เอกชนหนุนรัฐบาลต่ออายุมาตรการช่วยค่าครองชีพ

เอกชนหนุนรัฐบาลต่ออายุมาตรการช่วยค่าครองชีพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยวันที่ 10 กรกฎาคมว่า เห็นด้วยในหลักการ หากรัฐบาลจะต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น การ ลดค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโดยสาร รถสาธารณะ ที่จะครบกำหนดช่วย เหลือจนถึงแค่ช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม มองว่าระยะเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินนโยบายดังกล่าว รัฐบาลควรต่อระยะเวลามาตรการไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันยังไม่ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

การจ้างงานก็ยังวางใจไม่ได้ และ การใช้จ่ายของรัฐบาลก็ยังมีไม่มาก แม้จะมีพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงินแล้ว แต่เงินที่จะ ไหลเข้าสู่ระบบยังอยู่ในขั้นตอนของ การดำเนินการ ต้องใช้เวลาอีกระยะ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรช่วยเหลือประชาชนด้วยมาตรการเดิมไปก่อน เมื่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ กระเตื้องขึ้นพ้นภาวะน่าเปห่วง ก็ค่อยพิจารณายกเลิกมาตรการช่วยเหลือนี้ ในภายหลังได้

"มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพเห็นว่าควรทำต่อ เพราะจะได้ช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งรัฐบาลอาจเก็บเงินเข้ากระเป๋าได้น้อยลง แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ทำแล้วคุ้มค่า เนื่องด้วยในระหว่างที่การอัดฉีดเม็ดเงินจากการกู้เงินยังไม่ออกมาก็ควรช่วยประชาชนไป ก่อน ถ้าหยุดดำเนินการทันทีจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน และกระทบความ เชื่อมั่นได้ นายพรศิลป์ กล่าว

ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การต่ออายุ 5 มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ เห็นด้วยว่าควรจะต่ออายุไปอีก 6 เดือน เพราะขณะนี้เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ทุกมาตรการเดิมที่ทำอยู่สามารถช่วยเหลือลดรายจ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนได้ อย่างไรก็ดี เชื่อว่าหลัง 6 เดือน ต่อจากนี้ไป สถานการณ์างเศรษฐกิจของประเทศน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านพ้นไป เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ทยอยดำเนินการไปก่อนหน้านี้ จะ เริ่มเห็นผลตามมาในระยะถัดจากนี้เป็น ต้นไป

"การต่ออายุทั้ง 5 มาตรการน่าจะใช้งบประมาณจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่ารัฐบาลน่าจะจัดการบริหารงบประมาณได้ตามความเหมาะสม เพราะถือว่าคุ้มค่ากับการนำมาใช้ช่วยเหลือประชาชนในภาวะเศรษฐกิจที่ เป็นอยู่ในเวลานี้ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและการอัดฉีดงบประมาณจากรัฐบาล เข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และต้อง ทำอย่างต่อเนื่องไปก่อน เพื่อพยุงเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าให้ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook