มิ่งขวัญระบุ นักเศรษฐศาสตร์ บอก รบ.ตั้งงบพิเรนทร์

มิ่งขวัญระบุ นักเศรษฐศาสตร์ บอก รบ.ตั้งงบพิเรนทร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 ในวันที่ 2 เวลา 22.00 น. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อดีตรมว.พาณิชย์ อภิปรายว่า งบปี 52 จำนวน 1.83 ล้านล้านบาท บวกงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.16 แสนล้าน รวมมีเงินใช้จ่าย 1.99 ล้าน เมื่อดูงบปี 53 จำนวน 1.7 ล้านล้านบาท นั่นคือ งบลดลงประมาณเกือบร้อยละ 13 บรรดานักเศรษฐศาสตร์ มองว่า ความคิดนี้ดูผิดปกติ บางคนบอกว่า คิดพิเรนทร์ หรืออุตริ เพราะ ในรอบสิบปี เกิดการตั้งงบแบบนี้ตอนปี 41 ต่อปี 42 ช่วงฟองสบู่แตก ซึ่งตอนนั้นคนยอมรับ เพราะปัญหาคือ สถาบันการเงินพัง แต่สถานการณ์ตอนนี้ สถาบันการเงินทุกแห่งยังแข็งแกร่ง เงินสำรองระหว่างประเทศยังเหลือเฟือ ฉะนั้นการตั้งงบแบบนี้เกิดผลคือ สมมติถ้ามีปัญหาการเงินการคลัง แล้วลดงบลง ตรงนี้ยอมรับได้ แต่นี่ไม่มีปัญหา และต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงออกพ.ร.ก.กู้เงิน เอาไปปิดหีบ 2 แสนล้าน ตรงนี้ก็พอรับได้ แต่มีส.ว.บางกลุ่มบอกปิดหีบแค่ 1.2 แสนล้านบาท แสดงว่า 2.8 แสน จะเอาไปกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็พอรับได้ แต่ทำร่างพ.ร.บ.กู้เงิน และร่างพ.ร.บ.งบประมาณด้วย ในสามสี่วัน ทำไมถึงทำแบบนี้ น่าสงสัย การตั้งงบแยกออกมา ปกติไม่ทำกัน ถ้าเศรษฐกิจประเทศไม่เสียหายขนาดหนัก เพราะประชากรแต่ละปีเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายพื้นฐานก็เพิ่มขึ้น แล้วลดงบทำไม

นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า คำถามที่เกิดขึ้นที่ทั่วโลกจะถามคือ 1.ลดงบถึง 2.5 แสนล้าน แล้วทำไมแยกเงินก้อนร่างพ.ร.บ.เงินกู้ออกไป หมายความว่า โยกเงินที่จะอยู่ในงบประจำปีที่ตรวจสอบได้ มีกมธ.คอยดู คือ การตรวจสอบ และมาตรฐานการเงินการคลัง ลดลงเป็นอย่างมาก 2.เสียภาพพจน์ประเทศในเชิงการเงินการคลัง เหมือนสมัยวิกฤตต้มยำกุ้ง ตนจะไม่ทำแบบนี้เด็ดขาด 3.งบ 1.7 ล้านล้านท มีรายจ่ายประจำ 1.4 ล้านล้าน หรือร้อยละ 85 งบลงทุน มีเพียง 2.1 แสนล้าน หรือร้อยละ 12.5 แล้วรัฐบาลบอกว่า ของงบกลางปีกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วทำไมคราวนี้ไม่ใส่พ.ร.บ.เงินกู้ เข้าไปในงบลงทุน แต่กลับมาแยกออกไปนอกพ.ร.บ.งบประมาณ ตรรกะการคิด การอธิบายไม่ชัดเจน 4.งบกระตุ้นกลางปี 1.16 แสนล้าน เอาไปใช้ กระทรวงอื่นๆเยอะ แต่กระทรวงพาณิชย์ พันล้าน อุตสาหกรรม 500 ล้าน ท่องเที่ยว 1 พันล้าน คือ ร้อยละ 2 เศษ ทั้งที่เป็นตัวทำรายได้หลัก

นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า งบปีนี้ 1.7 ล้านล้านบาท ปรากฏว่า กระทรวงท่องเที่ยวฯ ซึ่งทำรายได้อันดับ 1 ของประเทศ แต่ได้ไป ร้อยละ 0.2 คือ 4 พันล้านนิดๆ แต่ตอนนี้วิกฤตเศรษฐกิจ จึงคิดแบบนี้ไม่ได้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ ร้อยละ 0.4 หรือ 6.3 พันล้าน กระทรวงอุตสาหกรรม ร้อยละ 0.3 คือ 5.7 พันล้าน รวม สามกระทรวงรายได้หลักคือ ร้อยละ 0.9 แล้วจะมากระตุ้นเศรษฐกิจ ตกลงเหตุผลไปกันได้หรือ นอกจากนี้ ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจของคนไทย เป็นรูปสามเหลี่ยม มีชาวนา 20 กว่าล้านคน แต่กระทรวงเกษตรฯ ได้ร้อยละ 3.3 ทั้งที่ต้องได้เยอะมาก

นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า หากดูรายละเอียด เช่น งบเอสเอ็มแอลที่เข้าไปสู่หมู่บ้าน ฐานคิดของรัฐบาลทักษิณ คือ ตามความจำเป็นของขนาดหมู่บ้าน ชาวบ้านจัดการเอง ชาวบ้านรู้ความต้องการของตนเองที่ชัดเจน เคารพความคิดของคนในหมู่บ้าน ปรากฏว่า คราวนี้ตัดพรวด 3 หมื่นล้าน ขณะที่ ปี 52 งบ 2.1 หมื่นล้าน ถูกโยกไปในกระทรวงมหาดไทยในชื่อ งบเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ เรื่องขึ้นภาษีต่างๆ คนจนกับคนรวย เสียภาษีกันหมด เพียงแต่เสียคนละรูปแบบกัน ส่วนการกู้ รัฐบาลจะกู้ในประเทศ แต่เอกชนในประเทศต้องการสภาพคล่อง แต่ธนาคารปล่อยสินเชื่อยาก เพราะคงมองว่า เศรษฐกิจไม่ดี ปล่อยรายย่อย เดี๋ยวก็หายหมด รอเก็บไว้เพราะได้ข่าวว่า รัฐบาลจะกู้เงินในประเทศ และเมื่อกู้แล้ว สภาพคล่องในตลาดจะหายไป นอกจากนี้ เห็นบอกว่า จะช่วยเอสเอ็มอีต่างชาติด้วย ตนขอให้พิจารณาเอสเอ็มอีไทยก่อน หรือ เงิน 8 แสนล้าน ผ่านสภาแล้ว ตนคิดว่า แทนที่จะกู้ควรขายพันธบัตร แต่ขอให้อัตราดอกเบี้ยสูงพอสมควร อย่าเอาปเรียบประชาชน ไม่เช่นนั้น คนจะไม่ไปซื้อพันธบัตร

นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า มีคนฝากบอกมาว่า รมว.คลัง เชี่ยวชาญเรื่องหุ้น โตมาจากสายการเงิน รมว.คลัง ชอบบอกว่า หุ้นขึ้นเศรษฐกิจดี แต่คำถามคือ หุ้นขึ้นเศรษฐกิจดีจริงหรือ ตนตอบว่า เฮดฟันด์ ก็เก็งกำไร บวกๆๆเข้าไป ทั้งที่ผลประกอบการของแต่ละบริษัทไม่ดี นอกจากนี้ 4 วันที่ผานมา หุ้นตกวันละสิบกว่าจุด หมายความว่า คนเริ่มไม่ไว้ใจ นอกจากนี้ กู้มาแล้ว 1.4 ล้านล้าน จะกู้อีกหรือไม่ จะเอาตรงไหนมาโปะ ตอนนี้ก็สร้างหนี้สูงสุดในประวัติศาสตร์แล้ว คนไทยจะเป็นหนี้ไปอีกกี่ปี บางคนบอก 8 ปี 12 ปี 18 ปี จะหาเงินใช้หนี้อย่างไร และการกระตุ้น จะกระตุ้นอะไร ต้องบอกให้ชัด ทั้งนี้เงินทั้งหลายขอให้แยกเป็นสองกอง กองแรกทำเอง อีกกองกระจายความเสี่ยงให้เอกชนมาลงทุน ขอให้รอบคอบ ถ้าพลาดประเทศเจ๊ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook