ไม่ใช่แค่สัตว์ป่า! "สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม” ก็เสี่ยงเกิดโรคติดต่อได้

ไม่ใช่แค่สัตว์ป่า! "สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม” ก็เสี่ยงเกิดโรคติดต่อได้

ไม่ใช่แค่สัตว์ป่า! "สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม” ก็เสี่ยงเกิดโรคติดต่อได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้เชี่ยวชาญบางคนตั้งสมมติฐานว่าเชื้อไวรัสโคโรนาเกิดจากการติดเชื้อระหว่างสัตว์มาสู่คน ในตลาดสดของเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เช่นเดียวกับโรคซาร์สที่เคยระบาดก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดสดที่ถูกสั่งปิดไปตั้งแต่การเริ่มระบาดของเชื้อไวรัส ได้กลับมาเปิดขายอีกครั้งและสร้างความไม่พอใจให้คนจำนวนมาก การกล่าวโทษสถานที่เช่นนี้ว่าเป็นตัวการให้เกิดโรคระบาดเป็นเรื่องง่าย แต่คนส่วนใหญ่กลับเพิกเฉยต่อความจริงข้อหนึ่ง นั่นก็คือ “การบริโภคเนื้อสัตว์” ของคนทั่วโลกในปัจจุบันก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดเช่นกัน

นั่นเป็นเพราะว่าคนทั่วโลกบริโภคเนื้อในปริมาณที่เยอะมาก และเนื้อที่บริโภคส่วนใหญ่ก็เป็นเนื้อที่มาจากฟาร์มเลี้ยงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เหล่านี้ ผลิตเนื้อมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่บริโภค เป็นสัตว์ที่ถูกขังอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น และถูกเลี้ยงในสภาพที่ไม่ถูกสุขอนามัย

“เมื่อเราเอาสัตว์หลายพันตัวมาอยู่รวมกันอย่างแออัดในพื้นที่ขนาดเล็ก มันจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ รวมทั้งกลิ่นแอมโมเนียที่มาจากการย่อยสลายของเสียที่ส่งผลกับปอดของพวกมัน และไม่มีอากาศบริสุทธิ์กับแสงแดด เมื่อปัจจัยทั้งหมดนี้มารวมกันแล้วก็มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับการเกิดโรคระบาด รวมถึงการแพร่ระบาดด้วย” Michael Greger ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Bird Flu: A Virus of Our Own Hatching กล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเลือกพันธุกรรมบางอย่างขอสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่พึงประสงค์ เช่น อกไก่ชิ้นใหญ่ หรือเนื้อหมูไขมันต่ำ เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สัตว์มีพันธุกรรมที่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงสามารถติดต่อจากสัตว์ตัวหนึ่งสู่สัตว์อีกตัวได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่มีสารพันธุกรรมที่แตกต่างกันที่อาจหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ และที่แย่กว่านั้นก็คือ เชื้อไวรัสสามารถกลายเป็นเป็นเชื้อที่รุนแรงมากกว่าเดิม

“ถ้าอยากสร้างโรคระบาดที่จะระบาดไปทั่วโลก ก็แค่สร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว” Greger กล่าว

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ออกมาเตือนว่าโรคระบาดที่เกิดใหม่มักมีสาเหตุมาจากสัตว์ และอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ก็มีความเสี่ยงสูง รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2003 ระบุไว้ว่า “สุขภาพของปศุสัตว์เชื่อมโยงกับเส้นใยสุขภาพโลก

ผู้คนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า สัตว์ในฟาร์มสามารถก่อโรคระบาดที่ติดต่อจากสัตว์เลี้ยงมาสู่คนได้ เช่น ในปี 2009 เมื่อโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 ระบาดในฟาร์มหมูในพื้นที่อเมริกาเหนือ จากนั้นก็ติดต่อมาสู่คน ซึ่งโรคระบาดในครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อไวรัสโคโรนามีต้นกำเนิดจากค้างคาวป่า ไม่ใช่สัตว์ในฟาร์ม แต่ก็ทำให้ผู้คนเริ่มตื่นตัวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในชีวิต เนื่องจากการระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้น และนำไปสู่คำถามที่ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหาร เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคระบาดใหญ่

การหยุดบริโภคเนื้อสัตว์อย่างสิ้นเชิงคงเป็นวิธีการที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถสร้างระบบผลิตเนื้อสัตว์ที่ส่งผลดีต่อระบบสุขภาพของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของสัตว์ได้

“การลดความหนาแน่นของอุตสาหกรรมปศุสัตว์จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดได้ รวมทั้งลดการขนส่งสัตว์ที่มีชีวิตทางไกล และเปลี่ยนเป็นส่งชิ้นส่วนที่ชำแหละแล้ว ขณะเดียวกันก็สร้างฟาร์มที่แออัดน้อยลง สัตว์เองก็ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมด้วยเช่นกัน” Greger ชี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook