เลือกตั้ง 2562: เปิดชื่อตุลาการชี้ชะตา "ไทยรักษาชาติ" หลังรับคำร้องพิจารณายุบพรรค

เลือกตั้ง 2562: เปิดชื่อตุลาการชี้ชะตา "ไทยรักษาชาติ" หลังรับคำร้องพิจารณายุบพรรค

เลือกตั้ง 2562: เปิดชื่อตุลาการชี้ชะตา "ไทยรักษาชาติ" หลังรับคำร้องพิจารณายุบพรรค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของพรรคไทยรักษาชาติเช่นนี้ ที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณากันว่า จะยุบหรือไม่ยุบพรรคนี้ หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาว่า การเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นตัวแทนของพรรคไปชิงนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีความผิดหรือไม่ ซึ่งคณะตุลาการชุดนี้ทั้ง 9 คน เป็นใครกันบ้าง

>> เลือกตั้ง 2562: ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้อง "ยุบพรรคไทยรักษาชาติ"

>> “ศาลรัฐธรรมนูญ” รายได้ใช่ย่อย! ลุ้นสั่งออกหัว-ก้อย “พรรคไทยรักษาชาติ”

คณะตุลาการ 9 คนนี้ประกอบด้วยประธาน 1 คน และตุลาการอีก 8 คน ซึ่งประธานศาลรัฐธรรมนูญคือ นายนุรักษ์ มาประณีต โดยตุลาการรายนี้เคยวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการจัดรายการชิมไปบ่นไป นอกจากนี้เคยวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน แต่เคยตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในคดีอำพรางการบริจาค 258 ล้านบาท

ส่วนอีก 8 คนได้แก่

  • นายจรัญ ภักดีธนากุล เคยเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตั้งแต่ปี 2540 ก่อนจะมาเป็นเลขาธิการศาลฎีกา เมื่อปี 2544 แต่หลังจากการรัฐประหารปี 2549 นายจรัญได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม

  • นายชัช ชลวร เข้าสู่วงการศาลด้วยการเป็นผู้พิพากษาตั้งแต่ปี 2517 หลังจากนั้นได้รับการเลื่อนตำแหน่งมาโดยตลอด จนมาเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2551 แต่ลาออกจากตำแหน่งนี้เมื่อปี 2554 ภายหลังเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น หลังจากเป็นเสียงข้างน้อยที่ตัดสินเมื่อปี 2555 ให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ไม่ต้องพ้นสภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพราะถูกจำคุกในวันเลือกตั้ง แต่คนอื่นๆ ที่เหลือตัดสินให้พ้นสภาพ

  • นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ เคยเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย ก่อนได้รับการสรรหาให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2556

  • นายบุญส่ง กุลบุปผา เคยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหลายจังหวัด ได้แก่ พัทลุง สุราษฎร์ธานี จันทบุรี และเคยเป็นผู้พิพากษาในศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา แต่เมื่อมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับได้รับการวิจารณ์อย่างหนักหลังจากไม่รับวินิจฉัยการแก้รัฐธรรมนูญด้วยการยกร่างใหม่ เคยวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่ง ทั้งยังเคยวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน
  • นายปัญญา อุดชาชน เติบโตมาจากสายงานการบริหารส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย โดยเริ่มจากการเป็นปลัดอำเภอ ภายหลังเริ่มเบนเข็มเข้ามาทำงานด้านวิชาการและเกี่ยวกับศาลมากขึ้น และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2558

  • นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เช่นเดียวกับนายปัญญา ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2558 หลังการรัฐประหาร เคยเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้แต่งหนังสือชื่อ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475"

  • นายวรวิทย์ กังศศิเทียม เริ่มต้นเส้นทางกฎหมายจากการเป็นอัยการของ จ.สกลนคร ก่อนย้ายมาที่ จ.อุดรธานี จากนั้นได้เติบโตในสายงานมาเรื่อยๆ และเมื่อปี 2557 ได้รับการส่งเสริมให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเห็นชอบในเวลาต่อมา

  • และ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เป็นอีกคนที่ผ่านการทำงานด้านศาลมาอย่างยาวนาน แต่นายอุดมศักดิ์ เคยร่วมวินิจฉัยให้นายสมัคร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ทั้งยังตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook