ขยายปมร้อน - วิทยุ (ไม่รัก) ชุมชน

ขยายปมร้อน - วิทยุ (ไม่รัก) ชุมชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ระบุว่า คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

หลังการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องราวที่อยู่ใต้ดิน ก็กล้าที่จะเปิดเผยตัวตน

วิทยุชุมชน ต่างก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด

การจับกุม ปิด ยึดอุปกรณ์การสื่อสาร เป็นเรื่องราวใหญ่โตระดับชาติ

เพราะนี่คือการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์

การเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเต็มไปด้วยสิทธิเสรีภาพ ทำให้รวมๆ แล้วหากนับเป็นชุมชน ก็นับเป็นชุมชนวิทยุท้องถิ่นที่กำเนิดโดยมาตรา 40 นี้มีขนาดใหญ่ถึงขั้นสามารถต่อรองกับอำนาจรัฐ

ดูเหมือนว่าประชาธิปไตยจะเบ่งบาน ขจรจายไปทั่วทุกหัวระแหง

แต่การเติบโตที่ว่า กลับเป็นภัยแก่ตัว !

ยิ่งวิทยุชุมชนเติบโตเท่าใด ก็ยิ่งเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้ที่เห็นประโยชน์

ทั้งที่ปรัชญาของการตั้งวิทยุชุมชนนั้นไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร หากแต่มีขึ้นเพื่อประโยชน์ของชุมชน

แต่ไม่นานนัก ชุมชนต่างก็เห็นว่า การสนับสนุนการเมือง ขั้วการเมือง เป็นประโยชน์ของชุมชน

ยิ่งในช่วงที่การเมืองขัดแย้งกันรุนแรง และเปิดเผย วิทยุชุมชน ก็ไม่ลังเลที่จะเผยตัวตนว่ายืนอยู่ข้างใคร

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้วงเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา วิทยุชุมชนมีส่วนร่วมด้วยช่วยทำให้ ชาติบอบช้ำ

การระดมคนมาชุมนุมสนับสนุน หรือต่อต้านทางการเมือง ถูกปลุกเร้าผ่านวิทยุชุมชน

แม้กระทั่งการรุมฆ่าชายคนหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ที่ จ.เชียงใหม่ ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วิทยุชุมชนมีส่วนไม่มากก็น้อย

คลื่น-การสื่อสาร เพื่อชุมชน ที่ค่อยเติบใหญ่จนคิดว่าแข็งแกร่ง กลับกลายเป็นการเติบโตเพื่อทำให้คนไม่รักกัน

สิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร มีผลบั้นปลายที่ความขัดแย้งทางการเมือง และบานปลายไปจนถึงขั้นยกกำลังเข้าห้ำหั่นกัน

จริงอยู่ ไม่มีกฎกติกาใดๆ ที่ไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

แต่เมื่อการใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินขอบเขต หรือวางกรอบการใช้สิทธิเสรีภาพตามอำเภอใจ กฎ-ระเบียบอันเป็นที่ยอมรับอย่างสากล ย่อมเป็นสิ่งจำเป็น

ไม่เพียงแค่เพื่อประโยชน์ของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง

แต่ที่มาของการตัดสินใจประสานงานกับ กทช.ของ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เพื่อให้ดำเนินการกับวิทยุชุมชนที่ จ.เชียงใหม่ และลำพูน รวม 5 สถานีนั้นไม่เพียงเพราะความผิดกฎหมายในตัวของวิทยุชุมชนอยู่ก่อนแล้ว

หากแต่มีการตรวจสอบแน่ชัดแล้วว่า แนวทางที่ผ่านมา และที่เป็นอยู่ของวิทยุชุมชนเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ชุมชนไม่รักกัน

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เพราะการปลุกเร้าให้ต่อต้านประชาธิปัตย์ ในช่วงที่หาเสียงเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมา

ไม่ใช่เพราะ ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ประสบเหตุกับตัวเอง

หากแต่บทสรุปเรื่องนี้ ถูกรายงานมาเป็นทอดๆ ตามลำดับชั้น

อันเป็นขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม ซึ่งมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เป็นประธาน

ต้องไม่ต้องไปย้อนดูว่าบทบาททางการเมืองของวิทยุชุมชนใน 2 จังหวัดที่ว่านี้ จี๊ดจ๊าด ขนาดไหน

แต่ต้องมองไปก่อนหน้าโน้นว่า ก่อนที่จะมีวิทยุชุมชน แล้วคนในชุมชนอยู่กันอย่างไร ?

ตะลุยข่าว : ตามรอยจ้างฆ่า...สแตมฟอร์ด

สามวันที่แล้วต่างกับสามเดือนก่อนหน้าลิบลับ นับตั้งแต่ โดนัลด์ ไวท์ติ้ง สัญชาติอเมริกันสามีรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด สาขาหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกคนร้ายดักยิงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook