นักวิทยาศาสตร์เผยความลับ “ชนเผ่าทะเล” ดำน้ำลึกโดยไม่ใช้อุปกรณ์ได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์เผยความลับ “ชนเผ่าทะเล” ดำน้ำลึกโดยไม่ใช้อุปกรณ์ได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์เผยความลับ “ชนเผ่าทะเล” ดำน้ำลึกโดยไม่ใช้อุปกรณ์ได้อย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์เผยเบื้องหลังความสามารถของชาวบาจาว ชนเผ่าทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถกลั้นหายใจได้เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ ขณะที่ดำน้ำลึกกว่า 10 เมตรเพื่อหาปลาในทะเล โดยอาศัยแค่น้ำหนักตัว หน้ากากไม้ และการหายใจเอาอากาศเพียงครั้งเดียว รวมทั้งไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้มาจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยในวารสาร Cell เกี่ยวกับการไขปริศนาครั้งนี้ โดยใช้เบาะแสจากงานวิจัยว่าด้วยแมวน้ำที่สามารถดำน้ำได้นาน เนื่องจากมีม้ามที่ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งทำหน้าที่เก็บเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ลำเลียงออกซิเจน จากนั้นจึงใช้เครื่องอัลตราซาวนด์วัดขนาดม้ามของชาวบาจาว จำนวน 43 คน และเปรียบเทียบกับขนาดม้ามของชาวซาลวน ซึ่งเป็นชนเผ่าเกษตรกร พบว่าม้ามของชาวบาจาวมีขนาดใหญ่กว่าม้ามของชาวซาลวนราว 50% เมื่อศีรษะจมลงในน้ำ อวัยวะจะมีการหดตัว และม้ามที่ใหญ่ขึ้นก็จะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ลำเลียงออกซิเจนจำนวนมากขึ้นจะถูกปั๊มเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ และปอด มากขึ้น ทำให้ทำให้ชาวบาจาวสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์พบว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้มาจากความบังเอิญ แต่เป็นการปรับตัวตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีการคัดสรรโดยธรรมชาติ (Natural Selection)

นอกจากนี้ การค้นพบครั้งนี้ยังเอื้อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุตัวผู้ป่วยที่อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต หากพวกเขาประสบภาวะขาดออกซิเจน เช่น ในขณะที่ผ่าตัด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook