศนี้ รวมไปถึงเพชรดิบจากแองโกลา เซียร์ราลีโอน คองโก และแองโกลา ตามความตกลงภายใต้กรอบคิมเบอร์ลีย์ โพรเซสส์ (Kimberley Process) ที่สหประชาชาติสนับสนุนเพื่อควบคุมการซื้อเพชรที่มีแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ ก่อการร้ายหรือกบฏในประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เพราะเกรงว่ากลุ่มติดอาวุธและกบฏในประเทศเหล่านั้นจะนำเงินจากการค้าเพชรดิบ มาเป็นเงินทุนในการซื้ออาวุธสงคราม เพื่อไปสู้รบกันจนเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน หรือเพื่อล้มล้างรัฐบาล

ถ้าไม่ใช่เพชรดิบจากแอฟริกาใต้และไลบีเรีย ก็ยังมีบางประเทศที่นักโทษหนีคุกพอจะทำสัญญาสัมปทานเพชรด้วย อาทิ ซิมบับเว แต่ประเทศนี้ก็กำลังมีปัญหาเมื่อคณะสอบสวนของโครงการระบบการออกใบรับรอง สำหรับเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันของคิมเบอร์ลีย์ โพรเซสส์ ได้นำเสนอรายงานกล่าวหาว่าผู้ผลิตเพชรดิบในซิมบับเว โดยเฉพาะที่เหมืองเพชรมารังจ์ ทางภาคตะวันออกของประเทศ ซึ่งกองทัพกับตำรวจมีหุ้นส่วนใหญ่อยู่ด้วยนั้น ร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ มีทั้งการบังคับใช้แรงงานโดยไม่สมัครใจ รวมทั้งมีการข่มขืนแรงงานหญิงซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกเหนือจากเข่นฆ่าสังหารแรงงานเหล่านั้นอย่างเลือดเย็นทารุณโหดร้ายระหว่าง ลักลอบขนเพชรดิบออกจากพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว คิมเบอร์ลีย์ โพรเซสส์ จึงได้สั่งระงับการออกใบรับรองเพชรดิบที่ผลิตจากซิมบับเวเป็นการชั่วคราว ก่อน นั่นหมายความว่านานาประเทศจะต้องไม่นำเข้าเพชรดิบจากประเทศนี้

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเพชรดิบหลายคนเสริมว่า เหมืองเพชรในหลายๆ ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่มักจะละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการบังคับใช้แรงงานเด็กและการไม่ดูแลความปลอดภัยในชีวิตของแรงงาน และการใช้แรงงานเยี่ยงทาส

นี่แหละวิบากกรรมใหม่ที่อดีตเจ้ามูลเมืองกำลังสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อสนองความโลภไม่มีที่สิ้นสุดของตัวเอง

บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook