ทักษิณ โดนคุกอีก 5 ปี คดีถือหุ้น-แก้กฎหมายภาษีเอื้อธุรกิจชินคอร์ป ขณะเป็นคู่สัญญารัฐ

ทักษิณ โดนคุกอีก 5 ปี คดีถือหุ้น-แก้กฎหมายภาษีเอื้อธุรกิจชินคอร์ป ขณะเป็นคู่สัญญารัฐ

ทักษิณ โดนคุกอีก 5 ปี คดีถือหุ้น-แก้กฎหมายภาษีเอื้อธุรกิจชินคอร์ป ขณะเป็นคู่สัญญารัฐ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำคุกรวม 5 ปี เกี่ยวกับการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีเอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจในเครือชินคอร์ป แบ่งเป็น

  • 2 ปี จากการถือหุ้นของบริษัทที่เป็นคู่สัญญารัฐ
  • และ 3 ปี จากการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการดังกล่าว

แก้กฎหมายลดภาษีค่ายมือถือ

เอกสารของศาลระบุว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2546 รัฐบาลที่นำโดยนายทักษิณ มีมติให้ลดภาษีสรรพสามิตสำหรับธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจาก 50% มาอยู่ที่ 10%

ไม่ใช่แค่นั้น เอกสารของศาลบอกอีกว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรีของนายทักษิณ ก็ยังเห็นชอบให้หักเงินที่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต ไม่ต้องนำมาคิดเป็นรายได้หรือคิดเป็นค่าสัมปทาน

"คณะรัฐมนตรีที่จำเลยเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 ม.ค. 2546 ให้ลดพิกัดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 10 และมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2546 เห็นชอบแนวทางให้คู่สัญญาภาคเอกชนนำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้หรือค่าสัมปทานที่คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องนำส่งคู่สัญญาภาครัฐได้"

เชื่อทักษิณนำผลประโยชน์รัฐเข้ากระเป๋าเอกชน

แต่ศาลมองว่า ปัญหาของเรื่องนี้ คือ การที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ป เป็นคู่สัญญากับภาครัฐอยู่

ศาลให้เหตุผลอีกว่า นายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวผ่านตัวแทน เท่ากับว่า การแก้กฎหมายภาษีสรรพสามิต 2 ครั้งดังกล่าว เป็นการให้ประโยชน์นายทักษิณและบริษัทโดยใช้อำนาจการเป็นนายกรัฐมนตรี จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ถึง 66,000 ล้านบาท

"ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสองวาระ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำเลยยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยให้บุคคลอื่นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นแทน อันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook