"แพทย์-พยาบาล" หันหลังต้อนรับ นายกฯ เบลเยียม ประท้วงรัฐรับมือโควิด-19 ไม่ได้เรื่อง

"แพทย์-พยาบาล" หันหลังต้อนรับ นายกฯ เบลเยียม ประท้วงรัฐรับมือโควิด-19 ไม่ได้เรื่อง

"แพทย์-พยาบาล" หันหลังต้อนรับ นายกฯ เบลเยียม ประท้วงรัฐรับมือโควิด-19 ไม่ได้เรื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอ-พยาบาลต้านนายกฯ เบลเยียม ตั้งแถว “หันหลัง” ไม่ต้อนรับ ประท้วงรัฐบาลรับมือโควิด-19 ไม่ได้เรื่อง แถมผ่านกฎหมายหยามวิชาชีพ

(19 พ.ค.63) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีกระแสต่อต้าน นางโซฟี วีลเมส นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งเบลเยียม หลังลงนามบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ผ่านการอบรมวิชาชีพเฉพาะเข้าทำงานในตำแหน่งพยาบาล เพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 แพร่ระบาด เมื่อต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยเบลเยียมมีผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 55,559 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 9,080 คน

โดยเบลเยี่ยมเป็นประเทศที่มีอัตราการตายเพราะโควิด-19 สูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับอัตราประชากร

 ขณะที่สหภาพพยาบาลแห่งเบลเยียมออกแถลงการณ์ตำหนิ พร้อมระบุว่าการอนุญาตให้บุคคลใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพ สามารถทำหน้าที่พยาบาลได้นั้น ถือเป็นการกระทำที่ดูถูกอาชีพพยาบาลว่าไม่จำเป็นต้องมีทักษะและใครก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้

นอกจากประเด็นบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาแล้ว รัฐบาลของนางวีลเมสยังโดนวิจารณ์อย่างหนักว่ารับมือสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้ไม่ดีพอ หนำซ้ำยังตัดงบประมาณด้านสาธารณสุข และลดเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง นางวีลเมสจึงตัดสินใจลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและสร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่การแพทย์ที่โรงพยาบาลหลายแห่ง

โดยขณะที่เดินทางไปเยือนโรงพยาบาลแซ็งปิแอร์ในกรุงบรัสเซลส์ โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ มายืนเรียงแถวรอการมาเยือนของนายกรัฐมนตรีโซฟี วิลเมส แต่แทนที่จะหันหน้าปรบมือต้อนรับนายกรัฐมนตรี พวกเขากลับยืนหันหลังเงียบๆ ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นชาสุดขีด หลังขบวนรถของนายกฯ หญิงมาถึง ซึ่งทันทีที่ลงจากรถ นางวีลเมสก็รีบเดินเข้าไปในอาคารโดยไม่กล่าวทักทายหรือแถลงการณ์ใดๆ

แต่ในเวลาต่อมานางวีลเมส ได้ให้สัมภาษณ์กับ ถึงการตัดสินใจผลักดันพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ว่า “เราต้องการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์”

ขณะที่ตัวแทนของบุคลากรทางการแพทย์กล่าวว่า ทีมแพทย์ที่ทำงานแนวหน้ารู้สึกผิดหวังกับการรับมือการระบาดของโควิด-19 โดยรัฐบาล แถมยังมีนโยบายด้านการสาธารณสุขที่แย่ที่สุด เช่น ตัดงบประมาณ ลดเงินเดือน และปัญหาขาดแคลนบุคลากร

ทั้งนี้ เบลเยียมถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุด โดยมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับอัตราประชากร โดยอัตราเสียชีวิตสูงถึง 78 รายต่อประชากร 100,000 คน แต่นายกรัฐมนตรีกลับกล่าวว่าบางทีเบลเยี่ยมอาจจะรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตเกินความจริง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการนับจำนวนผู้เสียชีวิตในเบลเยียมกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพราะมีความกังวลกันว่าอัตราการตายที่สูงที่สุดในโลก อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเบลเยียมในฐานะประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำด้านเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook