กำเนิดสิงห์คอร์ป (ภาค 4)

กำเนิดสิงห์คอร์ป (ภาค 4)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คอลัมน์75ปีบุญรอดกับการผ่านร้อนหนาวที่ยาวนานโดยจิตราก่อนันทเกียรติตอนที่16ลูกหลานกับที่ยืนในธุรกิจครอบครัวคุณสันติภิรมย์ภักดีในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบันของบุญรอดฯมองจุดยืนหรือหลักคิดในการบริหารงานของครอบครัวว่า...ซีอีโอของบุญรอดฯจะไม่ใช่ทำแค่การบริหารกิจการแต่ต้องเป็นทั้งผู้ประสานและผู้จัดการเพราะต้องบริหารคนในครอบครัวที่เข้ามาทำงานให้สามารถทำงานและนำความรู้ความสามารถมาช่วยองค์กรทำงานได้เต็มที่ไม่แพ้ผู้บริหารมืออาชีพอื่นที่เข้ามาทำงานด้วยกันและทุกอย่างต้องเป็นธรรมเพราะมืออาชีพดีๆ...ยังไงก็ต้องมีและต้องใช้ลูกหลานภิรมย์ภักดีที่ทำงานอยู่ทุกคนล้วนต้องปรับตัวต้องไม่ยึดความชอบส่วนตัวจนไม่ฟังใครและในเส้นทางแห่งความก้าวหน้านั้นในการทำงานอย่างเดียวกันถ้าเทียบระหว่างมืออาชีพและคนในครอบครัวแล้วหากความสามารถเท่าๆกันในกรณีนี้...ครอบครัวต้องมาก่อนแต่ถ้าความสามารถห่างกันมากมืออาชีพย่อมต้องได้ตำแหน่งไปโดยมีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องยอมรับคือทุกคนมีความเก่งแต่ไม่ทุกด้านซีอีโอต้องดูให้ออกและดึงความเก่งนั้นออกมาทั้งของลูกหลานและมืออาชีพเพราะคุณสันติมองว่า...ทุกวันนี้...การทำงานแบบonemanshowไม่มีอีกแล้วมีแต่ว่าต้องทำงานเป็นทีมในการทำงานย่อมต้องมีการคุยกันเถียงกันและเมื่อมีการสรุปหรือตัดสินใจแล้วต้องทำตามต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมซึ่งผลที่ออกมาอาจไม่ถูกใจเราก็ต้องยอมรับแล้วการแตกแยกจะไม่เกิดอย่างไรก็ตามคนเราก็ต้องการมีเวลาเป็นส่วนตัวมีความฝันของเราที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้บวกกับการอยากพิสูจน์ว่าความสำเร็จของเราเราสร้างได้เองจากศูนย์โดยไม่ต้องพึ่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับธุรกิจครอบครัวคุณสันติจึงมองว่าลูกหลานของบุญรอดฯ...หากใครจะไปแสดงความสามารถนอกองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคมได้เช่นการได้รับเกียรติให้เป็นนายกสมาคมใดๆก็ถือเป็นการยอมรับจากสังคมภายนอกที่เป็นการพิสูจน์ตัวเองแบบหนึ่งว่า...เราก็มีดีมีความสามารถถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้แสดงศักยภาพให้คนนอกได้รับรู้ไม่ใช่ก้าวหน้าได้เพราะมีธุรกิจครอบครัวหนุนอยู่ซึ่งบุญรอดฯในมุมของความเป็นครอบครัวจะไม่มีขั้นตอนที่วุ่นวายแบ่งง่ายๆเป็น3ส่วนคือ1.การผลิต2.การตลาดและขาย3.การเงินในสมัยคุณปู่คือพระยาภิรมย์ภักดีก็จะเป็นคุณประจวบที่ถูกส่งให้ไปเรียนที่เยอรมนีเพื่อเป็นbrewmasterเพื่อรับผิดชอบด้านการผลิตมีคุณวิทย์ดูแลเรื่องตลาดและการขายส่วนคุณจำนงค์นั้นเมื่อเริ่มบริษัทอายุยังน้อยแต่เมื่อเรียนจบกลับมาก็มาดูแลเรื่องการเงินปัจจุบันเป็นประธานบริษัทคุณวุฒาซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของคุณวิทย์เมื่อเรียนจบกลับมาก็ดูด้านโรงงานโดยรวมในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการคุณวาปีบุตรชายคนที่2ของคุณวิทย์เคยเรียนทั้งที่อังกฤษและอเมริกาก็มาช่วยในส่วนของตลาดต่างประเทศปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการคุณปิยะซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของคุณประจวบก็ได้เรียนจนเป็นbrewmasterคนที่2ของประเทศไทยก็มาดูเรื่องการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้วได้ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการต่อจากคุณประจวบจนถึงปลายปีพ.ศ.2542ก็ได้มอบให้คุณสันติผู้เป็นน้องชายที่เคยช่วยคุณวิทย์ดูแลเอเย่นต์แล้วสร้างงานใหม่ขึ้นเป็นแผนกการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบันของบุญรอดฯโดยคุณปิยะยังคงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารคุณจุตินันท์เมื่อเรียนจบกลับมาก็มารับผิดชอบสายการเงินและการบัญชีในส่วนของคุณจำนงค์ผู้เป็นบิดาปัจจุบันเป็นกรรมการรองผู้จัดการใหญ่คุณโรจน์ฤทธิ์เทพาคำผู้เป็นหลานตาของคุณวิทย์ดูแลโรงงานต่อจากคุณวุฒาในตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่คุณชญานินเทพาคำหลานตาของคุณวิทย์เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการคุณพลิศร์ภิรมย์ภักดีหลานปู่ของคุณวิทย์บุตรชายคุณวาปีดูแลด้านการขายปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่คุณสันต์ภิรมย์ภักดีบุตรชายคนโตของคุณสันติเป็นผู้จัดการสำนักงานนวัตกรรมทางธุรกิจ,กรรมการดูแลสินค้าnonalcoholicคุณปิติภิรมย์ภักดีบุตรชายคนที่2ของคุณสันติเป็นผู้จัดการกลุ่มการตลาดบจก.บุญรอดเทรดดิ้งคุณวุฒินันต์ภิรมย์ภักดีบุตรชายคนโตของคุณวุฒาเป็นผู้จัดการกลุ่มกิจกรรมและฝ่ายกิจกรรมดนตรีทางการตลาดคุณวรวุฒิภิรมย์ภักดีบุตรชายคนรองของคุณวุฒาเป็นผู้จัดการฝ่ายกิจกรรม3คุณศริลสุขุมหลานตาของคุณประจวบเป็นผู้ช่วยประธานกรรมการบริหารคุณทิพวดีสุขุมหลานตาของคุณประจวบเป็นผู้จัดการฝ่ายกิจกรรม2คุณณัฐวรรณทีปสุวรรณลูกสาวของคุณวุฒาเป็นผู้จัดการสำนักงานประชาสัมพันธ์เป็นลูกหลานทั้งหมด17ท่านสำหรับบริษัทอภิมหาใหญ่ที่มียอดขายถึง5หมื่นล้านในปี2552อย่างบุญรอดฯจึงเป็นไปไม่ได้ที่ตระกูลภิรมย์ภักดีและเครือญาติจะสามารถผลิตลูกหลานได้ครบคนในทุกตำแหน่งอย่างเก่งสุดยอดด้วยจึงมีการวางแนวให้ลูกหลานเพื่อให้บริษัทได้มีโอกาสได้มืออาชีพมาร่วมงานอย่างมั่นใจได้ว่าจะไม่ถูกปิดเส้นทางความก้าวหน้าจากลูกหลานของตระกูลนั่นคือรุ่นต่อๆไปของลูกหลานที่จะมาทำงานที่บุญรอดฯต้องมีคุณสมบัติดังนี้-จบการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรีผ่านการฝึกงานหรือเคยทำงานจากที่อื่นมาด้วยยิ่งดี-ไม่มีสิทธิประโยชน์มากกว่าพนักงานคนใดในบริษัท-ต้องมีผลงานที่ชัดเจนจึงจะได้รับการพิจารณาในการได้ก้าวหน้าและถ้าลูกหลานคนใดจะสามารถทำงานที่อื่นได้ทางครอบครัวจะสนับสนุนเต็มที่นี่คือความชัดเจนเพื่อให้ลูกหลานช่วยกันทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพร่วมกับทีมมืออาชีพที่เสริมกำลังจนเป็นทัพสิงห์ที่แข็งแกร่งและกู้ความเป็นที่หนึ่งกลับมาจนได้และพร้อมจะขยายตัวขยายงานให้สมกับที่บุญรอดฯเป็นมรดกที่...ปู่สร้าง...พ่อสาน...ลูกเสริม...หลานสืบต่อ...ต่อๆไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook