สานต่อดราม่าวัดทาสีทอง ชาวบ้านถามกลับ กรมศิลป์ไปไหนมา-เพิ่งจะโผล่

สานต่อดราม่าวัดทาสีทอง ชาวบ้านถามกลับ กรมศิลป์ไปไหนมา-เพิ่งจะโผล่

สานต่อดราม่าวัดทาสีทอง ชาวบ้านถามกลับ กรมศิลป์ไปไหนมา-เพิ่งจะโผล่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวบ้านใกล้วัดโพธารามต่างสงสัยในประเด็นดราม่า หลังถูกวิจารณ์ซ่อมทาสีโบสถ์สีทองเอง ถามกลับกรมศิลปากรหายไปไหน ที่ผ่านไม่เคยโผล่มาสำรวจ ทำให้ต้องหาทางบูรณะกันเอง

จากกรณีที่ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร ได้โพสต์ข้อความเตือนผ่านทางเพจเฟซบุ๊กบริษัทสี TOA เกี่ยวกับโครงการบูรณะซ่อมแซมวัดโพธาราม หรือ วัดบ้านคอย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่ประดับใหม่ด้วยการทาสีทองอร่ามไปทั้งโบสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย เพราะว่าภาพดังกล่าวนั้นโพสต์เอาไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบ 2 ปีก่อน แต่ทางสำนักศิลปากรเพิ่งจะมาตักเตือน ตามข่าวที่รายงานไปแล้วนั้น

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังวัดโพธาราม สถานที่ที่กลายเป็นประเด็นดราม่าก็พบว่าโบสถ์ของวัดในปัจจุบันนี้ ถูกทาสีทองอร่ามตามที่ปรากฏให้ภาพจริง นายชัยชนะ ศรีเหรา อายุ 54 ปี คณะกรรมการวัดโพธาราม เปิดเผยว่า โบสถ์แห่งนี้เป็นโบสถ์มหาอุตม์ที่มีอายุเก่าแก่ ในอดีตชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ถูกปิดตายไม่ได้ใช้งานมานาน สั่งห้ามประชาชนเข้าไปโดยเด็ดขาด เพราะทางวัดเกรงว่าโบสถ์หลังนี้จะพังถล่มลงมา

>> พีคในพีค ดราม่าทาสีทองซ่อมวัด กรมศิลป์โดนถามกลับ...เพิ่งตื่นหรือ?

จนกระทั่ง พระครูอนุกูลปัญญาวุธ (ปรีชา ปญฺญาวุโธ) พธ.บ. มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีกลุ่มจิตอาสาชื่อ “คนร่วมทาง” กับพนักงานของธนาคารกรุงไทย เข้ามาติดต่อกับทางวัดเนื่องจากเห็นว่าโบสถ์หลังนี้ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ขออนุญาตเข้ามาบูรณะเจ้าอาวาสจึงได้ปรึกษากับชาวบ้าน

จากการประชุมลงความเห็นว่า การที่เขามาช่วยบูรณะก็เป็นเรื่องดี เพราะโบสถ์หลังนี้ใกล้พังแล้ว ล่าสุดมีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร สุพรรณบุรี ที่ 2 เข้ามาแจ้งว่าโบสถ์หลังนี้มีมีอายุเกิน 100 ปี หน่วยงานเอกชนและวัด ไม่สามารถมาบูรณปฏิสังขรณ์เองได้ เนื่องจากผิดระเบียบของกรมศิลปากร ซึ่งหากจะทำอะไรต้องขออนุญาตผ่านกรมศิลปากรเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ทางวัดและชาวบ้านก็ไม่ทราบว่าโบสถ์หลังนี้มีอายุเท่าไหร่ และที่สำคัญทางกรมศิลปากรก็ไม่เคยเข้ามาสำรวจใดๆ หรือแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบโบราณสถานเลย จนกระทั่งมีหน่วยงานเอกชนมาขอบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ และเพิ่งมีการแชร์ในโลกโซเชียลกลับกลายเป็นปัญหานี้ขึ้นมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook