กองทุน FTA มีสิทธิเดี้ยง ปี53 ได้รับงบประมาณแค่ 80 ล้านบาท

กองทุน FTA มีสิทธิเดี้ยง ปี53 ได้รับงบประมาณแค่ 80 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การเปิดเสรีทางการค้ามีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ดังนั้นรัฐบาลจึงตั้งกองทุนเอฟทีเอขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีกระทรวงพาณิชย์สรุปผลการใช้ประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า(กองทุนเอฟทีเอ)ปี2552ว่ามีผู้เสนอโครงการขอรับความช่วยเหลือ8โครงการมูลค่ารวม80ล้านบาทและยังมีโครงการที่รอการพิจารณาอนุมัติอีก4โครงการมูลค่า44ล้านบาทรวมวงเงินที่ขอรับการช่วยเหลือประมาณ120ล้านบาทถือว่าเพิ่มขึ้นกว่า100%หากเปรียบเทียบกับระยะเริ่มก่อตั้งกองทุนเอฟทีเอปลายปี2550จนถึงปี2551ซึ่งมีทั้งหมดเพียง9โครงการมูลค่า45.28ล้านบาทแหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่าสาเหตุที่มีการขอรับความช่วยเหลือมากขึ้นเพราะผู้ประกอบการเริ่มจะได้รับทราบผลกระทบจากการใช้ความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ที่มีผลบังคับใช้มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งและผู้ประกอบการเริ่มให้ความสำคัญในการติดตามแนวทางการใช้ประโยชน์จากกองทุนวิธีการเขียนโครงการเพิ่มขึ้นคาดว่าแนวโน้มการขอรับการช่วยเหลือในปี2553จะมีจำนวนมากขึ้นเพราะความตกลงเอฟทีเอหลายฉบับจะเริ่มปรับลดภาษีลงเหลือ0%การลดภาษีตามความตกลงหลายฉบับดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการโดยขณะนี้ยังเหลือโครงการที่อยู่ระหว่างการเสนอขอรับความช่วยเหลืออีก3โครงการคือรองเท้าบริการสปาและปลาน้ำจืดเป็นโครงการต่อเนื่องล่าสุดทางสมาคมชาวนาไทยและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดชุมพรได้ขอหารือเพื่อเตรียมเสนอโครงการขอรับความช่วยเหลือทั้งสินค้าข้าวและกาแฟเพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการลดภาษี0%ในกรอบอาฟต้าซึ่งจะมีผลในปี2553แต่ก็ยังไม่ทราบความชัดเจนว่าต้องการความช่วยเหลือลักษณะใดเพราะกองทุนเอฟทีเอจะเน้นการให้ความช่วยเหลือในการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดการหาช่องทางการตลาดการจำหน่ายแต่หากต้องการความช่วยเหลือในด้านการผลิตเช่นเรื่องพันธุ์หรือปุ๋ยก็ต้องไปเสนอขอที่กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และที่สำคัญหากต้องการความช่วยเหลือจะต้องมีการดำเนินการร่วมลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมแหล่งข่าวกล่าวอย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวโน้มความต้องการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอเพิ่มขึ้นแต่กองทุนเอฟทีเอกลับได้รับการอนุมัติงบประมาณประจำปี2553เพียง40ล้านบาทจากวงเงินที่เสนอขอไป100ล้านบาทถ้าหากนำมารวมกับงบประมาณที่เหลือจากปี2552ที่คาดว่าจะเหลืออีก40ล้านบาทรวมมีวงเงินกองทุนสำหรับใช้ในปี2553เพียง80ล้านบาทเท่านั้นทั้งที่กองทุนควรจะมีเงินหมุนเวียนปีละไม่ต่ำกว่า100ล้านบาทเช่นเดียวกับปีงบประมาณ2551และ2552ที่ได้รับจัดสรรมาส่วนปี2550ซึ่งเริ่มดำเนินการกองทุนในช่วงเดือนต.ค.ซึ่งอยู่ในช่วงปลายปีจึงได้รับงบประมาณเพียง40ล้านบาทถือว่าเป็นวงเงินต่ำกว่าเป้าหมายการตั้งกองทุนครั้งแรกที่คาดว่าจะมีวงเงินหมุนเวียนปีละ1,000ล้านบาทรูปแบบการดำเนินการยังไม่ใช่กองทุนจริงแต่เป็นโครงการที่ขอรับเงินงบประมาณเป็นรายปีจึงมีขั้นตอนในการพิจารณาอนุมัติซับซ้อนหลายขั้นตอนจนยากต่อการเสนอโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือทำให้การเข้าถึงกองทุนยากสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงการและไม่ได้ติดต่อเข้ามาที่กระทรวงพาณิชย์แต่บางกลุ่มเห็นและเข้าใจถึงประโยชน์จึงมีการขอเงินกองทุนต่อเนื่องหลายเฟสหลายสินค้าเช่นเนื้อโค,ปลาน้ำจืด,ส้มเป็นต้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook