นายกฯยันไม่ทำประ ชามติแก้รธน.เน้นเปิดเวทีฟังความเห็น

นายกฯยันไม่ทำประ ชามติแก้รธน.เน้นเปิดเวทีฟังความเห็น

นายกฯยันไม่ทำประ ชามติแก้รธน.เน้นเปิดเวทีฟังความเห็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ทั้งคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตน แต่ยังมีประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกัน ซึ่งขณะนี้ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา อยู่ระหว่างพิจารณา เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปทางกฎหมาย โดย นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นการถามความคิดเห็นของประชาชน ตามหลักรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่ในรูปแบบการทำประชามติ จะเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เน้นการทำความเข้าใจ ซึ่งยังไม่มีการตั้งกรอบระยะเวลา โดยมอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดรับผิดชอบในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อรวบรวมความเห็นและกฤษฎีกาได้ศึกษาแล้ว จะให้ นายยงยุทธ นำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง กระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร ที่จะพิจารณาต่อไป"มีส่วนร่วมมากกว่า เราเน้นกระบวนการในการมีส่วนร่วมข้อคิดเห็น ยังไม่ได้ไปถึงข้อสรุป ว่าจะดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น" นายกรัฐมนตรี กล่าวนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จตามที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาหรือไม่นั้น ความสำเร็จที่สำคัญ คือการสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ วิปรบ.บอกแก้รธน.ชัด31ก.ค.-ไม่ถอนปรองดอง นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมาธิการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมในวันนี้ได้มีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาทิ การแก้ไขเป็นรายมาตรา การทำประชามติ และการแก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งมีการเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสีย และจะนำไปร่วมหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล สรุปความชัดเจนอีกครั้งในวันพรุ่งนี้  ทั้งนี้ ที่ประชุมวิปรัฐบาล เห็นด้วยกับการแก้ไขเป็นรายมาตรา ตามที่ได้เสนอแก้ในมาตรา 291 แต่ยังมีความกังวลถึงการใช้ดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถึงแม้จะไม่ได้ห้ามการลงมติวาระ 3 เพราะถือเป็นอำนาจของรัฐสภานั้น แต่หากมีการเดินหน้าลงมติวาระ 3 จริง อาจมีผู้ที่เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดิม ซึ่งคำวินิจฉัยของศาล จะเป็นผลผูกพันกับทุกองค์กร จึงเป็นข้อกังวล อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ จะเป็นวันเปิดประชุมสภา สมัยสามัญทั่วไป ซึ่งจะมีการเลื่อนร่างพระราชบัญญัติปรองดองออกไปก่อน และยังคงบรรจุอยู่ในวาระการประชุมสภา เพียงรอเวลาที่เหมาะสม 'ยงยุทธ' หนุน วิปรบ.ถกพรรคร่วมแก้ รธน. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จ.สุรินทร์ ว่ากรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ให้ทางคณะกรรมการพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล หารือกับพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ ว่าจะดำเนินการแก้ไขในแนวทางใด ขณะนี้ที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รอให้วิปรัฐบาล หารือกับพรรคร่วมรัฐบาลก่อนว่า จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในทิศทาง ทั้งนี้ เสนอว่าให้มีการประชุมร่วมกัน 2 สภา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาด้วย ส่วนการหารือร่างพระราชบัญญัติสร้างความปรองดองแห่งชาตินั้น เห็นว่าเป็นสิทธิ์ของผู้ยื่นที่จะขอถอดถอนออกจากวาระของสภา  ซึ่งตามปกติแล้ว สภาผู้แทนราษฎร สามารถคงกฎหมายไว้โดยไม่หยิบยกขึ้นมาหารือ เนื่องจากที่ผ่ามาก็มีกฎหมายหลายข้อที่คงค้างไว้เช่นกัน  'ณัฐวุฒิ' ย้ำ จุดยืนแก้ รธน. ทั้งฉบับ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เรื่องของการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจากทางพรรคเพื่อไทย โดยในขณะนี้ มีหลายความคิดเห็นจากหลายฝ่ายตรงกันว่าควรแก้เป็นรายมาตรา แต่โดยส่วนตัว ยังคงมีจุดยืนว่า ควรแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์  ทั้งนี้ หากทางพรรคจะเดินหน้าอย่างไร ก็ควรมีการพูดคุยร่วมกันในครั้งหนึ่ง และต้องเดินไปอย่างมีเอกภาพ นอกจากนี้ในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาตินั้น เห็นว่าไม่ควรถอนออกจากที่ประชุมรัฐสภา ควรให้คงค้างไว้เช่นนั้น และหากมีกฎหมายใดที่สำคัญกว่า ก็ให้เอาเข้ามาพิจารณาก่อนได้ตามปกติ  'เฉลิม' โวแก้ รธน.รายมาตราสำเร็จ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ ซึ่งตรงกับความคิดเห็นของคนวงในพรรคเพื่อไทยเช่นกัน ขณะที่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกมาเสนอให้มีการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ออกจากวาระประชุมสภา ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นของ นายสมศักดิ์ เอง ซึ่งไม่ใช่มติของพรรค เนื่องจากที่ผ่านมา นายสมศักดิ์ ไม่ได้เข้าประชุมพรรคจึงอาจจะไม่ทราบมติของพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ ตน, นายอดิศร เพียงเกษ และ นายสุธรรม แสงประทุม อดีตสามาชิกบ้านเลขที่111 จะเดินสายปราศรัยสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในภาคอีกสาน ภาคเหนือ และลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พูดไว้เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่พรรคเพื่อไทย โดยเชื่อว่า แรงเสียดทานที่ต่อต้านคัดค้านนั้นจะลดลง สมศักดิ์ระบุ แก้ รธน. รายมาตราปัญหาไม่เกิด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ทิศทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ที่มีแนวโน้มว่าจะให้แก้ไขเป็นรายมาตราว่า ตนเองเคยให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแนวทางนี้น่าจะไม่มีปัญหาไม่ต้องตีความให้ยุ่งยาก ส่วนการที่ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เพื่อใช้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) จำนวน 1,000 ล้านบาท ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน  เพราะถ้าถึงเวลาแล้วอาจจะไม่ทันการ และเป็นไปตามขั้นตอน เพราะตอนนี้ถึงการลงมติวาระ 3 จึงต้องมีการของบประมาณตรงนี้ไว้รองรับ และเรื่องดังกล่าว และพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดอง จะนำมาสู่ความวุ่นวายในรัฐสภา เพราะฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยหรือไม่นั้น ทั้ง 2 เรื่อง ยังไม่มีข้อสรุปโดยคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปของสมาชิกว่า จะมีมติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 8 ส.ค. 'นพดล' ป้อง 'ทักษิณ' ปัดเกี่ยวร่างปรองดอง นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หลังจากที่ทางพรรค ได้มีการประชุมหารือกันในหลายครั้งแล้ว ซึ่งภายในไม่กี่วันนี้ จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังจากการประชุมหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล ในเย็นวันพรุ่งนี้ พร้อมกันนี้ นายนพดล กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมี 2 แนวทาง คือ 1. การทำประชามติ และ 2. การแก้ไขรายมาตราก่อนการทำประชามติ ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขมาตรา 68 และมาตรา 237 นอกจากนี้ นายนพดล กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นผู้บงการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด และถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังจริง คงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จนานแล้ว ครม. ให้กฤษฎีกาศึกษาคำวินิจฉัย แก้ รธน. น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จ.สุรินทร์ ว่า คณะรัฐมนตรี รับทราบรายงานจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า คำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบางส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นว่า เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน นายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาหาข้อยุติคำวินิจฉัยให้ชัดเจนที่สุด ซึ่งในระหว่างรอผล ให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สรรหากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย  'นพดล' เผย 'ทักษิณ' บิน USA ส.ค.นี้ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประเด็นร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นผู้สั่งการในเรื่องนี้ และการจะถอนร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ที่เสนอร่างเท่านั้น คนอื่นที่ไม่มีหน้าที่ ไม่ควรแสดงความคิดเห็น พร้อมกันนี้ นายนพดล กล่าวถึง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ว่า ต้องระวังในการแสดงความคิดเห็นเรื่องการถอนร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ เพราะไม่ใช่หน้าที่ ที่จะต้องพูดคุย หรือประสานงานกับคนอื่น และควรทำตัวให้เป็นกลาง นอกจากนี้ นายนพดล กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นการพบปะกับนักการเมือง สื่อมวลชน และนักธุรกิจของสหรัฐอเมริกา เพื่อชักชวนมาทำธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมกับกล่าวว่าไม่ใช่การทำยุทธการโลกล้อมประเทศไทย อย่างแน่นอน พท.ยันดินเนอร์พรรคร่วมชัดขึ้นปมแก้รธน. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ในงานเลี้ยง ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้ น่าจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่า จะมีแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร พร้อมกันนี้ นายพร้อมพงศ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ จัดเวทีปราศรัยผ่าความจริงฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ว่า เป็นการทำให้ประชาชนผิดหวัง เพราะเป็นการจัดเวทีกล่าวโจมตีแต่รัฐบาลเหมือนทุกครั้ง ทั้งนี้ กล่าวถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายพรรคฝ่ายค้าน ที่ใส่เสื้อแดงขึ้นเวทีปราศรัยว่า รู้สึกคาดไม่ถึง โดยส่วนตัวคาดว่า มีนัยทางการเมือง และทำให้หลายฝ่ายเกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ทางพรรคยังไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณาเรื่องพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ในช่วงนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาลแต่อย่างใด   
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook