นักวิชาการเชื่อศาลปค.ไม่รับคำร้องมติกกต.ตะเพิด16ส.ว.

นักวิชาการเชื่อศาลปค.ไม่รับคำร้องมติกกต.ตะเพิด16ส.ว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ถึงกรณีที่ กลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีที่ กกต.มีมติให้ 16 ส.ว.พ้นจากความเป็นสมาชิกภาพเพราะถือหุ้นในกิจการสื่อและบริษัทที่รับสัมปทานจากภาครัฐ ว่า เรื่องนี้ทางกลุ่มส.ว.ยื่นร้องไปนั้นคงไม่น่าจะเกี่ยวกับศาลปกครอง และเชื่อว่าศาลปกครองจะไม่รับคำร้องของกลุ่ม40 ส.ว. เพราะมติที่กกต.ออกมาไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง คำสั่งที่ออกมาเป็นเรื่องของการเมือง อีกทั้งกกต.ก็เป็นองค์กรอิสระ ศาลปกครองไปคุม กกต.ไม่ได้ โดยหลักแล้วในกรณีดังกล่าว เมื่อกกต.มีมติออกมาให้ ส.ว.พ้นจากความเป็นสมาชิกภาพ เรื่องก็ต้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ดังนั้น กลุ่มส.ว.ดังกล่าวน่าจะไปต่อสู้ในชั้นศาลรัฐธรรมนูญจะดีกว่า

"ที่กลุ่มส.ว.เห็นว่ามติของกกต.ออกมาไม่เป็นธรรมนั้น กกต.พิจารณาตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญ หากเห็นว่าด้รับความเป็นธรรมก็น่าจะไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าศาลปกครองคงไม่รับคำร้องหากรับขึ้นมาคงยุ่งเพราะจะเกิดการตีกัน ขณะที่หากเกิดศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องเพื่อพิจารณาสมาชิกภาพแล้ว ศาลปกครองก็ถูกยื่นคำร้องเช่นเดียวกัน ก็ยังคิดว่าศาลปกครองคงไม่รับพิจารณา เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่สูงสุดกว่า นายทวีเกียรติ กล่าว

นายเจตฎ์ โทณะวณิก อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า คำสั่งกกต.ที่มีมติออกมาให้ส.ส.หรือส.ว.พ้นความเป็นสมาชิกภาพแล้วตรงนี้จะเป็นเรื่องคุณสมบัติ ที่กกต.พิจารณาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทำให้ต้องส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ตนคิดว่าการที่กลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองนั้น คิดว่าไม่น่าจะผ่านช่องทางดังกล่าวได้ และตนคิดว่าในเมื่อมีช่องทางไปศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่น่าจะมีช่องทางไปศาลปกครองสูงสุดได้ เพราะไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครง อีกทั้งเรื่องนี้ กกต.ก็รับเรื่องจากผู้ร้องมาเพื่อให้ตรวจสอบด้วย

"ประเด็นนี้ กกต.ไม่ได้ออกคำสั่งทางปกครองแต่ กกต.วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าศาลปกครองสูงสุดไม่น่ารับคำร้อง แต่ศาลอาจมองเขตอำนาจในลักษณะที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ หากศาลปกครองรับคำร้องขึ้นมา อาจจะมีปัญหาได้หากศาลรัฐธรรมนูญมีมติยืนตามกกต.ให้ส.ว.ขาดคุณสมบัติ แล้วศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการใดๆจะทำให้มีปัญหาเกิดการขัดกันในเรื่องเขตอำนาจศาลได้ แต่คิดว่าไม่ห่วงเพราะศาลจะมีคณะกรรมการพิจารณาในกรอบเขตอำนาจของศาล และหากศาลปกครองรับคำร้องแล้วศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งได้รับคำร้องก็ต้องมีการพูดคุยกันในเขตแดนอำนาจ นายเจตฎ์ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook