นายกฯ ปิ๊งไอเดีย! เปลี่ยน “7 วันอันตราย” เป็น “เทศกาลแห่งความสุข” ลดอุบัติเหตุ

นายกฯ ปิ๊งไอเดีย! เปลี่ยน “7 วันอันตราย” เป็น “เทศกาลแห่งความสุข” ลดอุบัติเหตุ

นายกฯ ปิ๊งไอเดีย! เปลี่ยน “7 วันอันตราย” เป็น “เทศกาลแห่งความสุข” ลดอุบัติเหตุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี ขอบคุณทุกหน่วยงานดูแลประชาชนช่วงปีใหม่ ยอมรับยังไม่พอใจสถิติอุบัติเหตุ พร้อมให้แนวทางเปลี่ยนชื่อ 7 วันอันตราย เป็นเทศกาลแห่งความสุข หวังสร้างแรงจูงใจลดอุบัติเหตุ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม. กระทรวงต่างๆ ได้รายงานผลการดำเนินการดูแล อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่ถือว่าผ่านไปด้วยความเรียบร้อย จึงต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ทำงานเสียสละทั้งในพื้นที่ กทม.และทุกจังหวัด ขณะที่ข้อมูลการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ก็ทำให้รัฐบาลได้รู้ข้อมูลว่าการเกิดเหตุและการสูญเสียทั้งเวลาสถานที่

ขณะที่ สาเหตุต่างๆ นั้น ย้ำว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างเต็มที่ และถึงแม้ว่าสถิติจะลดลง แต่รัฐบาลก็ยังไม่สบายใจ เพราะถือว่ายังมีความสูญเสียเกิดขึ้น จึงต้องช่วยกันลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือของทุกคน และหวังว่าเทศกาลใหญ่ต่อไป โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์นี้ ตัวเลขอุบัติเหตุและความสูญเสียจะลดลง รวมถึงความปลอดภัยจะต้องช่วยกันสร้างให้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี

นายกรัฐมนตรี ยังให้แนวทางว่า ควรปรับเปลี่ยนคำว่า 7 วันอันตราย ซึ่งทำให้รู้สึกน่ากลัว ควรจะเปลี่ยนเป็นเทศกาลแห่งความสุข หรือชื่ออื่นที่ฟังดูแล้ว ทำให้ทุกคนได้คำนึงถึงความสุข เพราะหากทุกคนคิดแบบนี้ ก็จะทำให้ช่วยกันลดการสูญเสียลงได้ โดยเฉพาะจากสถิติแล้ว อัตราการสูญเสียเป็นช่วงวัยทำงานหนุ่มสาว ซึ่งจะทำให้ประเทศขาดกำลังคนไป

พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้ไปศึกษาแนวทางการซ่อมแซม ขยายช่องทางถนน หรือสร้างเส้นทางใหม่ เพื่อการจราจร ในอนาคต โดยให้ใช้วิธีทยอยสร้างให้สามารถใช้งานได้แทนที่จะรอให้แล้วเสร็จทั้งหมด ซึ่งอาจจะไม่ทันต่อการใช้ถนนของประชาชน อีกทั้งได้ให้แนวทางการสร้างสิ่งปลูกสร้างต้องห่างไกลถนนหลัก เพราะจะไม่เกิดปัญหาการขยายเส้นทางที่ต้องเวนคืน 

ส่วนขอร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้จักรยานยนต์ใน กทม. จนเกิดปัญหากระทบกระทั่งในการใช้รถใช้ถนน และเกิดปัญหาจราจรตามมานั้น นายกรัฐมนตรีขอให้ทุกคนเคารพกฎจราจรไม่จำเป็นต้องรีบเร่งมากเกินไป และสิ่งสำคัญคือมีน้ำใจในการใช้ถนน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook