ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 91

ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 91

ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 91
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (8 พ.ค. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง วินิจฉัยว่าสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 โดยเห็นว่าแม้กฎหมายลูกมีบทบัญญัติเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเพียงการคำนวณคิดอัตราส่วนเพื่อให้ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

>> ผู้ตรวจการแผ่นดินตีตกปมเลือกตั้งโมฆะ แต่มีมติส่งศาลวินิจฉัยสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

>> ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยกฎหมายปาร์ตี้ลิสต์ หลังผู้ตรวจการพบขัดกันเอง นัดเคาะ 8 พ.ค.

โดยเอกสารข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยว่า วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องกรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ หรือไม่ 

ตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และที่ประชุมได้ปรึกษาหารือร่วมกันแล้วลงมติ ปรากฏว่าผลการลงมติว่าศาลโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ และคิดอัตราส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๒) 

แม้บทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ มีการบัญญัติรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ แต่ก็เป็นเพียงการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ คิดอัตราส่วนเพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้ครบจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยกำหนดวิธีการคิดคำนวณในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรให้ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคนดังปรากฏรายละเอียดตามมาตรา ๑๒๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ซึ่งเป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง และวรรคสามแล้ว

จึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๑ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าวเป็นคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ร้องเรียนปัญหาการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ซึ่งที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ มาตรา 128 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ขัดหรือแย้งกับมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่ามาตรา 128 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีการเพิ่มบทบัญญัติที่มีเนื้อหาเกินกว่ามาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การคำนวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวข้างต้นในวันนี้

อย่างไรก็ตาม ผลจากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาดังกล่าว คาดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะยึดแนวทางการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตามสูตรของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่จะมีพรรคการเมืองที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ส.ส. 1 คน ได้รับการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อประมาณ 11 พรรคการเมือง และเมื่อรวมกับพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเกินกว่าค่าเฉลี่ย ส.ส. 1 คน ก็จะมีพรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อจำนวน 26 พรรค เว้นพรรคเพื่อไทยที่จะไม่ได้รับการจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อ เนื่องจากจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ได้รับเลือกตั้งมีจำนวนสูงกว่าจำนวน ส.ส.พึงมีของพรรคแล้ว

>> คาดการณ์จำนวน ส.ส. 500 คน 27 พรรคเข้าสภา! พรรคเล็กเพียบ

ขณะที่เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) กกต.เพิ่งแถลงข่าวประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างเป็นทางการจำนวน 349 เขตทั่วประเทศ ขาดไปเพียง 1 เขต เนื่องจากที่เขต 8 เชียงใหม่ กกต.มีมติสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่

>> กกต. รับรองผลเลือกตั้ง 349 เขต ยกเว้นเชียงใหม่ เขต 8 รอเลือกอีกรอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook