เลือกตั้ง 2562: เจาะ 3 สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

เลือกตั้ง 2562: เจาะ 3 สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

เลือกตั้ง 2562: เจาะ 3 สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าอำนาจคำนวณสูตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่จะเลือกแบบไหน ยังไม่ชัด มีเพียงรายงานข่าวว่าสำนักงาน กกต. กำลังพิจารณาอยู่ 3 รูปแบบ เพื่อเสนอต่อ 7 เสือ ลงมติ

สื่อทุกสำนักรายงานไปในทิศทางเดียวกันว่า ขณะนี้เหลือเพียง 3 สูตรที่จะมีการพิจารณาเพื่อเสนอให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเพื่อใช้เป็นต้นแบบคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ สำหรับการรับรองผลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 95 ภายในวันที่ 9 พ.ค.นี้ โดย 3 สูตรที่มีการกล่าวถึง คือ วิธีการคำนวณที่มีการนำเสนอมาโดย กกต. เองที่จะทำให้มีพรรคเล็ก ซึ่งได้คะแนนไม่ถึง 71,057 คะแนน ได้ ส.ส. 1 ที่นั่ง จากค่าผันแปรของการคำนวณ อันเป็นผลมาจากการโอเวอร์แฮงก์ได้ ส.ส. เกินพึงมีของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเบ็ดเสร็จหากใช้สูตรนี้จริง จะมีพรรคที่ได้ ส.ส. ประมาณ 27 พรรค และจะทำให้สมการการเมืองของการจัดตั้งรัฐบาลมีการขยับ โดยเฉพาะกลุ่มที่เคลมว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่จับขั้วกันไว้แล้วเสียงจะลดลง ได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งแต่อย่างใด

ขณะที่อีก 2 สูตร ที่มีการพูดถึงจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ สูตรของอดีต กกต. สมชัย ศรีสุทธิยากร ที่ลงสมัคร ส.ส. กับค่ายสีฟ้า แต่อกหัก คำนวณโดยยึดถือคะแนนเฉลี่ย 71,057 เป็นตัวตั้ง และมีการแปรผันตัวเลขจากโอเวอร์แฮงก์เช่นกัน แต่จะมีพรรคที่ได้ ส.ส. ทั้งหมด 15 พรรค โดยที่พรรคพลังชาติไทย ซึ่งได้คะแนน 73,871 คะแนน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย 71,057 ไม่ได้ ส.ส.

ส่วนสูตรสุดท้ายของ นายโคทม อารียา ซึ่งก็มีดีกรีเป็นอดีต กกต. เช่นกัน คำนวณโดยยึดคะแนนกลาง 71,057 เป็นตัวตั้งเหมือนกัน และคำนวณตามสูตรเดียวกับของนายสมชัย แต่ปรับตามจุดทศนิยม จนทำให้มีพรรคที่ได้ ส.ส. ทั้งสิ้น 16 พรรค และทุกพรรคที่มีคะแนนมากกว่าค่าเฉลี่ยจะต้องได้ ส.ส.นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 รูปแบบ ไม่ว่าจะของสำนักงาน กกต. และของอดีต กกต. มีการตีความกฎหมายที่ต่างกันเล็กน้อย ผลคำนวณจึงแตกต่างกันเป็นหน้ามือกับหลังมือ ดังนั้นสูตรไหนคือสูตรที่ถูกต้อง หรือสูตรที่ถูกเลือก อีกไม่กี่วันนี้คงได้รู้กัน

แต่หากย้อนกลับไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่พิจารณาคำร้องของ กกต. เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา มีการระบุชัดเจนว่าอำนาจเป็นของ กกต. อยู่แล้ว ดังนั้น กกต.จะตัดสินใจใช้สูตรไหน ก็คงต้องว่ากันตามนั้น ส่วนจะมีการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบหรือไม่ คงต้องดูที่ผลของการคำนวณอีกครั้งว่าใครคือผู้มีส่วนได้หรือส่วนเสีย และต้องไม่ลืมเรื่องช่องทางการร้องด้วย แต่ที่สำคัญที่สุด ณ เวลานี้ มีคำร้องของ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วว่า มาตรา 128 ของ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ขัดมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ และศาลจะมีคำวินิจฉัยออกมาเมื่อใด ก่อนหรือหลัง กกต. ประกาศรับรองผล ส.ส. วันที่ 9 พ.ค.นี้ และคำวินิจฉัยของศาลจะเปลี่ยนแปลงบริบทของการเมืองไทยมากน้อยขนาดไหน อีกไม่นานเกินรอคงได้รู้กัน!!!

>> ผู้ตรวจการแผ่นดินตีตกปมเลือกตั้งโมฆะ แต่มีมติส่งศาลวินิจฉัยสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook