ผมไม่ใช่ฮีโร่ "หมอแฮร์ริส" ยกเครดิตให้หน่วยซีล-ทีมหมูป่า แข็งแกร่งสุดเท่าที่เคยเจอ

ผมไม่ใช่ฮีโร่ "หมอแฮร์ริส" ยกเครดิตให้หน่วยซีล-ทีมหมูป่า แข็งแกร่งสุดเท่าที่เคยเจอ

ผมไม่ใช่ฮีโร่ "หมอแฮร์ริส" ยกเครดิตให้หน่วยซีล-ทีมหมูป่า แข็งแกร่งสุดเท่าที่เคยเจอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย ได้ต่อสายวิดีโอคอล พูดคุยกับ นายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส วิสัญญีแพทย์ นักดำน้ำหนึ่งในทีมกู้ภัยคนสำคัญ ที่เป็นผู้ตรวจเช็คสภาพร่างกายเด็กๆ และโค้ชทีมหมูป่า ก่อนถูกนำตัวออกจากถ้ำหลวง โดยได้กล่าวขอบคุณการทำงานที่ยอดเยี่ยมของเขา และว่าทีมกู้ภัยจากสำนักงานตำรวจกลางออสเตรเลีย หรือ เอเอฟพี และนายแพทย์แฮร์ริส เป็นความภาคภูมิใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนออสเตรเลียและทั้งโลก ทั้งๆ ที่นายแพทย์แฮร์ริส อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เนื่องจากต้องสูญเสียคุณพ่อ หลังปฏิบัติกู้ภัยสำเร็จเพียงไม่กี่ชั่วโมง

>> "หมอแฮร์ริส" สูญเสียคุณพ่อ หลังจบภารกิจถ้ำหลวงเพียงไม่กี่ชั่วโมง

นายแพทย์แฮร์ริส เผยว่าตนเองไม่ใช่ฮีโร่ แต่ขอยกเครดิตให้กับเด็กๆ และโค้ชทั้ง 13 คน รวมไปถึงทหารหน่วยซีล 4 คน ที่ดูแลเด็กๆ ภายในถ้ำ เป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยเจอ ทุกคนสร้างกำลังใจให้กันเองและรับผิดชอบตัวเอง ซึ่งหากพวกเขาไม่เป็นเช่นนั้น ภารกิจก็คงไม่สำเร็จ 

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเทิร์นบูล ได้สอบถามนายแพทย์แฮร์ริส ถึงจุดอันตรายที่สุดในภารกิจครั้งนี้คืออะไร ซึ่งนายแพทย์แฮร์ริส เผยว่า ช่วงหลายร้อยเมตรที่ต้องอยู่ใต้น้ำเป็นช่วงที่ผ่านออกมายากที่สุด จากระยะทางทั้งหมด 2.5 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่วงสุดท้ายของถ้ำ ตลอดระยะทางการมองเห็นเป็นศูนย์ เต็มไปด้วยดินโคลน และเหมือนคุณต้องปิดตาออกมาตลอดเส้นทางในถ้ำ ขณะที่ในมือข้างหนึ่งต้องประคองตัวเด็ก และตัวนั้นก็แหวกผ่านโขดหินและโพรงช่องเล็กๆ มากมาย

Thai NavySEALภารกิจลำเลียงทีมหมูป่าออกจากถ้ำหลวง

ด้าน พันจ่าอากาศเอกเดริค แอนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็เล่าว่าเด็กๆ และโค้ชก็ถือว่าฟื้นตัวได้รวดเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้พวกเขาก็ยังตั้งใจจะมีชีวิตรอดไปด้วยกัน ซึ่งสร้างกำลังใจให้กันและกันในทีมหมูป่าอะคาเดมีได้เป็นอย่างดี

ส่วนความยากลำบากที่ทีมกู้ภัยยกให้เป็นปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยความท้าทายครั้งหนึ่งในชีวิตต้องเผชิญ แอนเดอร์สันยกให้สภาพอากาศเป็นอุปสรรคสำคัญ ซึ่งเขาเล่าว่า เมื่อกองทัพสหรัฐฯ มาถึง ถ้ำหลวงยังคงแห้งสนิท แต่เมื่อฝนตกลงมาในเวลาเพียงไม่ถึงชั่วโมงครึ่ง น้ำก็ท่วมถ้ำหลวงสูงประมาณ 2 ถึง 3 ฟุตแล้ว ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ซับซ้อนกว่านั้น ก็คือเด็กๆ และโค้ช ไม่เคยดำน้ำมาก่อน และร่างกายของทั้ง 13 ชีวิตไม่ได้สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ออกซิเจนในถ้ำที่ลดลงทุกวัน รวมถึงมีแนวโน้มว่าฝนจะตกลงมาเพิ่ม

สาเหตุดังกล่าว ทำให้ต้องตัดสินใจช่วยเหลือหมูป่าทั้ง 13 คน ออกจากถ้ำในวันที่สภาพอากาศยังเอื้ออำนวยทันที ด้วยการให้เด็กๆ สวม Wet Suit สำหรับประดาน้ำ พร้อมหน้ากากออกซิเจนแบบเต็มใบหน้า ก่อนเคลื่อนย้ายออกจากถ้ำหลวง ซึ่งทีมประดาน้ำได้ซักซ้อมกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ที่น้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงกับ 13 หมูป่าก่อนเริ่มปฏิบัติการ ขณะเดียวกันหน้ากากช่วยหายใจก็ถือเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญ หากเด็กๆ หวาดกลัวเมื่อต้องผ่านโพรงถ้ำแคบ หรือหากน้ำเข้าไปในหน้ากากออกซิเจน

>> เปิดคลิปภาพ "หน่วยซีล" ปฏิบัติการลำเลียงทีมหมูป่า 13 ชีวิต ออกจากถ้ำหลวง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook