เอแบคโพลเผยปชช.อุ่นใจมาตรการปราบอาชญากรรมของตร.ทั้งปะ ฉะ ดะ -SMSจับโจร

เอแบคโพลเผยปชช.อุ่นใจมาตรการปราบอาชญากรรมของตร.ทั้งปะ ฉะ ดะ -SMSจับโจร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่ใช้บริการสถานีตำรวจนครบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,930 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 26 สิงหาคม 2552 พบว่า ประชาชนร้อยละ 92.8 ระบุติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่านสื่อมวลชนอย่างน้อย 1 2 วันต่อสัปดาห์

ที่น่าเป็นห่วงคือ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเองหรือคนในครอบครัวเคยตกเป็นผู้เสียหายในปัญหาต่อไปนี้ คือ ร้อยละ 28.0 ระบุเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 14.0 ระบุชิงทรัพย์ ร้อยละ 13.7 ระบุโจรกรรม ร้อยละ 13.4 ระบุถูกฉ้อโกง และรอง ๆ ลงไป คือ ทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขู่ ยาเสพติด ทำลายทรัพย์สิน ปล้นทรัพย์ พยายามฆ่า ล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน การฆาตรกรรม และกักขังหน่วงเหนี่ยว ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ระบุเคยพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุไม่เคยพบเห็น

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา พบจำนวนประชาชนที่เห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยสูงขึ้นจากร้อยละ 48.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 73.4 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 รู้สึกอบอุ่นใจเมื่อพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราดูแลความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง และประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.6 ยังรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้าย เมื่อต้องเดินตามลำพังในชุมชนที่พักอาศัย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้ายลดลง จากร้อยละ 78.7 มาอยู่ที่ ร้อยละ 72.6 ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะมีตำรวจสายตรวจออกมาประจำจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อส่งประชาชนเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัยยามค่ำคืน สำหรับความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ในการตั้งด่านตรวจจับใบขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และด่านตรวจตราป้องกันปัญหาอาชญากรรม ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ร้อยละ 73.1 พอใจต่อการตั้งด่านตรวจจับใบขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 95.7 พอใจต่อการตั้งด่านตรวจตราป้องกันปัญหาอาชญากที่ตำรวจ ที่น่าพิจารณา คือ ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 ใช้เวลาเดินทางไปยังที่เกิดเหตุประมาณ 27.97 นาที ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ประจำ สน. ใช้เวลาเดินทางไปยังที่เกิดเหตุประมาณ 22.78 นาที อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เคยมีประสบการณ์สัมผัสการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ 191 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือรับแจ้งเหตุ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 พบว่าตำรวจพูดจาดี ร้อยละ 67.7 ตำรวจขอทราบชื่อ นามสกุล ผู้แจ้งเหตุ ร้อยละ 66.9 พบว่าติดต่อง่าย มีตำรวจคอยรับสายอยู่ตลอดเวลา ร้อยละ 62.2 ตำรวจผู้รับแจ้งใส่ใจสอบถามรายละเอียด ร้อยละ 61.9 พบตำรวจทำงานเชื่อมประสานกันดี ร้อยละ 60.8 พบว่าตำรวจมีสมุดพกติดตัวมาจดรายละเอียดในที่เกิดเหตุ ร้อยละ 56.3 พบว่าตำรวจมีวัสดุอุปกรณ์ รักษาที่เกิดเหตุได้อย่างดี และมีไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 46.2 ที่พบว่ามีตำรวจติดต่อกลับมาเพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลการตรวจสอบ ร้อยละ 27.8 ระบุตำรวจรีบวางสายเกินไป และที่น่าเป็นห่วงมีร้อยละ 10.2 พบว่าตำรวจมีน้ำเสียงคล้ายกับดื่มเหล้าเมามา ตามลำดับ สำหรับประชาชนที่เคยมีประสบการณ์สัมผัสการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจท้องที่ประจำ สน. เพื่อขอความช่วยเหลือหรือรับแจ้งเหตุ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 พบว่าตำรวจพูดจาดี ร้อยละ 75.0 พบว่าติดต่อง่าย มีตำรวจคอยรับสายอยู่ตลอดเวลา ร้อยละ 69.4 ตำรวจขอทราบชื่อ นามสกุล ผู้แจ้งเหตุ ร้อยละ 62.7 ตำรวจผู้รับแจ้งใส่ใจสอบถามรายละเอียด ร้อยละ 61.9 พบตำรวจทำงานเชื่อมประสานกันดี ร้อยละ 61.6 พบว่าตำรวจมีสมุดพก ติดตัวมาจดรายละเอียดในที่เกิดเหตุ ร้อยละ 55.4 พบว่าตำรวจมีวัสดุอุปกรณ์ รักษาที่เกิดเหตุได้อย่างดี ร้อยละ 50.0 ที่พบว่ามีตำรวจติดต่อกลับมาเพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลการตรวจสอบ และมีไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 27.6 ระบุตำรวจรีบวางสายเกินไป และที่น่าเป็นห่วงมีร้อยละ 13.1 พบว่าตำรวจมีน้ำเสียงคล้ายกับดื่มเหล้าเมามา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความพอใจโดยภาพรวมต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหน่วยต่างๆ เมื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ในทุกหน่วยงานของตำรวจ คือ ค่าเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อตำรวจ 191 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 6.87 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ 7.00 ในขณะที่ตำรวจท้องที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพอใจเพิ่มขึ้นจาก 6.36 มาอยู่ที่ 6.98

เมืแวดล้อมในรัศมีไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัยของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 73.1 มีคนดื่มเหล้าเมา ร้อยละ 66.2 บ้านมีเหล็กดัดที่ประตู หน้าต่าง ร้อยละ 53.8 มีร่องรอยการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ (เช่น ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าส่องสว่างในซอย) ร้อยละ 52.2 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น และรอง ๆ ลงไป คือ มีแกงค์/กลุ่มผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ มีคนใช้ ยาเสพติด มีสถานบันเทิง มีบ้านพักอาศัยที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า เป็นต้น เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาออกตามลักษณะสภาพแวดล้อมเสี่ยงในชุมชน พบว่า ร้อยละ 73.2 คิดว่าตนเองอยู่ในสภาพแวดล้อมเสี่ยงและรู้สึกหวาดกลัว และเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มประชาชนที่คิดว่าตนเองไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมเสี่ยง พบว่า ร้อยละ 67.4 รู้สึกหวาดกลัว ร้อยละ 32.6 ไม่รู้สึกหวาดกลัว อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 90 รู้สึกพึงพอใจต่อมาตรการแก้ปัญหาอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพบว่า ร้อยละ 96.5 พึงพอใจต่อมาตรการปฏิทินโจร เพื่อแจกให้ประชาชนแจ้งเบาะแสและมีรางวัลนำจับ ร้อยละ 93.0 พึงพอใจต่อมาตรการ ปะ ฉะ ดะ และร้อยละ 91.1 พึงพอใจต่อมาตรการข้อความสั้น (SMS) ทางมือถือจับโจร ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อมาตรการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ปฏิทินโจร มาตรการ ปะ ฉะ ดะ และการจับโจรด้วย SMS นอกจากนี้ "ประชาชนอุ่นใจ เมื่อพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจตราในชุมชนมากขึ้น ส่งผลความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมลดลง และถ้าชุมชนใดมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีประชาชนก็จะหวาดกลัวต่ออาชญากรรมน้อยกว่าชุมชนที่มีกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุม มีที่รกร้างว่างเปล่า มีสถานบันเทิง มีคนเมาเหล้าและใช้ยาเสพติด เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook