ในช่วงวิกฤต “ไวรัสโคโรนา” แพทย์ควรจะช่วยรักษาใครก่อน

ในช่วงวิกฤต “ไวรัสโคโรนา” แพทย์ควรจะช่วยรักษาใครก่อน

ในช่วงวิกฤต “ไวรัสโคโรนา” แพทย์ควรจะช่วยรักษาใครก่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในภาวะวิกฤต “ไวรัสโคโรนา” ที่ส่งผลให้ประชากรโลกหลายล้านคนล้มป่วย ในขณะที่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ต้องรับภาระหนักในการรักษาชีวิตของผู้คน ทว่าด้วยกำลังคนที่มีอยู่จำกัด ทำให้หลายครั้ง แพทย์และพยาบาลก็ต้องยอมปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างไม่มีทางเลือก

กรณีที่เห็นได้ชัดคือ ในประเทศอิตาลี ที่แพทย์ต้องหาคำแนะนำเกี่ยวกับจรรยาบรรณ และได้รับคำตอบให้เลือกวิธีการที่อยู่บนหลักการที่เน้นประโยชน์สูงสุด หากคุณมีเครื่องช่วยหายใจเพียงเครื่องเดียว จะต้องให้ผู้ที่มีแนวโน้มจะรอดชีวิต แทนที่จะให้ผู้ที่ดูจะไม่มีแนวโน้ม และไม่ใช่ผู้ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลก่อน และไม่ใช่ระบบสุ่ม

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ดร.เอซเคียล เอมมานูเอล รองประธานโครงการระดับสากล และหัวหน้าแผนกจรรยาบรรณทางการแพทย์และนโยบายสุขภาพ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และคณะทำงาน เสนอแนวทางในการใช้หลักจรรยาบรรณ เพื่อจัดสรรกำลังในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นหลักการประโยชน์นิยม ช่วยเหลือผู้ที่มีโอกาสจะทำประโยชน์มากที่สุดในช่วงชีวิตที่เหลือ

นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังระบุว่า บุคลากรทางการแพทย์อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนกำลังคน และเพื่อนร่วมงานบางคนอาจจะล้มป่วย การจัดลำดับความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยให้มีผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้น

หน่วยงานรัฐบางแห่งมีการคาดการณ์ถึงความท้าทายเช่นนี้ และพัฒนาทรัพยากร รวมทั้งแนวทางสำหรับโรงพยาบาลและระบบสุขภาพ

Hastings Center ได้จัดรายการทรัพยากรที่สถาบันทางสุขภาพสามารถใช้ในการเตรียมการ เพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนา รวมทั้งกรณีการขาดแคลนต่างๆ และในปี 2015 กรมสุขภาพของนิวยอร์กได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับประเด็นทางด้านการขนส่ง จริยธรรม และกฎหมาย ในการจัดสรรเครื่องช่วยหายใจ ในระหว่างที่เกิดภาวะขาดแคลนเนื่องจากโรคระบาด แผนของนิวยอร์กและรัฐอื่นๆ ดำเนินการตามแนวทางจากกระทรวงสาธารณสุขของออนแทริโอ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในช่วงการระบาดใหญ่

การวิจัยในเชสต์ เมื่อเดือนเมษายน 2019 จินตนาการถึงการระบาดของโรคหวัด เมื่อปี 1918 ซึ่งมีเตียงในแผนกไอซียูและเครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอ ผู้วิจัยได้ทำโฟกัสกรุ๊ปในแมรีแลนด์ เกี่ยวกับมุมมองในการจัดสรรการรักษาพยาบาล ซึ่งผู้เข้าร่วมระบุว่าควรใช้ทรัพยากรสำหรับช่วยเหลือผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตและมีชีวิตยืนยาวมากกว่า ซึ่งก็เป็นมุมมองแบบประโยชน์นิยมเช่นกัน

“กุญแจสำคัญคือ ความโปร่งใสเกี่ยวกับหลักการ รักษาชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องมั่นใจว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติจากเงินทอง เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และจุดยืนทางการเมือง ในการจัดสรรทรัพยากรที่ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ” ดร.ทอม ฟรีเดน ประธานและซีอีโอของ Resolve to Save Lives และอดีตผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention)

หลักการอีกประการที่แนะนำโดยนักจรรยาบรรณทางการแพทย์ คือการคัดตัวเลือกที่ยากออกจากมือของแพทย์ฝ่ายรักษาที่อยู่แนวหน้า และให้ฝ่ายคัดกรองผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจ นอกจากนี้ การตัดสินใจต้องเป็นอิสระจากประเด็นทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย

“ในทางจริยธรรม การจัดสรรทรัพยากรโดยมีความสามารถในการจ่ายเงินเป็นปัจจัย ถือเป็นวิธีการที่แย่ที่สุดในการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีน้อยในภาวะฉุกเฉิน” ดร.เจอร์รี ลา ฟอร์เจีย หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของ Aceso Global และอดีตผู้เชี่ยวชาญฝ่ายสุขภาพของธนาคารโลก

เมื่อยาต้านไวรัสหรือวัคซีนพร้อมให้บริการ ในระยะแรกก็จะประสบปัญหาขาดแคลนเช่นกัน และคำถามที่จะตามมาอย่างแน่นอนก็คือ “ใครควรจะได้รับวัคซีนก่อน”

ดร.เอมมานูเอลคาดการณ์ว่า เราจะได้เห็นการจัดสรรทรัพยากรในสหรัฐฯ ลักษณะเดียวกับในอิตาลี ซึ่งมีจำนวนเครื่องช่วยหายใจและเตียงไอซียูไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย

“เมื่อคุณคิดถึงการขาดแคลนชุดตรวจไวรัสโคโรนา เราก็เห็นถึงการจัดสรรทรัพยากรแล้ว” ดร.เอมมานูเอลกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook